Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5804
Title: | การลงทุนแบบโมเมนตัมของอีทีเอฟ Momentum Investing of ETF |
Authors: | Waritsara Phumthong วริศรา พุ่มทอง Sampan Nettayanun สัมพันธ์ เนตยานันท์ Naresuan University Sampan Nettayanun สัมพันธ์ เนตยานันท์ sampann@nu.ac.th sampann@nu.ac.th |
Keywords: | การลงทุนแบบโมเมนตัม กองทุนรวมอีทีเอฟ พอร์ตโฟลิโอ อัตราผลตอบแทน Momentum Investing Exchange Traded Fund (ETF) Portfolio Investment return |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This research aims to study the momentum investment portfolio of ETFs. By comparing returns over the past 6 months and constructing a portfolio for the next 6 months, then using a 6-factor model (Fama-French, 2018) and a q-factor of (Hou, Xue and Zhang, 2015). Let's describe the created portfolio. By collecting monthly data on returns from ETFs from 1993 to 2022, with a total of 571 funds. ETF momentum portfolios can be explained by using a 6-factor model (Fama and French, 2018). The market risk (mkt-RF), size risk (smb), and momentum (umd) and value (hml) factors are significant in explaining the. And ETF momentum portfolios can be explained by using a q-factor model (Hou, Xue and Zhang, 2015). There are market risk factors (mkt-RF) and size risk factors (me) at a significance. The high and low momentum portfolios are not statically different using t-test งานวิจัยฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาพอร์ตโฟลิโอการลงทุนแบบโมเมนตัมของอีทีเอฟ โดยการเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนทบต้นย้อนหลัง 6 เดือนและสร้างพอร์ตโฟลิโอ 6 เดือนถัดไป จากนั้นใช้แบบจำลอง 6 ปัจจัย (Fama-French, 2018) และ q-factor ของ (Hou, Xue and Zhang, 2015) มาอธิบายพอร์ตโฟลิโอที่สร้าง โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลรายเดือนของผลตอบแทนจากกองทุนรวมอีทีเอฟ (ETF) ตั้งแต่ปีค.ศ. 1993 ถึงปีค.ศ. 2022 โดยมีประชากรทั้งหมด 571 กองทุนเป็นกลุ่มตัวอย่าง พบว่าการลงทุนแบบโมเมนตัมของกองทุนรวมอีทีเอฟสามารถอธิบายด้วยแบบจำลอง 6 ปัจจัย (Fama and French, 2018) โดยมีตัวแปรปัจจัยที่สามารถอธิบายได้คือ ด้านความเสี่ยงของตลาด (mkt-RF), ปัจจัยด้านความเสี่ยงจากขนาด (smb), ปัจจัยด้านโมเมนตัม (umd) และปัจจัยด้านความเสี่ยงจากมูลค่า (hml) อีกทั้งการลงทุนแบบโมเมนตัมของอีทีเอฟสามารถอธิบายด้วยแบบจำลอง q-factor (Hou, Xue and Zhang, 2015) โดยมีตัวแปรปัจจัยด้านความเสี่ยงของตลาด (mkt-RF) และปัจจัยด้านความเสี่ยงจากขนาด (me) ที่มีนัยสำคัญ ซึ่งตัวแปรเหล่านี้สามารถอธิบายอัตราผลตอบแทนของพอร์ตโฟลิโอนี้ได้ ซึ่งผลการทดสอบสมมติฐานนั้น พบว่าพอร์ตโฟลิโอการลงทุนแบบโมเมนตัมของอีทีเอฟที่สูงไม่ได้มีอัตราผลตอบแทนมากกว่าพอร์ตโฟลิโอการลงทุนแบบโมเมนตัมของอีทีเอฟที่ต่ำกว่าจากการทดสอบทางสถิติแบบ t-test |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5804 |
Appears in Collections: | คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
WaritsaraPhumthong.pdf | 1.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.