Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6002
Title: ความหลากหลายของไม้พื้นล่างและไม้หนุ่มในป่าธรรมชาติสวนพฤกษศาสตร์บ้านร่มเกล้า พิษณุโลก ในพระราชดำริ
Plant Diversity of Undergrowth and Sapling Plant in Natural Forest at Ban Romklao Botanical Garden Phitsanulok under the Royal initiative
Authors: Rachaya Buathong
รชยา บัวทอง
Pranee Nangngam
ปราณี นางงาม
Naresuan University
Pranee Nangngam
ปราณี นางงาม
praneepa@nu.ac.th
praneepa@nu.ac.th
Keywords: ไม้พื้นล่าง
ไม้หนุ่ม
ความหลากหลาย
ป่าธรรมชาติ
Undergrowth
Sapling
Plant diversity
Natural forest
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: The undergrowth and sapling plant diversity in natural forest at Ban Romklao botanical garden, Phitsanulok, under the Royal initiative, Phitsanulok Province. This area is preserved by not growing exotic species and making a permanent plot to study plants community. To provide basic information in a natural forest that is surrounded by forests where additional plants have been planted for forest restoration. This study one plot of 100 x 100 meters and divided into sub-square one hundred plots of 1 x 1 meters, 4 x 4 meters for studying undergrowth and sapling species, respectively. Forty-six families, seventy-seven genera and ninety-three species were found. The most diverse families were Rubiaceae with 10 species. The diversity of undergrowth plants was 37 families 59 genera 67 species and sapling plants was 26 families 37 genera 49 species. The species diversity index value of undergrowth and sapling plants was 3.66 and 3.39, respectively. The highest important value index was Macaranga kurzii (Kuntze) Pax & K. Hoffm. (7.86), Camellia tenii Sealy (6.19) and Alchornea tiliifolia (Benth.) Muell. Arg.) (5.96) and sapling was Styrax benzoides W. G. Craib (9.28), Diospyros glandulosa Lace (7.66) and Gonocaryum lobbianum (Miers) Kurz (7.11) The plants that can be found in both groups are sapling and seedling was 23 species, indicating that this forest has a variety of plant species and can restored.
การศึกษาความหลากหลายของไม้พื้นล่าง และไม้หนุ่มในป่าธรรมชาติ สวนพฤกษศาสตร์บ้านร่มเกล้า พิษณุโลก ในพระราชดำริ อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ปัจจุบันพื้นที่นี้ได้รับการอนุรักษ์ไว้ด้วยการไม่นำไม้ต่างถิ่นเข้าไปปลูก และทำเป็นแปลงถาวรศึกษาสังคมพืช เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในป่าธรรมชาติที่แวดล้อมด้วยป่าที่มีการปลูกพืชเพิ่มเติม เพื่อการฟื้นฟูป่า ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้ จึงได้ดำเนินการวางแปลงขนาด 100 x 100 เมตร จำนวน 1 แปลง แบ่งแปลงย่อยแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 1 x 1 เมตร เพื่อศึกษาไม้พื้นล่าง และขนาด 4 x 4 เมตร เพื่อศึกษาไม้หนุ่ม จำนวนอย่างละ 100 แปลง ผลการศึกษาพบพันธุ์ไม้ทั้งสิ้น 46 วงศ์ 77 สกุล 93 ชนิด วงศ์ที่พบมากที่สุด คือ วงศ์เข็ม (RUBIACEAE) จำนวน 10 ชนิด แบ่งเป็นไม้พื้นล่าง จำนวน 37 วงศ์ 59 สกุล 67 ชนิด และไม้หนุ่มพบ จำนวน 26 วงศ์ 37 สกุล 49 ชนิด ค่าความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้พื้นล่าง และไม้หนุ่ม เท่ากับ 3.66 และ 3.39 ตามลำดับ ค่าดัชนีความสำคัญของไม้พื้นล่างสูงสุด 3 อันดับแรก คือ ปอแต๊บ (Macaranga kurzii (Kuntze) Pax & K. Hoffm.) มีค่าเท่ากับ 7.86 รองลงมา คือ แมวคล้องตอ (Camellia tenii Sealy) เท่ากับ 6.19 และขางปอย (Alchornea tiliifolia (Benth.) Muell. Arg.) เท่ากับ 5.96 และไม้หนุ่ม กำยาน (Styrax benzoides W. G. Craib) มีค่าเท่ากับ 9.28 รองลงมา คือกล้วยฤาษี (Diospyros glandulosa Lace) เท่ากับ 7.66 และดันหมี (Gonocaryum lobbianum (Miers) Kurz) เท่ากับ 7.11 ทั้งนี้พบพันธุ์ไม้ จำนวน 23 ชนิด ซึ่งเป็นชนิดพันธุ์ไม้ที่สามารถพบได้ทั้ง 2 กลุ่ม คือ ไม้หนุ่ม และกล้าไม้ แสดงให้เห็นว่าป่าแห่งนี้มีความหลากหลายของพันธุ์ไม้ และสามารถทดแทนฟื้นฟูตัวเองได้
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/6002
Appears in Collections:คณะวิทยาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RachayaBuathong.pdf3.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.