Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5950
Title: การออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหารที่เหมาะสมบนพื้นฐานของวิธีการเชิงพันธุกรรม
The food optimization packaging design base on genetic algorithm comprehensive evaluation
Authors: Amornrat Muenjitnoy
อมรรัตน์ หมื่นจิตน้อย
Kawin Sonthipermpoon
กวิน สนธิเพิ่มพูน
Naresuan University
Kawin Sonthipermpoon
กวิน สนธิเพิ่มพูน
sonkawin@nu.ac.th
sonkawin@nu.ac.th
Keywords: ออกแบบบรรจุภัณฑ์
กระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับขั้น
บรรจุภัณฑ์อาหาร
Packagin design
Analytical Hierarchy Process
Food packaging
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aimed to study and make decisions on packaging materials and appropriate packaging structures using the Analytic Hierarchy Process (AHP) to evaluate the factor loadings including physical characteristic of products (0.2041), cost of packaging structure (0.1879), target group (0.1721), uses (0.1580), transportations (0.1451) and food storage (0.1332). According to the expert, the highest factor loading was the physical characteristic of products because it was an important part affecting consumers' purchasing decisions. The analysis and decision of selecting packaging materials revealed that plastic was a suitable packaging material to design the packaging structure in the case study. Then, the researcher conducted a study and decided on packaging structure by finding the factor loadings including packaging and protection or prevention (0.2235), ease of use (0.2170), communication and marketing (0.1935), environmental considerations (0.2038) and epidemic prevention (0.1622). The factor that the expert considered the most important was packaging and protection or protection because it was an important part affecting consumers' purchasing decisions. The analysis and decision of selecting packaging structure revealed that a transparent stand-up zipper bag was the most suitable packaging structure of a product in the case study. And the L size box is a suitable packaging for transporting goods to customers by analyzing the problem with genetic algorithm. From this research , knowledge based on packaging design and development principles in terms of engineering constraints , apply Analytical Hierarchy Process (AHP) in the selection of food packaging for agricultural products. Which, AHP can be applied to other products by adjusting main criteria and sub criteria consistent with materials and products.  In terms of product placement in the packaging, it is the bin packaging problem. This research, apply Genetic Algorithms (GA) for solve this problem, knowledge based on bin packaging problem, community enterprises or entrepreneurs or researchers can be applied to selection of suitable packaging for transport because it saves  the cost of packaging for the transport of community enterprises or entrepreneurs.
การออกแบบโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ที่มีดี สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันกันทางธุรกิจ ดังนั้นงานวิจัยนี้ดำเนินการศึกษาและตัดสินใจเลือกวัสดุของบรรจุภัณฑ์และโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม โดยวิธีกระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้นมาประเมินหาน้ำหนักความสำคัญของปัจจัย ประกอบด้วย ลักษณะกายภาพของผลิตภัณฑ์ (0.2041),ราคาของโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ (0.1879), กลุ่มเป้าหมาย (0.1721), ลักษณะการนำไปใช้งาน (0.1580), การขนส่ง (0.1451) และ การเก็บรักษาอาหาร (0.1332) ซึ่งปัจจัยที่ผู้เชี่ยวชาญให้ความสำคัญมากที่สุดคือ ลักษณะกายภาพของผลิตภัณฑ์ เนื่องจากเห็นว่าเป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อของผู้บริโภค  และผลการวิเคราะห์และตัดสินใจเลือกวัสดุของบรรจุภัณฑ์พบว่าพลาสติกเป็นวัสดุของบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมในการนำมาออกแบบโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์กรณีศึกษา จากนั้นดำเนินการศึกษาและตัดสินใจเลือกโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ โดยจากการหาน้ำหนักความสำคัญของปัจจัย ประกอบด้วย การบรรจุและปกป้องหรือป้องกัน (0.2235), การอำนวยความสะดวกในการใช้งาน (0.2170), การสื่อสารและการตลาด (0.1935), การคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (0.2038) และ การป้องกันจากโรคระบาด (0.1622) ซึ่งปัจจัยที่ผู้เชี่ยวชาญให้ความสำคัญมากที่สุด คือ การบรรจุและปกป้องหรือป้องกัน เนื่องจากเป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อของผู้บริโภค ผลการวิเคราะห์และตัดสินใจเลือกโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์อาหารพบว่า ถุงซิปล็อค ก้นตั้งได้ เป็นโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมที่สุดของผลิตภัณฑ์กรณีศึกษา และกล่องขนาด L เป็นบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมในการขนส่งสินค้าให้กับลูกค้าโดยการวิเคราะห์ปัญหาด้วยวิธีการเชิงพันธุกรรม จากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้สรุปองค์ความรู้ตามหลักการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ทางด้านวิศวกรรมโดยนำเอาหลักการของ AHP มาประยุกต์ใช้ในการคัดเลือกบรรจุภัณฑ์อาหารแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งหลักการ AHP สามารถประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยปรับปัจจัยหลักและปัจจัยรองให้สอดคล้องกับวัสดุและผลิตภัณฑ์  ในส่วนของการจัดวางเรียงผลิตภัณฑ์ในกล่องบรรจุภัณฑ์ที่เป็นปัญหาการบรรจุผลิตภัณฑ์ (Bin Packing Problem) ในงานวิจัยนี้มีการประยุกต์ใช้วิธีการแก้ปัญหาโดยขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม (Genetic Algorithm) ซึ่งสรุปองค์ความรู้ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือผู้ประกอบการหรือนักวิจัยสามารถนำหลักการนี้ช่วยในการเลือกบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งที่เหมาะสมและประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายของบรรจุภัณฑ์ขนส่งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือผู้ประกอบการ
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5950
Appears in Collections:คณะวิศวกรรมศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
AmornratMuenjitnoy.pdf16.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.