Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6010
Title: การติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ Opisthorchis viverrini ในชุมชนเสี่ยง ตำบลท่าสะแก อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก
Infection of Opisthorchis viverrini in high risk community Thasakae Subdistrict, Chat Trakan District Phitsanulok Province​
Authors: Nuttacha Sangsawangwattana
ณัฐชา เเสงสว่างวัฒนะ
Wilawan Pumidonming
วิลาวัณย์ ภูมิดอนมิ่ง
Naresuan University
Wilawan Pumidonming
วิลาวัณย์ ภูมิดอนมิ่ง
wilawanp@nu.ac.th
wilawanp@nu.ac.th
Keywords: พยาธิใบไม้ตับ
ปัจจัยเสี่ยง
ปลาวงศ์ปลาตะเพียน
Liver fluke
Risk factors
Cyprinid fish
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: Cholangiocarcinoma (CCA) is significantly influenced by the presence of the liver fluke Opisthorchis viverrini, making it a crucial risk factor. This infection is prevalent in Southeast Asia, particularly in Thailand. Communities that have a tradition of consuming raw or undercooked cyprinid fish are particularly vulnerable to this infection. Thasakae Subdistrict, located in the Chat Trakan District of Phitsanulok Province. Residents have a preference for consuming dishes made from uncooked cyprinid fish. Additionally, the village contains various intermediate host habitats, rivers, and sources of water that are spread out. Therefore, the objectives of this study were to investigate O. viverrini infection and risk factors associated with the infection, including examining cyprinid fish species and O. viverrini metacercaria in fish in the Thasakae area. Stool samples were collected along with basic demographic information and risk factors from individuals aged 20 years and over. Stool examination using formalin ethyl acetate concentration and kato thick smear techniques. Risk factors were assessed using binary logistic regression. Cyprinid fish were collected using net and examined for O. viverrini using the artificial digestion method. The results showed that out of the 1,016 stool samples, a total of 98 cases (9.65%) were found to be infected with the O. viverrini, including males (13.62%) and females (6.78%). The majority of the infections were detected in participants who had primary school education, worked in agriculture, had the habit of consuming uncooked cyprinid menu.  Factors associated with O. viverrini infection were male (ORadj = 1.63, 95% CI 1.03-2.59), consuming chopped raw fish salad (koi pla) (ORadj = 3.13, 95% CI 1.84-5.30), and never having taken anthelmintic drugs (ORadj = 1.73, 95% CI 1.05-2.85). Cyprinid fish were caught from 7 bodies of water, and 11 species of the cyprinid fish were found. The most common type was the Barbonymus gonionotus. Metacercariae of the O. viverrini were not detected for all types of fish. The data from this study are  considered the important  to development of strategies for surveillance, prevention, and control of opisthorchiasis, which might reduce the incidence of cholangiocarcinoma.
การติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ O. viverrini เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี พบระบาดในหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทย ชุมชนที่พบการระบาดสูงมักเป็นชุมชนที่มีวัฒนธรรมการบริโภคอาหารที่ทำจากปลาวงศ์ปลาตะเพียนแบบไม่ปรุงสุก ตำบลท่าสะแกเป็นพื้นที่ที่มีแม่น้ำและแหล่งน้ำกระจายอยู่ทุกหมู่บ้าน อีกทั้งประชากรนิยมรับประทานอาหารที่ปรุงจากปลาวงศ์ปลาตะเพียนแบบไม่ปรุงสุก ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการติดเชื้อ และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ O. viverrini รวมถึงศึกษาชนิดปลาวงศ์ปลาตะเพียน และการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ O. viverrini ในปลาวงศ์ปลาตะเพียนจากแหล่งน้ำในพื้นที่ตำบลท่าสะแก อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มประชากรที่เก็บตัวอย่างอุจจาระ ข้อมูลพื้นฐาน และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ คือ ประชากรที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลท่าสะแก อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก การตรวจหาไข่พยาธิใบไม้ตับ O. viverrini ใช้เทคนิค formalin ethyl acetate concentration และ kato thick smear เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องด้วยการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบ 2 กลุ่ม (Binary logistic regression) เก็บตัวอย่างปลาวงศ์ปลาตะเพียนโดยใช้ตาข่ายดักปลา  และตรวจหาตัวอ่อนระยะเมตาเซอร์คาเรียในปลาโดยวิธี artificial digestion ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,016 ราย พบผู้ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ O. viverrini รวม 98 ราย (ร้อยละ 9.65) เป็นเพศชาย (ร้อยละ 13.62) เพศหญิง (ร้อยละ 6.78) ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และมีพฤติกรรมบริโภคอาหารพื้นบ้านที่ปรุงจากปลาวงศ์ปลาตะเพียนแบบไม่ปรุงสุก ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ O. viverrini คือ เพศชาย (ORadj= 1.63, 95% CI. 1.03-2.59) การรับประทานก้อยปลาดิบ (ORadj = 3.13, 95%CI. 1.84-5.30) และผู้ที่ไม่เคยกินยากำจัดพยาธิ (ORadj = 1.73, 95%CI. 1.05-2.85) ในพื้นที่ 9 หมู่บ้านประกอบด้วยแหล่งน้ำทั้งหมด 7 แหล่ง พบปลาวงศ์ปลาตะเพียน 8 สกุล 11 ชนิด ชนิดที่พบมากที่สุด คือ ปลาตะเพียนขาว (Barbonymus gonionotus) ทั้งนี้ปลาทุกชนิดตรวจไม่พบเมตาเซอร์คาเรียของพยาธิใบไม้ตับ O. viverrini การศึกษานี้พบว่าในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกยังคงพบการระบาดของพยาธิใบไม้ตับ O. viverrini และประชาชนมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ปรุงจากปลาวงศ์ปลาตะเพียนแบบไม่ปรุงสุกที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี รวมถึงการมีชนิดปลาวงศ์ปลาตะเพียนที่หลากหลายซึ่งเป็นโฮสต์ที่สำคัญสำหรับการแพร่กระจายของพยาธิใบไม้ตับ O. viverrini ผลการศึกษาครั้งนี้เป็นประโยชน์อย่างมากในการวางแผนการดำเนินงาน เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ O. viverrini ในชุมชนได้ในอนาคตต่อไป
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6010
Appears in Collections:คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
NuttachaSangsawangwattana.pdf4.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.