Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5911
Title: การสร้างสรรค์แฟชั่นทรงผมด้วยเทคนิคการเกล้าผมในแนวคิดสตรีนิยม 
The creation of hair style fashion by hair updo techniques in the concept of feminism 
Authors: Kritsanapong Sittipanya
กฤษณะพงศ์ สิทธิปัญญา
Nirat Soodsang
นิรัช สุดสังข์
Naresuan University
Nirat Soodsang
นิรัช สุดสังข์
nirats@nu.ac.th
nirats@nu.ac.th
Keywords: แฟชั่นทรงผม
การเกล้าผม
สตรีนิยม
Hair style fashion
Hair updos
Feminism
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This study examines the pattern and relationship between old fashioned hairstyles and current popular hairstyles as seen in social media such as Instagram in 2023. We have found that style number 1 has been used the most for brides as well as social event. The second style was the most popular for brides who preferred a more Western dress style and social event. The hair in this style is a little lower than the traditional style of  updo. The 4th style is the neatest. The 3rd and 5th styles ranked the lowest in popularity. Both of these styles are tied at the same position as the 2nd style but is more complex and more difficult to modify. All of these hairstyles have a tendency to diminish the shape, detail, smoothness, shine and tone of the hair. The researchers propose a method of balancing hair according to the flow by reducing volume, reducing complexity, shortening the duration and the process of combining hair releases or by changing the binding position. Such design guidelines can be 4 new hairstyles technique, making the hairstyle look easier. conveyed and easy to use This technique can be created four hairstyles to present the desires of the women in liberal Thai society. with the balance and symmetry techniques of 4 face shapes: oval face, long face, square face, and round face Such techniques can create aesthetic created cultural values society and economy. Can be used to improve the curriculum of women hairdressers' skills to international standards. Operational context for greater job opportunities.
 งานวิจัยนี้ศึกษารูปแบบและความสัมพันธ์ระหว่างการเกล้าผมในอดีตจากเอกสาร ตำราเรียนกับทรงผมเกล้าในปัจจุบันจากโซเชียลมีเดีย (social media) อินสตาแกรม (Instagram) ใน ปี พ.ศ. 2566 เพื่อนำเสนอแนวทางการออกแบบทรงผมเกล้าในรูปแบบใหม่ พบว่ามวยหลักที่ 1 ถูกนำมาใช้มากที่สุดสำหรับเจ้าสาวและการออกงานสังคม มวยหลักที่ 2 นิยมรองลงมา สำหรับชุดเจ้าสาวแบบสากลและชุดราตรี โดยปรับตำแหน่งการมัดรวบให้ต่ำกว่าเดิมเล็กน้อย มวยหลักที่ 4 เน้นความเรียบของการเก็บเกล้า ท้ายที่สุดคือมวยหลักที่ 3 และ 5 ซึ่งมีการเกล้ารวบสูงเหมือนกับมวยหลักที่ 2 แต่มีความซับซ้อนและดัดแปลงได้ยากกว่า ทรงผมเกล้าทั้งหมดมีแนวโน้ม ลดทอนรูปทรง รายละเอียด ความเรียบเงาและการเรียงเส้นของผม เพิ่มเส้นสายให้ผมบางส่วนดูหลุดรุ่ย เป็นธรรมชาติ ผู้วิจัยนำเสนอแนวทางการเกล้าผมตามกระแสโดยลดปริมาตร ความซับซ้อน ระยะเวลาและขั้นตอนลง ผสมผสานการปล่อยผม หรือเปลี่ยนแปลงตำแหน่งการมัดรวบ ใช้วิธีการเรียบง่าย แนวทางการออกแบบดังกล่าว สามารถนำไปนำใช้ ในเทคนิคเกล้าผมรูปแบบใหม่ทั้งหมด 4 ทรง ทำให้การเกล้าผมดูเรียบง่ายขึ้น สามารถนำไปถ่ายทอดและใช้งานได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้เทคนิคดังกล่าวสามารถนำมาใช้สร้างสรรค์ผลงานการเกล้าผม 4 ผลงาน เพื่อนำเสนอความต้องการของเพศหญิงตามแนวคิดสตรีนิยมแบบเสรีนิยมได้ ด้วยการนำใช้เทคนิคความสมดุลและความสมมาตร ของรูปหน้าทั้ง 4 รูปหน้า ได้แก่ รูปหน้าไข่ รูปหน้ายาว รูปหน้าเหลี่ยมและรูปหน้ากลม โดยเทคนิคดังกล่าวสามารถทำให้เกิดสุนทรียภาพทางด้านความงาม สร้างคุณค่าทางวัฒนธรรม สังคมและเศรษฐกิจได้ อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้ ยกระดับหลักสูตรวิชาผมเกล้า พัฒนาฝีมือของช่างผมสตรีอย่างเป็นระบบ สอดรับกับบริบทการดำเนินงานที่เป็นสากล เพื่อโอกาสการทำงานที่มากขึ้น
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5911
Appears in Collections:คณะสถาปัตยกรรมศาสต์ ศิลปะและการออกแบบ

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
KritsanapongSittipanya.pdf9.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.