Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5989
Title: ผลของโปรแกรมการจัดการความปวดอย่างมีแบบแผนต่อความปวดและการปฎิบัติตนหลังผ่าตัดช่องท้องในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บช่องท้อง
The Effects of Planned Pain Management Program on Pain and  Self-Practice after Abdominal Surgery in Abdominal Injuried Patients.
Authors: Thaweesak Kaewpia
ทวีศักดิ์ แก้วเปี้ย
Intira Pakanta
อินทิรา ปากันทะ
Naresuan University
Intira Pakanta
อินทิรา ปากันทะ
intira@nu.ac.th
intira@nu.ac.th
Keywords: การปฎิบัติตนหลังผ่าตัดช่องท้อง
ความปวด
บาดเจ็บช่องท้อง
โปรแกรมการจัดการความปวด
Self-Practice after Abdominal surgery
Pain
Abdominal Injuried
Pain Management Program
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This study was a quasi-experimental research. It was purpose to study the effect of planned pain management program on pain and self-practice after abdominal surgery in abdominal injuries patients. The sample consisted of 52 patients admitted in Uttaradit Hospital. They were divided into the control group, which were 26 patients who received normal nursing care and the experimental group. 26 patients who received a planned pain management  program. Data were collected from October 2020 – April 2021. The research tool passed a quality validation review. Content validity study by 5 experts was Item-objective congruence index: IOC 0.60-1.00 level. Research tools include a planned pain management program using the symptom management concept of Dodd et al. (2001). The Research collection tools were 1) personal data record 2) pain self-management books 3) patient visit form and 4) self-practice form after abdominal surgery as passed reliability of Cronbacha’s Alpha Coefficient at the 0.85 level. Data were analyzed by frequency, Percentage, Mean, Standard deviation. Chi-square test, Fisher’s exact test and Independent  t –test.     The results of the study showed that 1) The mean pain score after abdominal surgery at 72 hours after being transferred to the general ward in the experimental group receiving the planned pain management program was lower than the control group receiving normal nursing care at the .01 level. 2) The mean scores of postoperative abdominal surgery at 72 hours after being transferred to the general ward were higher in the experimental group receiving the planned pain management program than the control group receiving the normal nursing care at the .001 level. Therefore, The planned pain management program should be applied to critically ill patients with abdominal injuries to alleviate pain and promote postoperative self-practice rehabilitation.
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการความปวดอย่างมีแบบแผนต่อความปวดและการปฏิบัติตนหลังผ่าตัดช่องท้องในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บช่องท้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการบริการโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ จำนวน 52 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ 26 ราย และกลุ่มทดลอง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับโปรแกรมการจัดการความปวดอย่างมีแบบแผน 26 ราย  เก็บรวบรวมข้อมูลเดือนตุลาคม 2563 – เมษายน 2564 เครื่องมือวิจัยผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์ เท่ากับ 0.60-1.00 เครื่องมือดำเนินการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการจัดการความปวดอย่างมีแบบแผนโดยใช้แนวคิดการจัดการอาการของ Dodd et al. (2001) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) สมุดบันทึกการจัดการความปวดด้วยตนเอง 3) แบบบันทึกการเยี่ยมผู้ป่วย และ 4) แบบสอบถามการปฏิบัติตนหลังผ่าตัดช่องท้อง ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบไคสแคว์ สถิติฟีชเชอร์ และสถิติทดสอบทีแบบสองกลุ่ม ผลการศึกษา พบว่า 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดหลังผ่าตัดช่องท้อง เมื่อครบ 72 ชั่วโมง ภายหลังได้รับการย้ายไปหอผู้ป่วยสามัญในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการจัดการความปวดอย่างมีแบบแผนต่ำกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01     2. ค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติตนหลังผ่าตัดช่องท้อง เมื่อครบ 72 ชั่วโมง ภายหลังได้รับการย้ายไปหอผู้ป่วยสามัญในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการจัดการความปวดอย่างมีแบบแผนสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ดังนั้นจึงควรนำโปรแกรมการจัดการความปวดอย่างมีแบบแผนไปใช้กับผู้ป่วยวิกฤตที่ได้รับบาดเจ็บช่องท้องเพื่อบรรเทาความปวดและส่งเสริมการฟื้นฟูสภาพหลังผ่าตัด
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5989
Appears in Collections:คณะพยาบาลศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ThaweesakKaewpia.pdf5.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.