Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5998
Title: โมเดลที่เหมาะสมของระบบบันทึกเหตุการณ์สำหรับการจัดการความแม่นยำและประสิทธิภาพการทำงานคอมพิวเตอร์เสมือนบนการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ
Optimal Logging System Model for Recall and Virtual Machine Performance on Cloud Computing
Authors: Surapong Wiriya
สุรพงษ์ วิริยะ
Winai Wongthai
วินัย วงษ์ไทย
Naresuan University
Winai Wongthai
วินัย วงษ์ไทย
winaiw@nu.ac.th
winaiw@nu.ac.th
Keywords: ระบบบันทึกเหตุการณ์
การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ
ความแม่นยำ
ประสิทธิภาพ
คอมพิวเตอร์เสมือน
Logging system
Cloud computing
Recall
Virtual machine
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objective of this thesis is threefold: (1) Setting up a test pattern is crucial to evaluate the logging system’s ability to support its operations effectively (2) develop a mathematical model for allocating logging systems on an efficient Infrastructure-as-a-Service (IaaS) cloud computing platform and (3) create a customizable working model for service providers and customer to allocate logging systems on IaaS cloud by utilizing an optimization process. In conducting the research, the researcher established a test model to examine the utilization of the CPU and RAM during the operation of the logging system in the virtual computer. The obtained results were subsequently analyzed to form a mathematical model. This model simulates the allocation of a virtual machine to the logging system using optimization methods, while incorporating mathematical constraints based on file security level and VM performance level. The proposed work is adaptable to the needs of service customer and aims to investigate efficient allocation strategies for the logging system. Mathematical modeling was utilized to develop programs using the Python language. The random search algorithm was employed to determine an optimal allocation strategy for the logging system, aiming to find the most workload-free logging system.   The results of the research show that 1) the testing involves modeling the scenario where the utilization of the logging system increases, resulting in a doubling of both CPU and RAM from their original level. 2) a mathematical model for allocating logging systems can be developed using both constraint-based and unconstrained approaches, employing penalty functions. The objective function of the mathematical model is to  maximize f(X) = (∑n j= 1 Oj (X)) + ∑m i = 1 cost (Ui) allocation efficiency, providing methods suitable for service providers and customers. It can handle input data in various formats and facilitate the selection of appropriate allocation methods. 3) the creation of a flexible work adjustment system with a mathematical model allows service customer to customize their allocations, including terminating services and adding new users. The objective function of the mathematical model is to maximize f(X) = (∑n j= 1 Oj (x)) + ∑m i = 1 cost (Ui)  +  ∑m i = 1 Scost (Ui), which maximizes allocation effectiveness, enables the allocation of logging systems without affecting existing users, executed through a Python program developed by the researcher.
งานวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วางรูปแบบการทดสอบความสามารถในการรองรับการทำงานของระบบบันทึกเหตุการณ์ 2) สร้างโมเดลทางคณิตศาสตร์การจัดสรรระบบบันทึกเหตุการณ์บนระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ ประเภทการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ (IaaS) ที่มีประสิทธิภาพ และ 3) สร้างการปรับรูปแบบการทำงานที่เหมาะสมกับผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการในการจัดสรรระบบบันทึกเหตุการณ์บน IaaS คลาวด์ โดยใช้กระบวนการการหาค่าที่เหมาะสม ในการดำเนินการวิจัยนั้นผู้วิจัยได้ทำการวางรูปแบบการทดสอบปริมาณการใช้งานหน่วยประมวลผล และหน่วยความจำแรมระหว่างการทำงานของระบบบันทึกเหตุการณ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน และนำผลมาวิเคราะห์เพื่อนำไปวางรูปแบบในการสร้างโมเดลทางคณิตศาสตร์ โดยการจำลองการจัดสรรเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือนให้กับระบบบันทึกเหตุการณ์ด้วยการใช้วิธีการในการหาค่าที่เหมาะสม และกำหนดข้อจำกัดจากระดับความปลอดภัยของไฟล์และระดับประสิทธิภาพการทำงานของ VM ออกมาในรูปแบบโมเดลทางคณิตศาสตร์ โดยสามารถปรับเปลี่ยนการทำงานได้ตามความต้องการของผู้ใช้บริการ และนำมาทำการตรวจสอบหาวิธีการจัดสรรระบบบันทึกเหตุการณ์ จากการสร้างโมเดลทางคณิตศาสตร์ด้วยการพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษาไพธอน ด้วยเทคนิคการค้นหาแบบสุ่มมาใช้ในการหาวิธีการในการจัดสรรระบบบันทึกเหตุการณ์ และหาค่าที่เหมาะสมสำหรับระบบบันทึกเหตุการณ์ที่ไม่ได้ใช้งานมากที่สุด โดยผลการวิจัย พบว่า 1) การวางรูปแบบในการทดสอบนั้นเริ่มตั้งแต่การทดสอบนั้นเมื่อมีการใช้งานระบบบันทึกเหตุการณ์ที่เพิ่มขึ้นทำให้ปริมาณการใช้งานหน่วยประมวลผล และหน่วยความจำแรมเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็นเท่าตัว 2) การสร้างโมเดลทางคณิตศาสตร์การจัดสรรระบบบันทึกเหตุการณ์สามารถสร้างด้วยการใช้รูปแบบของการกำหนดข้อจำกัดและแบบไม่กำหนดข้อจำกัดโดยการใช้ฟังก์ชันการปรับ ได้เป็นโมเดลทางคณิตศาสตร์ คือ maximize f(X) = (∑n j= 1 Oj (X)) + ∑m i = 1 cost (Ui) ในการสร้างวิธีการในการจัดสรรระบบบันทึกเหตุการณ์ที่เหมาะสมกับผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ โดยสามารถจัดสรรระบบบันทึกเหตุการณ์ได้สำหรับข้อมูลนำเข้าในหลายรูปแบบ และเลือกวิธีการที่สามารถนำเสนอได้อย่างถูกต้อง (3) การสร้างการปรับรูปแบบการทำงานด้วยโมเดลทางคณิตศาสตร์ที่ปรับเปลี่ยนผู้ใช้บริการได้ทั้งการยกเลิกการใช้บริการ การเพิ่มผู้ใช้บริการใหม่ ได้เป็นโมเดลทางคณิตศาสตร์ คือ  maximize f(X) = (∑n j= 1 Oj (X)) + ∑m i = 1 cost (Ui)  +  ∑m i = 1 Scost (Ui) ซึ่งสามารถสร้างวิธีการจัดสรรระบบบันทึกเหตุการณ์จากการทำงานของโปรแกรมที่ผู้วิจัยได้พัฒนาด้วยภาษา python ได้ โดยไม่กระทบกับผู้ที่ใช้บริการเดิม
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5998
Appears in Collections:คณะวิทยาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SurapongWiriya.pdf6.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.