Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5990
Title: การดูแลตนเองเมื่อมีภาวะเบี่ยงเบนด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เคยมีอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน
Health deviation Self-care among patients with chronic obstructive pulmonary disease experienced acute exacerbations
Authors: Sasithorn Thubjam
ศศิธร ธูปแจ่ม
Sangduan Apiratanawong
แสงเดือน อภิรัตนวงศ์
Naresuan University
Sangduan Apiratanawong
แสงเดือน อภิรัตนวงศ์
sangduana@nu.ac.th
sangduana@nu.ac.th
Keywords: การดูแลตนเอง
ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
อาการหายใจลำบากเฉียบพลัน
Self- care
COPD patients
Acute exacerbation
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objective of this qualitative research was to study health deviation Self-care among patients with chronic obstructive pulmonary disease who experienced acute exacerbation. Tools that were used to collect data were in-depth interviews, non-participatory observation, and field notes. All the data were analyzed using Colaizzi’s method. The results of this study can be explained in detail of six features: 1) avoiding factors that stimulate symptoms of dyspnea and are sub-divided into three categories including: stop smoking and avoid cigarette smoke, avoid dust, and avoid crowded places. 2) follow the health team instructions and are sub-divided into four categories including: breathing exercises, exercise, use of medication as directed, and attending an appointment. 3) prepare for emergencies and are sub-divided into two categories including: carry an inhaler, and prepare the inhaler. 4) There are ways to self-care for dyspnea and are sub-divided into three categories including: stop doing activities to reduce tiredness, use the inhaler when you have an exacerbation, and go to the hospital when you have breathlessness. 5) asking for help when you have more dyspnea and are sub-divided into three categories including: asking for help from close people, asking a friend for help, seeking help from government officials. 6) notice learn and prevent repetitive panting and are sub-divided into three categories including: seek help from government officials, and protect yourself from stimuli. And the contributing factors affecting self-care were hope for good health, living for loved ones as a driving force to continue living. And another factor is family, close people who help care for and provide support in self-care. The factors that hinder self-care include occupation and the surrounding environment. The results of this study can be applied to the knowledge gained about self-care when deviating in the health of COPD patients who have experienced acute exacerbations and the results of the study were used as information for the development of the model caring for patients with chronic obstructive pulmonary disease who have experienced acute exacerbations.
การศึกษาเชิงคุณภาพครั้งนี้ มีวัตุประสงค์เพื่ออธิบายการดูแลตนเองเมื่อมีภาวะเบี่ยงเบนด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เคยมีอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน ผู้ให้ข้อมูลคือผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เคยมีอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน โดยใช้สัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมควบคู่ไปกับการสัมภาษณ์ และการบันทึกภาคสนาม ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีของโคไลซี่ (Colaizzi)   ผลการศึกษาพบว่า การดูแลตนเองเมื่อมีภาวะเบี่ยงเบนด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เคยมีอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน สามารถแบ่งการดูแลตนเองได้เป็น 6 ประเด็น  คือ 1) หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการหอบกำเริบ ได้แก่ การเลิก และหลีกเลี่ยงบุหรี่, หลีกเลี่ยงฝุ่น และควัน, หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด 2) ปฏิบัติตามคำแนะนำของทีมสุขภาพอย่างเคร่งครัด ได้แก่ การฝึกหายใจ, การออกกำลังกาย, การใช้ยาตามคำแนะนำ, และการไปตรวจตามนัด 3) เตรียมความพร้อมต่อภาวะฉุกเฉิน ได้แก่ การเตรียมยาพ่นติดตัว, การเตรียมเครื่องพ่นยา และออกซิเจน 4) จัดการเมื่อเกิดอาการหอบกำเริบ ได้แก่ การหยุดทำกิจกรรมเพื่อให้อาการเหนื่อยลดลง, การไปโรงพยาบาลเมื่อมีอาการรุนแรง 5) การขอความช่วยเหลือเมื่อมีอาการหอบมากขึ้น ได้แก่ การขอความช่วยเหลือจากคนใกล้ชิด, การขอความช่วยเหลือจากเพื่อน, ขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ 6) สังเกตตนเองเรียนรู้ เพื่อป้องกันการหอบกำเริบซ้ำ และปัจจัยสนับสนุนที่มีผลต่อการดูแลตนเอง ได้แก่ ความหวังที่จะมีสุขภาพดี การมีชีวิตอยู่เพื่อบุคคลที่รักเป็นพลังผลักดันให้ดำเนินชีวิตต่อไป และอีกปัจจัยหนึ่งคือครอบครัว คนใกล้ชิดเป็นคนที่ช่วยดูแลและให้การสนับสนุนในการดูแลตนเอง ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการดูแลตนเอง ได้แก่ การประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมรอบตัว ข้อเสนอแนะ : ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำความรู้ที่ได้เกี่ยวกับการดูแลตนเองเมื่อมีภาวะเบี่ยงเบนด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เคยมีอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน และผลการศึกษาใช้ประกอบเป็นข้อมูลในการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เคยมีอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5990
Appears in Collections:คณะพยาบาลศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SasithornThubjam.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.