Please use this identifier to cite or link to this item:
http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5991
Title: | ประสิทธิผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคในการส่งเสริมพฤติกรรมการเข้ารับบริการทันตกรรมของหญิงตั้งครรภ์ชนเผ่าม้ง อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ Effectiveness of applying the Protection Motivation Theory Program for enhancing behavior of Dental services among Hmong Pregnant Women in Khaokho District, Phetchabun Province |
Authors: | Busakorn Wara-asawapati บุษกร วราอัศวปติ Supaporn Sudnongbua สุภาภรณ์ สุดหนองบัว Naresuan University Supaporn Sudnongbua สุภาภรณ์ สุดหนองบัว supapornsud@nu.ac.th supapornsud@nu.ac.th |
Keywords: | ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค พฤติกรรมการเข้ารับบริการทันตกรรม หญิงตั้งครรภ์ชนเผ่าม้ง Protection Motivation Theory Behavior of Dental Services Hmong Pregnancy Women |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | Naresuan University |
Abstract: | This research was a quasi-experimental study. The objective of this program was to study effectiveness of applying the Protection Motivation Theory Program for enhancing behavior of Dental services among Hmong Pregnant Women in Khaokho District, Phetchabun Province. The sample consisted of 71 that were devided into the experimental group 37 women and a control group 34 women. Duration of time for intervention was 14 weeks. The experimental group was received dental health education program which comprised the activities including lecture with media Hmong language, modeling, demonstration, training, and group discussion etc. Data were collected by a questionnaire and records. Descriptive data were analyzed by descriptive statistics such as frequency, percentage. A comparative analysis was Paired Sample t-test, Independent t-test, Chi-square and significant was set at level 0.05.
The results showed that after the experiment, the experimental group had significantly higher mean score of threat appraisal than before the experiment such as noxiousness and perceived probability, coping appraisal. In addition, response efficacy and self-efficacy after the experiment were higher than before the experiment and they were higher than those in the control group (p-value <0.001). 75.66 % of Hmong pregnant women in the experimental group had behavior of dental services. It was higher those in the control group (p-value = 0.001, Chi- Square = 10.18, Cramer’s V = 0.38).
With respect to recommendation, apply program activities (threat appraisal and coping appraisal) to Hmong Pregnant Women for promote the behavior of dental services. Hmong dental health officers participating as an advisor during the program made the participants trust and feel harmony. This strategy leaded, the participants opened their minds and paid more attention to the program activities, e.g., knowledge sharing, being a study model, story sharing, demonstration, answering questions, and activities participation. Therefore, this study suggests that the Mhong sectors or government sectors should share the same culture and the same language in order to succeed in health promotion programs arranged for the Hmong hill tribe. การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคในการส่งเสริมพฤติกรรมการเข้ารับบริการทันตกรรมของหญิงตั้งครรภ์ชนเผ่าม้ง อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีผู้ร่วมในการวิจัยทั้งหมด 71 คน โดยแบ่งเป็นหญิงตั้งครรภ์ชนเผ่าม้ง อำเภอเขาค้อ จำนวน 37 คน เป็นกลุ่มทดลองและหญิงตั้งครรภ์ชนเผ่าม้ง อำเภอหล่มเก่า จำนวน 34 คน เป็นกลุ่มควบคุม การดำเนินการใช้เวลา 14 สัปดาห์ ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การบรรยายประกอบสื่อ การดูวิดิทัศน์ภาษาม้ง การสาธิต การปฏิบัติ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป โดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วย Paired Sample t-test และ Independent t-test วิเคราะห์การเปรียบเทียบพฤติกรรมการเข้ารับบริการทันตกรรมหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม วิเคราะห์ด้วยสถิติ Chi-square โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความรุนแรงของโรคปริทันต์อักเสบ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคปริทันต์อักเสบ ความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองในการป้องกันการเกิดโรคปริทันต์อักเสบ และความคาดหวังในความสามารถตนเองในการป้องกันโรคปริทันต์อักเสบ สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) และพบว่าหญิงตั้งครรภ์ชนเผ่าม้งมีพฤติกรรมการมารับบริการทันตกรรมขณะตั้งครรภ์ในกลุ่มทดลอง ร้อยละ 75.66 ซึ่งสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 (Chi- Square = 10.18, Cramer’s V = 0.38) ข้อเสนอแนะการวิจัยในครั้งนี้นั้นคือ ควรมีการจัดกิจกรรมการรับรู้และความคาดหวังแก่หญิงตั้งครรภ์ชนเผ่าม้ง เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเข้ารับบริการทันตกรรม และควรให้มีเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุขเผ่าม้งเข้าร่วมเป็นผู้ให้คำแนะนำตลอดการเข้าโปรแกรม ซึ่งส่งผลทำให้ผู้เข้าร่วมมีความวางใจ รู้สึกเป็นพวกเดียวกัน ทำให้กล้าที่จะแสดงออก เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่มากขึ้น เช่น กิจกรรมกลุ่ม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเป็นตัวอย่าง การเล่าประสบการณ์ การสาธิต การตอบคำถาม และมีส่วนร่วมที่มากขึ้น ดังนั้นการทำกิจกรรมในชนเผ่าม้ง ควรมีบุคลากรที่เป็นพวกพ้องเดียวกัน หรือมีวัฒนธรรมและภาษาที่เหมือนกันจะช่วยทำให้กิจกรรมหรือโปรแกรมประสบผลสำเร็จที่มากขึ้น |
URI: | http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5991 |
Appears in Collections: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
BusakornWara-asawapati.pdf | 4.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.