Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5010
Title: | การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวรรณคดีตามทฤษฎีวิพากษ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดไตร่ตรองเชิงวิพากษ์ และการออกแบบการเรียนการสอนวรรณคดีของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ THE DEVELOPMENT OF LITERATURE INSTRUCTIONAL MODEL BASED ON CRITICAL THEORY TO ENHANCE CRITICAL REFLICTION ABILITY AND LITERATURE IN STRUCTION DESIGN ABILITY OF STUDENT TEACHERS, RAJABHAT UNIVERSITY |
Authors: | TUENJAI KOTHDEE เตือนใจ คดดี Chaiwat Sutthirat ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ Naresuan University. Faculty of Education |
Keywords: | รูปแบบการเรียนการสอนวรรณคดี ทฤษฎีวิพากษ์ การคิดไตร่ตรองเชิงวิพากษ์ การออกแบบการเรียนการสอนวรรณคดร Literature instructional model Critical theory Critical reflection Literature intstruction design |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | The objective of this research was to develop a literature instructional model based on the critical theory to enhance the critical reflection ability and literature instruction design of student teachers. The research methodology included four steps: 1. The study on the literature instructional problems at the higher education and high school levels, and the guidelines for applying the critical theory to literature instruction; 2. the creation and verification of the quality of the model; 3. the study on the result of using the model, and 4. the assessment and improvement of the model. The sample group comprised 15 third-year student teachers from the Thai Language Program, Nakhon Pathom Rajabhat University. The research tool involved the critical reflection ability assessment form and the literature instruction design ability form. The total trial period was 53 hours. Statistics used to analyze the collected data were percentage, mean, standard deviation (SD), t-test, and content analysis.
The research results illustrated that: 1) All steps of the instructional design focused on the teacher-centered method rather than the learner’s thinking process. Moreover, the instructional media were not the literature content and the learning atmosphere did not allow for the expression of thought, which were the literature instructional problems at the higher education and high school levels. The guidelines for adapting the critical theory to literature learning were suggested, which included the determination of the teaching objectives, the activities that focused on the discussion, the reflection of thought in the focus group and whole class, the use of the contrast content, and the determination of the learner and teacher roles to organize the learning activities. 2) The developed model consisted of six components, which were principle, goal, learning process, learner and teacher roles, factors of success, and performance measuring and evaluation. The activity organization was divided into three phases: 1) Preparation, 2) critical reflection training that consisted of four steps, which were independent reading, critical questioning, focus group discussion via the three roles of theoretical researcher, ethical researcher, and esthetic researcher, and reflection, and 3) instructional design, which comprised four steps of experience review, focus group discussion via the three roles, reflection, and new creation. It was found that the overall appropriateness of the developed model was at a high level. The efficiency was 78.52/77.42. 3) The critical reflection of the student teachers at Rajabhat University, the ability of the student teachers after implementing the literature instruction based on the critical theory was higher than that before the implementation with a statistical significance of .05, and overall was at the judgement level (10 -13 points) with an average of 11.20 points. Furthermore, the overall literature instructional design ability was at a high level (Mean = 2.84, S.D. = 0.66) 4) The opinions of the relevant people who used the model indicated that the model enhanced rational and deliberate thinking, and initiated a new perspective of the reading literature. Consequently, when it was applied to the literature instructional design, new and interesting content was presented. It also initiated the review, verification, and integration of the instructional model and instructional techniques in teaching and learning. Nevertheless, the improvement of the content review before the critical questioning, the roles of the esthetic researcher, and the appropriate workload for the duration should be processed. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนรูปแบบการเรียนการสอนวรรณคดีตามทฤษฎีวิพากษ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดไตร่ตรองเชิงวิพากษ์และการออกแบบการเรียนการสอนวรรณคดีของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาปัญหาการเรียนการสอนวรรณคดีในระดับอุดมศึกษาและมัธยมศึกษาและแนวทางการประยุกต์ใช้ทฤษฎีวิพากษ์ในการเรียนการสอนวรรณคดี 2) การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบ และ 4) การประเมินและปรับปรุงรูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาครู สาขาวิชาภาษาไทย ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความสามารถในการคิดไตร่ตรองเชิงวิพากษ์ และแบบประเมินความสามารถในการออกแบบฃการเรียนการสอนวรรณคดี ดำเนินการทดลองจำนวน 53 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t -test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาการเรียนการสอนวรรณคดีในระดับอุดมศึกษาและมัธยมศึกษา มุ่งเน้นบทบาทของผู้สอนมากกว่ากระบวนการคิดของผู้เรียน การใช้สื่อการสอนที่ไม่ใช่ตัวบทวรรณคดีและบรรยากาศในชั้นเรียนที่ขาดอิสระทางความคิด ซึ่งมีแนวทางการนำทฤษฎีวิพากษ์มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนวรรณคดี คือ การตั้งจุดประสงค์การสอน กิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการถกเถียง สะท้อนความคิดเป็นกลุ่มย่อยและทั้งชั้นเรียน การใช้สื่อตัวบทที่มีความขัดแย้งและการกำหนดบทบาทของผู้เรียนและผู้สอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) รูปแบบที่พัฒนาขึ้น มี 6 องค์ประกอบ คือ หลักการ จุดมุ่งหมาย กระบวนการเรียนรู้ บทบาทผู้เรียนและผู้สอน ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จ และ การวัดและประเมินผล โดยการจัดกิจกรรมดำเนินการเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การเตรียมความพร้อม ระยะที่ 2 การฝึกคิดไตร่ตรองเชิงวิพากษ์ มี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 อ่านอย่างอิสระ ขั้นที่ 2 ตั้งคำถามเชิงวิพากษ์ ขั้นที่ 3 อภิปรายกลุ่มย่อย ผ่านบทบาท 3 บทบาท คือ ผู้ค้นคว้าทางทฤษฎี ผู้ค้นคว้าทางศีลธรรม และผู้ค้นคว้าทางสุนทรียะ ขั้นที่ 4 ขั้นสะท้อนความคิด และระยะที่ 3 การฝึกออกแบบการเรียนการสอน มี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ทบทวนประสบการณ์ ขั้นที่ 2 อภิปรายกลุ่มย่อย ผ่านบทบาททั้ง 3 ขั้นที่ 3 ขั้นสะท้อนความคิด และขั้นที่ 4 ขั้นการสร้างใหม่ ซึ่งรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก และมีค่าประสิทธิภาพ 78.52/77.42 3) ความสามารถในการคิดไตร่ตรองเชิงวิพากษ์ของนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ หลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวรรณคดีตามทฤษฎีวิพากษ์สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และโดยรวมอยู่ในระดับการใช้วิจารณญาณ (10-13 คะแนน) คะแนนรวมเฉลี่ย 11.20 คะแนน ส่วนความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนวรรณคดีโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 2.84, S.D. = 0.66) 4) ผู้เกี่ยวข้องต่อการใช้รูปแบบมีความเห็นว่า รูปแบบช่วยส่งเสริมให้เกิดระบบการคิดได้อย่างมีเหตุผล คิดอย่างรอบคอบ และเกิดมุมมองใหม่ต่อวรรณคดีเรื่องที่อ่าน ซึ่งส่งผลให้เมื่อนำไปใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนวรรณคดีแล้วสามารถนำเสนอเนื้อหาแปลกใหม่ น่าสนใจมากขึ้นและยังช่วยให้เกิดการทบทวนตรวจสอบ บูรณาการรูปแบบการเรียนการสอน เทคนิคการสอนเข้ามาใช้ในการสอนมากขึ้น และรูปแบบควรปรับปรุงเกี่ยวกับการทบทวนเนื้อเรื่องก่อนจะไปตั้งคำถามเชิงวิพากษ์ หน้าที่ของบทบาทผู้ค้นคว้าทางสุนทรียะ และปรับปริมาณงานให้เหมาะสมกับระยะเวลาที่ใช้ |
Description: | Doctor of Education (Ed.D.) การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.) |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5010 |
Appears in Collections: | คณะศึกษาศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59030596.pdf | 8.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.