Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5684
Title: | ปัจจัยที่ส่งผลต่อเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ CAUSAL FACTORS INFLUENCING SCIENCTIFIC ATTITUDE OF THE JUNIOR HIGH SCHOOL STUDENTS UNDER THE PHETCHABUN SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE |
Authors: | Tarika Taiyanam ทาริกา ไตยนำ Nattakan Prechanban ณัฐกานต์ ประจันบาน Naresuan University Nattakan Prechanban ณัฐกานต์ ประจันบาน nattakanp@nu.ac.th nattakanp@nu.ac.th |
Keywords: | ปัจจัยเชิงสาเหตุ เจตคติทางวิทยาศาสตร์ Causal Factors Scientific Attitude |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The purposes of this research were to 1) develop a causal relationship model of affects science attitudes of junior high school students. 2) examine the consistency of the causal relationship model affecting scientific attitudes with empirical data.The research sample was a group of 296 lower secondary education level students in Phetchabun secondary educational service area office. The research instrument was a questionnaire. The data were statistically analyzed through SPSS program and Mplus program.The following were the results: The four latent variables of the measurement model were fit with the empirical data. The factor loadings of all variables were positive in range of 0.785 to 0.909 at .05 statistical significant.The structural equation model of scientific attitudes was also fit with the empirical data (X2 = 46.497 , df = 37, p-value = 0.1362 , X2/df = 1.257 , CFI = 0.997, TLI = 0.996 , SRMR = 0.013 , RMSEA = 0.029) The variables effect on the scientific attitudes are directly influenced by self-concept in science (0.742) Indirect influences from scientific curiosity through self-concept in science (1.012) and Indirectly influenced by self-direction in learning science through scientific curiosity and scientific self-concept (0.840) การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อเจตคติทางวิทยาศาสตร์กับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ จำนวน 296 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และใช้โปรแกรมทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการวัดตัวแปรแฝงทั้ง 4 ตัวแปร มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ทุกโมเดล มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวแปรสังเกตได้เป็นบวก มีค่าอยู่ระหว่าง 0.785-0.909 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกค่า โมเดลมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X2 = 46.497 , df = 37, p-value = 0.1362 , X2/df = 1.257 , CFI = 0.997, TLI = 0.996 , SRMR = 0.013 , RMSEA = 0.029) การวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อเจตคติทางวิทยาศาสตร์ พบว่า เจตคติทางวิทยาศาสตร์ได้รับอิทธิพลทางตรงมาจากมโนภาพแห่งตนด้านวิทยาศาสตร์ มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.742 รับอิทธิพลทางอ้อมจากการใฝ่รู้ทางวิทยาศาสตร์ โดยผ่านมโนภาพแห่งตนด้านวิทยาศาสตร์ ขนาดอิทธิพลเท่ากับ 1.012 และรับอิทธิพลทางอ้อมจากการกำกับตนเองในการเรียนวิทยาศาสตร์ ผ่านการใฝ่รู้ทางวิทยาศาสตร์และมโนภาพแห่งตนทางวิทยาศาสตร์ ขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.840 |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5684 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TarikaTaiyanam.pdf | 4.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.