Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5497
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorSukpatcharamanee Kantangen
dc.contributorสุขพัชรมณี กันแต่งth
dc.contributor.advisorAtchara Sriphanen
dc.contributor.advisorอัจฉรา ศรีพันธ์th
dc.contributor.otherNaresuan Universityen
dc.date.accessioned2023-05-30T02:20:48Z-
dc.date.available2023-05-30T02:20:48Z-
dc.date.created2565en_US
dc.date.issued2565en_US
dc.identifier.urihttp://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5497-
dc.description.abstractThe research aims to 1) study of the current situation of domestic violence against women in Phitsanulok Province. 2) Create and present life-skills based education to empower women in manage domestic violence in Phitsanulok Province. This research is a qualitative research which was the main method of study by studying documents, In -depth interview and Focus Group Discussion. 1. The results show that the current state of domestic violence against women in Phitsanulok Province is Every year there is an increase in the number of women victims of domestic violence and the trend is increasing. The most common form of domestic violence is physical violence. As well as during the COVID-19 epidemic situation where the number of domestic violence incidents is on the rise as more family members are in the house together. Some families are facing economic problems or unemployment. They cannot work outside to earn a living normally. Therefore, the pressure inside the family is greater resulting in violence against family members. The main causes of domestic violence are most of them come from drinking alcohol, drug addiction, or using drugs for a long time. The types of domestic violence are physical violence, psychological violence, sexual violence, economic violence and social violence. When a woman experiences domestic violence, it has both physical and psychological effects. makes women mentally depressed Suffering pain Fear, anxiety, and low self-esteem. Some people accumulate stress for a long time until they become depression. Women use an approach to managing violence that starts by talking to someone who is willing to listen and tell them about their own violence, to make sure they get help and that they or their family members are safe. and then asked for help from various agencies. when in a violent situation, women avoid confrontation and try to get out of the situation first. In addition, improving the quality of life of women starts from themselves first, which is to make women feel their self-worth. boost confidence and self-esteem. When a woman has a strong mentality and self-esteem, she will dare to step out of the cycle of violence or dare to stand up. She can take care of herself and is not dependent on her husband. 2. The results showed that life-skills based education to empower women in managing domestic violence in 3 educational system, namely, Formal education, Non-formal education and Informal education. Skills used in educational management include problem-solving, self-esteem and self-awareness to empower women in manage domestic violence. There are elements in learning management, namely: learning management goals, Contents in learning management, instructor, learner, learning management process, learning materials, learning activities and measurement and evaluation. All three education management systems focus on learners. It helps to change ideas, values, attitudes, attitudes of people about male and female roles and acts of violence against women. empowerment for women and able to manage domestic violence.en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงในในจังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อสร้างและนำเสนอแนวทางการจัดการศึกษาบนฐานทักษะชีวิตเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้หญิงในการจัดการความรุนแรงในครอบครัวในจังหวัดพิษณุโลก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ซึ่งเป็นวิธีหลักในการศึกษา โดยการศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันของปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงในในจังหวัดพิษณุโลกนั้น มีผู้หญิงถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้นมากที่สุด คือ ความรุนแรงด้านร่างกาย เช่นเดียวกับช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่จำนวนเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากสมาชิกในครอบครัวอยู่ในบ้านพร้อมกันมากขึ้น และบางครอบครัวประสบกับปัญหาทางเศรษฐกิจหรือตกงาน  ทำให้ไม่สามารถออกไปทำงานหาเลี้ยงชีพได้ตามปกติ   จึงเกิดความเครียดภายในครอบครัวมากขึ้น ส่งผลให้กระทำความรุนแรงกับคนในครอบครัว ซึ่งสาเหตุของการเกิดความรุนแรงในครอบครัว ส่วนใหญ่มาจากการดื่มสุรา ติดสารเสพติดหรือใช้สารเสพติดมาเป็นระยะเวลานาน ส่วนประเภทความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้น คือ ความรุนแรงทางด้านร่างกาย ความรุนแรงทางจิตใจ ความรุนแรงทางเพศ ความรุนแรงทางด้านเศรษฐกิจ และความรุนแรงทางสังคม เมื่อผู้หญิงได้รับความรุนแรงในครอบครัวมา จะส่งผลกระทบทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำให้ผู้หญิงมีสภาพจิตใจย่ำแย่ เกิดความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน มีความหวาดกลัว วิตกกังวล และไม่มั่นใจในตนเอง บางคนสะสมความเครียดมาเป็นระยะเวลานาน จนกลายเป็นโรคซึมเศร้า และใช้วิธีการจัดการความรุนแรงโดยเริ่มจากการพูดคุยเล่าเรื่องราวที่ตนเองได้รับความรุนแรงให้คนที่เชื่อใจฟังและยินดีรับฟังก่อนให้มั่นใจว่าจะได้รับความช่วยเหลือและตนเองหรือคนในครอบครัวจะปลอดภัย แล้วจึงขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆ และเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ความรุนแรง ผู้หญิงจะใช้วิธีการหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญหน้า และพยายามออกมาจากสถานการณ์นั้นก่อน นอกจากนี้ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้หญิงจะเริ่มต้นจากตนเองก่อน คือ การทำให้ผู้หญิงรู้สึกถึงคุณค่าในตนเอง เสริมความเชื่อมั่น และความภาคภูมิใจในตนเอง เมื่อผู้หญิงมีสภาพจิตใจแข็งแกร่ง เห็นคุณค่าในตนเองแล้ว ผู้หญิงจะกล้าออกมาจากวงจรความรุนแรงหรือกล้าที่จะยืนด้วยลำแข้งของตนเอง  สามารถดูแลตนเองได้ และไม่ตกอยู่ในภาวะพึ่งพิงสามี 2. ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการจัดการศึกษาบนฐานทักษะชีวิตเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้หญิงในการจัดการความรุนแรงในครอบครัว ประกอบด้วย การศึกษาทั้ง 3 ระบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งทักษะที่ใช้ในการดำเนินการจัดการศึกษา ประกอบด้วย การแก้ไขปัญหา (Problem-solving) ความภาคภูมิใจในตนเอง (Self Esteem)  และการตระหนักรู้ในตนเอง  (Self-Awareness)  เพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้หญิง  ในการจัดการความรุนแรงในครอบครัว โดยมีองค์ประกอบในการจัดการเรียนรู้ ดังนี้ เป้าหมายการจัดการเรียนรู้ เนื้อหาสาระในการจัดการเรียนรู้ ผู้สอน ผู้เรียน ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล ซึ่งการจัดการศึกษาทั้ง 3 ระบบนี้เน้นผู้เรียนเป็นสิ่งสำคัญ  ช่วยเปลี่ยนแปลงความคิด  ค่านิยม  ทัศนคติ  เจตคติของคนเกี่ยวกับบทบาทชายหญิง และการกระทำความรุนแรงต่อสตรี การเสริมสร้างพลังอำนาจให้กับผู้หญิง และผู้หญิงสามารถจัดการความรุนแรงในครอบครัวได้th
dc.language.isothen_US
dc.publisherNaresuan Universityen_US
dc.rightsNaresuan Universityen_US
dc.subjectแนวทางการจัดการศึกษาบนฐานทักษะชีวิตth
dc.subjectเสริมสร้างพลังอำนาจth
dc.subjectความรุนแรงในครอบครัวth
dc.subjectผู้หญิงth
dc.subjectLife-Skill Based Education Guidelineen
dc.subjectEmpowermenten
dc.subjectDomestic Violenceen
dc.subjectWomenen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.subject.classificationEducationen
dc.subject.classificationEducation scienceen
dc.titleแนวทางการจัดการศึกษาบนฐานทักษะชีวิตเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้หญิงในการจัดการความรุนแรงในครอบครัวth
dc.titleLIFE-SKILL BASED EDUCATION GUIDELINE FOR WOMEN’S EMPOWERMENT TO DEAL WITH FAMILY VIOLENCEen
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
dc.contributor.coadvisorAtchara Sriphanen
dc.contributor.coadvisorอัจฉรา ศรีพันธ์th
dc.contributor.emailadvisoratcharas@nu.ac.then_US
dc.contributor.emailcoadvisoratcharas@nu.ac.then_US
dc.description.degreenameDoctor of Education (Ed.D.)en
dc.description.degreenameการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)th
dc.description.degreelevelDoctoral Degreeen
dc.description.degreelevelปริญญาเอกth
dc.description.degreedisciplineDepartment of Educational Administration and Developmenten
dc.description.degreedisciplineภาควิชาบริหาร วิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาth
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SukpatcharamaneeKantang.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.