Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5070
Title: การส่งเสริมการรู้ทางสถิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับงานทางคณิตศาสตร์
THE ENHANCEMENT OF STATISTICAL LITERACY OF GRADE 8 STUDENTS USING FLIPPED CLASSROOM AND MATHEMATICAL TASKS
Authors: NATSUDA PHENGSOY
ณัฐสุดา เพ็งสร้อย
Artorn Nokkaew
อาทร นกแก้ว
Naresuan University. Faculty of Education
Keywords: การรู้ทางสถิติ
การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน
งานทางคณิตศาสตร์
Statistics literacy
Flipped classroom
Mathematical tasks
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This purpose of this research was to study instructional guidelines regarding Flipped Classroom and Mathematical Tasks Practices while studying the statistical literacy of grade 8 students after receiving academic training. The sample group consisted of 32 students of a large secondary school in Uthai Thani province using purposive sampling. Research tools used in this study included three lesson plans, an instructional reflection form, worksheets, and a statistical literacy evaluation, a pre-test, and a post-test. The data collected via three cycles of the action research, within 12-hour period, was analyzed utilizing Content analysis, Resource triangulation, and Methodological triangulation. The results were summarized, and they showed that the instructional guidelines using Flipped Classroom and Mathematical Tasks were categorized as follows: (1) The guideline for learning activities beyond the classroom; (2) The guideline for examining knowledge beyond the classroom; (3) The role of teachers in Flipped Classroom; (4) The guideline for using Mathematical tasks to enhance statistics literacy; and (5) The guideline for student assessment. Equally important, the results from pre-test and post-test demonstrated that the development of students’ statistical literacy had developed after instruction. The majority of the students had a higher level of interpretation in a given context. The student's statistical literacy was at Level 3 Inconsistent and Level 4 Consistent-non critical
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับงานทางคณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมการรู้ทางสถิติของนักเรียนหลังจากการเรียนรู้ โดยมีผู้เข้าร่วมการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ประจำอำเภอแห่งหนึ่ง ในจังหวัดอุทัยธานี จำนวน 32 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ที่ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ซึ่งมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 3 แผน แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรม แบบวัดการรู้ทางสถิติก่อนเรียน และแบบวัดการรู้ทางสถิติหลังเรียน ส่วนการศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนจำนวน 3 วงจรปฏิบัติการในระยะเวลาทั้งหมด 12 ชั่วโมง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) โดยใช้การตรวจสอบสามเส้าด้านแหล่งข้อมูล (Resource triangulation) การตรวจสอบสามเส้าด้านวิธีการรวบรวมข้อมูล (Methodological triangulation) การวิจัยครั้งนี้สามารถสรุปแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับงานทางคณิตศาสตร์ ได้ 5 แนวทาง ประกอบด้วย (1) แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน (2) แนวทางการตรวจสอบความรู้จากนอกห้องเรียน (3) บทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (4) แนวทางการใช้งานทางคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมการรู้ทางสถิติในชั้นเรียน และ (5) แนวทางการประเมินผลสิ่งที่ได้เรียนรู้ นอกจากนี้ผลการเปรียบเทียบระดับการรู้ทางสถิติของนักเรียนจากแบบวัดการรู้ทางสถิติหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และพบว่า นักเรียนสรุปข้อมูลอยู่ในระดับ 3 การสรุปข้อมูลทางสถิติแต่ไม่สมหตุสมผล (Inconsistent) และระดับ 4 การสรุปข้อมูลทางสถิติอย่างง่าย (Consistent-non critical)
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5070
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63090428.pdf9.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.