Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5946
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorPanuchanart Chaiwongen
dc.contributorภานุชนารถ ชัยวงค์th
dc.contributor.advisorSuriya Chapooen
dc.contributor.advisorสุริยา ชาปู่th
dc.contributor.otherNaresuan Universityen
dc.date.accessioned2024-01-30T02:30:43Z-
dc.date.available2024-01-30T02:30:43Z-
dc.date.created2566en_US
dc.date.issued2566en_US
dc.identifier.urihttp://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5946-
dc.description.abstractThis action research aimed to  1) study the development of learning activity through MACRO Model in interactions in the solar system and space technology for grade 9 students 2) The development of critical thinking in interactions in the solar system and space technology for grade 9 student. The participants consisted of 20 students in grade 9 selected by purposive sampling technique. The research instruments were 1) lesson plan through MACRO Model in interactions in the solar system and space technology for grade 9 students in science. 2) The reflective form. 3) The critical thinking test and 4) The critical thinking worksheets. The qualitative data were content analyzed. Conversely, the quantitative data were analyzed with descriptive statistics for mean. The research results showed that 1) the learning activity through MACRO Model should follow the steps below. The first step is motivation, students construct the learning point by interesting media. The second step is Active learning, encourage the critical thinking of students by inquired knowledge in a multiple-source. Next step is Conclusion, students use the critical thinking to discussion and conclude the learning point. After that students design infographic for publish. Fourthly, Reporting that is about infographic presentation and then classmate will reflect their work before publish on online platform. The last step is Obtain, Selected the new situation similar to previous lesson that make students use their knowledge to analyze the given situation. The second result showed the increase of critical thinking in interactions in the solar system and space technology for grade 9 students that measured by  The critical thinking test. The pre-test average point is 11.85 points and post-test average point is 18.95 points so the increase point is 59.91 percents.en
dc.description.abstractการวิจัยปฏิบัติการครั้งนี้จึงมีจุดมุ่งหมาย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ MACRO model เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะและเทคโนโลยีอวกาศ ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อศึกษาพัฒนาการการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะและเทคโนโลยีอวกาศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เมื่อได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ MACRO Model ผู้เข้าร่วมในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 คนซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ MACRO model เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะและเทคโนโลยีอวกาศ รายวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ 3) แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ 4) ใบงานประกอบการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงปริมาณ ใช้การหาค่าเฉลี่ยในการวิเคราะห์ผล ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ MACRO model ควรเป็นดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างแรงจูงใจ ต้องมีการนำเข้าสู่บทเรียนด้วยสื่อที่น่าสนใจ เพื่อชักนำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสร้างประเด็นการเรียนรู้ ขั้นที่ 2 ขั้นการเรียนรู้โดยตรง ต้องมีการสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ในการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย ขั้นที่ 3 ขั้นสรุปองค์ความรู้ ต้องเน้นให้ผู้เรียนใช้การคิดอย่างมีวิจารณญาณในการอภิปรายกัน และตัดสินหาข้อสรุปเกี่ยวกับประเด็นที่ตั้งไว้ เมื่อได้ข้อสรุปแล้วต้องนำมาสร้าง infographics เพื่อนำไปเผยแพร่ ดังนั้นผลงานที่ผู้เรียนสร้างขึ้นต้องมีความน่าเชื่อถือ ขั้นที่ 4 ขั้นรายงานและนำเสนอ นำผลงานที่สร้างขั้นมานำเสนอหน้าชั้นเรียน เพื่อให้เพื่อนร่วมชั้นเรียนอภิปรายความถูกต้องของผลงาน ก่อนที่จะนำไปเผยแพร่บนช่องทางออนไลน์ และขั้นที่ 5 ขั้นเผยแพร่ความรู้ ต้องเลือกสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับบทเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้องค์ความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรมมาวิเคราะห์ เพื่ออธิบายสถานการณ์ที่ผู้วิจัยกำหนดให้ได้ ผลการศึกษาข้อที่ 2) ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะและเทคโนโลยีอวกาศ เพิ่มสูงขึ้นจากก่อนเรียน โดยการวัดจากแบบทดสอบการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน ซึ่งก่อนเรียน มีคะแนนเฉลี่ย 11.85 คะแนน หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 18.95 คะแนน ดังนั้นคะแนนที่เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 59.91th
dc.language.isothen_US
dc.publisherNaresuan Universityen_US
dc.rightsNaresuan Universityen_US
dc.subjectการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ MACRO modelth
dc.subjectการคิดอย่างมีวิจารณญาณth
dc.subjectlearning activity through MACRO Modelen
dc.subjectcritical thinkingen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.subject.classificationEducationen
dc.subject.classificationEducation scienceen
dc.titleการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะและเทคโนโลยีอวกาศโดยใช้รูปแบบ MACRO Model เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจาณในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3th
dc.titleLearning Management of the Content Entitled Interactions in the Solar System and Space Technology Using MACRO Model for Promoting Critical Thinking in grade 9 students, an Educational Opportunity Expansion Schoolen
dc.typeIndependent Studyen
dc.typeการค้นคว้าอิสระth
dc.contributor.coadvisorSuriya Chapooen
dc.contributor.coadvisorสุริยา ชาปู่th
dc.contributor.emailadvisorsuriyac@nu.ac.then_US
dc.contributor.emailcoadvisorsuriyac@nu.ac.then_US
dc.description.degreenameMaster of Education (M.Ed.)en
dc.description.degreenameการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)th
dc.description.degreelevelMaster's Degreeen
dc.description.degreelevelปริญญาโทth
dc.description.degreedisciplineDepartment of Educationen
dc.description.degreedisciplineภาควิชาการศึกษาth
Appears in Collections:คณะศึกษาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PanuchanartChaiwong.pdf3.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.