Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5651
Title: | การพัฒนาความสามารถการเขียนสร้างสรรค์และเจตคติต่อการเขียนสร้างสรรค์โดยใช้ตัวแบบร่วมกับวิธีสแกฟโฟลด์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 DEVELOPING CREATIVE WRITING ABILITIES AND CREATIVE WRITING ATTITUDES BY MODELS-LRARNINGING MANAGEMENT WITH SCAFFOLDING FOR MATHAYOMSUKSA 2 STUDENTS |
Authors: | Naphak Wunklad นภัค วุ่นกลัด Songphop Khunmathurot ทรงภพ ขุนมธุรส Naresuan University Songphop Khunmathurot ทรงภพ ขุนมธุรส songphopk@nu.ac.th songphopk@nu.ac.th |
Keywords: | การเขียนสร้างสรรค์ ความสามารถการเขียนสร้างสรรค์ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ตัวแบบ วิธีสแกฟโฟลด์ เจตคติต่อการเขียนสร้างสรรค์ Creative writing Creative writing abilities Models-learning management Scaffolding Toward creative writing |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This research study aimed at: 1) developing creative writing abilities and attitudes toward creative writing by models-learning management with scaffolding according to 80/80 efficiency index; 2) comparing Mathayom 2 student’s creative writing abilities before and after creative writing lesson based on models-learning management with scaffolding; 3) comparing the students’ attitude toward creative writing by models-learning management with scaffolding before and after the lesson. And 4) studying the relationship between creative writing abilities and attitudes toward creative writing of Mathayom 2 students.The participants of the study were 30 mathayom 2 students who were selected by using the purposive sampling method. The research instruments were creative writing lesson plan based on models-learning management with scaffolding, a creative writing test, a questionnaire of students’ attitudes towards teaching method. The statistics used for analyzing the data were the effectiveness (E1/E2), the average (x̅), the standard derivation (S.D.),
and t-test independent.
The results of the study showed as follow: 1) the effectiveness of the models learning management (E1/E2) was found at the effectiveness standard of 86.78/83.90. 2) The average of students’ ability of creative writing before and after the use of the developed learning management were 16.57 and 25.17 respectively indicated that the scores of students after the instruction were higher compared to the score before the lesson which was at .05 level of statistical significance. 3) It was additionally found that the average of students’ attitudes towards creative writing before and after the use of the developed learning management were 3.22 and 4.40 respectively which indicated that students’ attitude after the lessons were higher than the students’ attitude before the instruction which was at .05 level of statistical significance. and 4) The correlation coefficient between creative writing ability and attitudes toward were 0.165. It was a low positive correlation at the 0.5 level of significant. งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถการเขียนสร้างสรรค์และเจตคติต่อการเขียนสร้างสรรค์โดยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ตัวแบบร่วมกับวิธีสแกฟโฟลด์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบความสามารถการเขียนสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยการใช้ตัวแบบร่วมกับวิธีสแกฟโฟลด์ 3) เปรียบเทียบเจตคติ ต่อการเขียนสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยการใช้ ตัวแบบร่วมกับวิธีสแกฟโฟลด์ และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถการเขียนสร้างสรรค์ และเจตคติต่อการเขียนสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 30 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ตัวแบบร่วมกับวิธีสแกฟโฟลด์ 2) แบบประเมินความสามารถการเขียนสร้างสรรค์ 3) แบบวัดเจตคติต่อการเขียนสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่า t-test แบบ Dependent ผลวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ตัวแบบร่วมกับวิธีสแกฟโฟลด์ที่สร้างขึ้น มีค่าประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ (E1/E2) เท่ากับ 86.78/83.90 2) ความสามารถการเขียน สร้างสรรค์ของนักเรียนก่อนและหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 16.57 และ 25.17 โดยคะแนนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) เจตคติต่อการเขียนสร้างสรรค์ของนักเรียน มีค่าเฉลี่ย 3.22 และ 4.40 ซึ่งหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการเขียนสร้างสรรค์กับเจตคติต่อการเขียนสร้างสรรค์มีค่าเท่ากับ 0.165 โดยตัวแปรสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5651 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
NaphakWunklad.pdf | 4.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.