Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5993
Title:  การสื่อสารอัตลักษณ์อาหารท้องถิ่นจันทบุรีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร
Communication of Local Food Identity in Chanthaburi to Promote Gastronomy Tourism
Authors: Wikhanesuan Tagong
วิฆเนศวร ทะกอง
Orawan Sirisawat apichayakul
อรวรรณ ศิริสวัสดิ์ อภิชยกุล
Naresuan University
Orawan Sirisawat apichayakul
อรวรรณ ศิริสวัสดิ์ อภิชยกุล
orawana@nu.ac.th
orawana@nu.ac.th
Keywords: การสื่อสารอัตลักษณ์
อาหารท้องถิ่น
การท่องเที่ยวเชิงอาหาร
Identity Communication
Local Food
Gastronomy Tourism
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: A study on Communication of Chantaburi Local Food Identity for Promote Gastronomy Tourism It is qualitative research. The objectives were 1) to study and analyze the status and adaptation of Chanthaburi local food in the context of tourism, 2) to study and analyze the communication of local food identity of Chanthaburi to promote gastronomy tourism research method document analysis methods in-depth interviews and Focus group. Population groups that are key informants include local community groups. Restaurant operators, government organizations, educational institutions and tourists Use the concept of cultural adaptation, Identity concepts, capital test field concepts and localism concepts in analysis. Research results The status and adaptation of Chanthaburi local food found that Chanthaburi local food was divided into 5 eras, namely the household food era; food era in merit making The era of processed food for souvenirs The era of reviving old food and the era of tourism promotion activities Originally, it was a natural adaptation to live together in the family, as well as expanding to a society with joint activities. Since the era of processed food for souvenirs onwards Local food in Chanthaburi has adapted according to the policy. It has been transformed into a product for tourism and adapts the interface between local culture and western culture to come out as a hybrid. Adaptation of local food according to the era of tourism Even though there is no reference to traditional cookbooks, but still retains the value, meaning and local ingredients that indicate the identity of Chanthaburi province  such as cha-muang, Bustard cardamom, cardamom, calamondin. Chanthaburi local food, in addition to playing a role in tourism It also serves to reflect the identity of the Chantaburi people, preserving va local wisdom, Create a career for local people. And now, there is a drive to the city of Nutraceutical. and City of Gastronomy Tourism. Causing Chantaburi local food to increase the role of health. There was a training to make people aware of food. And promote health by consuming food as an appropriate natural food. Communicating the local food identity of Chanthaburi found that Insiders and outsiders have a perception of food that is a consistent local identity of Chanthaburi, such as Chamuang Pork Curry, Sticky Crab Noodles. Liang noodles, boiled chicken with cardamom, Salt & Chilli Seasoned Rice, Zalacca in Syrup, malva nut juice, calamon juice and seafood. Communicating the local food identity of Chanthaburi in the context of tourism has 9 dimensions. Communicate identity through cooking process Communicate identity through unique flavors Communicate identity through lifestyle and ethnicity Communicate identity through the strange or endangered. Communicate an identity that is the same as anywhere else but something different. Communicating identity through being the kitchen of the eastern region Communicate identity through safe food town and communicate identity through herb food town Chanthaburi people use capitals to communicate their identity, consisting of economic capital, symbolic capital, and cultural capital. Under such identity is an expression of intimacy with the people and the locality, expressed through food culture that is linked to the way of life of the local people. The available capital has been accumulated into a tourism product that is its own identity.
การศึกษาเรื่องการสื่อสารอัตลักษณ์อาหารท้องถิ่นจันทบุรีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สถานภาพและการปรับตัวของอาหารท้องถิ่นจันทบุรีในบริบทการท่องเที่ยว 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การสื่อสารอัตลักษณ์อาหารท้องถิ่นจันทบุรีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มประชากรที่เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key informant) ประกอบด้วย กลุ่มชุมชนท้องถิ่น ผู้ประกอบการร้านอาหาร องค์กรภาครัฐ สถาบันการศึกษาและนักท่องเที่ยว ใช้แนวคิดการปรับตัวทางวัฒนธรรม แนวคิดอัตลักษณ์ แนวคิดทุน และแนวคิดท้องถิ่นนิยมในการวิเคราะห์ ผลการวิจัยสถานภาพและการปรับตัวของอาหารท้องถิ่นจันทบุรี พบว่า อาหารท้องถิ่นจันทบุรี แบ่งออกเป็น 5 ยุค ได้แก่ ยุคอาหารในครัวเรือน ยุคอาหารในงานบุญ ยุคอาหารแปรรูปเพื่อเป็นของฝาก ยุครื้อฟื้นอาหารเก่ามาเล่าใหม่ และยุคกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยแต่เดิมเป็นการปรับตัวตามธรรมชาติทำกินกันในครอบครัวรวมถึงขยายสู่สังคมที่มีการทำกิจกรรมร่วมกัน ตั้งแต่ยุคอาหารแปรรูปเพื่อเป็นของฝากเป็นต้นมา อาหารท้องถิ่นจันทบุรีได้ปรับตัวตามนโยบาย มีการเปลี่ยนรูปแบบเป็นสินค้าเพื่อการท่องเที่ยวและปรับประสานระหว่างวัฒนธรรมท้องถิ่นกับวัฒนธรรมตะวันตกออกมาเป็นลูกผสม การปรับตัวของอาหารท้องถิ่นตามยุคของการท่องเที่ยว แม้ไม่มีการอิงตำราอาหารแบบดั้งเดิมแต่ยังคงไว้ซึ่งคุณค่า ความหมาย และวัตถุดิบท้องถิ่นที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของจังหวัดจันทบุรีเช่น ใบชะมวง เร่วหอม กระวาน มะปี๊ด อาหารท้องถิ่นจันทบุรีนอกจากมีบทบาทในการท่องเที่ยวแล้ว ยังทำหน้าที่สะท้อนอัตลักษณ์ตัวตนของคนเมืองจันท์ สืบสานอนุรักษ์ภูมิปัญญาที่มีคุณค่าของท้องถิ่น สร้างอาชีพรายได้ให้กับคนในท้องถิ่น และปัจจุบันมีการขับเคลื่อนสู่เมืองอาหารเป็นยา และเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารของยูเนสโก ทำให้อาหารท้องถิ่นจันท์มีการเพิ่มบทบาทหน้าที่ด้านสุขภาพ เกิดการอบรมบ่มเพาะให้คนทั่วไปตระหนักถึงสิ่งที่จะนำเข้าสู่ร่างกาย และสร้างเสริมสุขภาพด้วยการบริโภคอาหารให้เป็นยาตามวิถีธรรมชาติที่เหมาะสม การสื่อสารอัตลักษณ์อาหารท้องถิ่นจันทบุรีพบว่า คนในกับคนนอกมีการรับรู้ถึงอาหารที่เป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่นจันทบุรีที่สอดคล้องกันได้แก่ แกงหมูชะมวง เส้นจันท์ผัดปู ก๋วยเตี๋ยวเลียง ไก่ต้มกระวาน ข้าวคลุกน้ำพริกเกลือ สละลอยแก้ว น้ำสำรอง น้ำมะปี๊ดและอาหารทะเล ส่วนการสื่อสารอัตลักษณ์อาหารท้องถิ่นจันทบุรีในบริบททางการท่องเที่ยวนั้นพบว่า มีการสื่อสารใน 9 มิติหลัก ดังนี้ สื่อสารอัตลักษณ์ผ่านต้นทุนที่เป็นวัตถุดิบ สื่อสารอัตลักษณ์ผ่านกระบวนการประกอบอาหาร สื่อสารอัตลักษณ์ผ่านรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์  สื่อสารอัตลักษณ์ผ่านวิถีชีวิตและเชื้อชาติ  สื่อสารอัตลักษณ์ผ่านความแปลกหรือใกล้สูญ สื่อสารอัตลักษณ์ที่เหมือนกับที่อื่นแต่มีบางสิ่งที่แตกต่างออกไป สื่อสารอัตลักษณ์ผ่านความเป็นห้องครัวแห่งภูมิภาคตะวันออก สื่อสารอัตลักษณ์ผ่านความเป็นเมืองอาหารปลอดภัยและสื่อสารอัตลักษณ์ผ่านความเป็นเมืองแห่งอาหารสมุนไพร ชาวจันทบุรีมีการนำทุน (Capitals) มาใช้ในการสื่อสารอัตลักษณ์ประกอบด้วย ทุนเศรษฐกิจ ทุนสัญลักษณ์ และทุนทางวัฒนธรรม ภายใต้อัตลักษณ์ดังกล่าวเป็นการแสดงออกถึงความใกล้ชิดผูกพันกับผู้คนและท้องถิ่นแสดงออกผ่านวัฒนธรรมอาหารที่เชื่อมโยงเข้ากับวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น มีการสั่งสมแปลงทุนที่มีให้เป็นผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวที่เป็นอัตลักษณ์ของตนเอง
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5993
Appears in Collections:คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
WikhanesuanTagong.pdf5.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.