Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5929
Title: การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุติดสังคมที่มีภาวะอ้วนในจังหวัดฉะเชิงเทรา
DEVELOPMENT OF EXERCISE BEHAVIOR MODIFICATION MODEL FOR SOCIAL-BOUNDED ELDERLY WITH OBESITY IN CHACHOENGSAO PROVINCE
Authors: Nunnaphat Tanathakorn
นันท์นภัส ธนฐากร
Thanach Kanokthet
ธนัช กนกเทศ
Naresuan University
Thanach Kanokthet
ธนัช กนกเทศ
thanachk@nu.ac.th
thanachk@nu.ac.th
Keywords: รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย
การออกกำลังกายของผู้สูงอายุติดสังคม
ภาวะอ้วน
Exercise behavior modification model
Physical exercise of the social-bounded elderly
Obesity
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objectives of this developmental study are 1) To study causes and factors affecting exercise behaviors of social-bounded elderly people with obesity in Chachoengsao Province. 2) To develop a model to modify the exercise behavior of social-bounded elderly people with obesity that is consistent and appropriate to the context in the study area in Chachoengsao Province; 3) To assess the use of exercise behavior modification model of social-bounded elderly with obesity in Chachoengsao Province. The results showed that four factors that affect exercise behavior of social-bounded elderly people with obesity in Chachoengsao Province including support from community organizations, family, friends, health workers from exercise, knowledge, self-efficacy about exercise and obesity, results expectations regarding exercise and obesity, found that community organizations, family, friends, health workers from exercise has the highest predictive power (Beta=0.388, p-value <0.001) followed by a lot of knowledge. (Beta=-0.104, p-value=0.031) self-efficacy about exercise and obesity. (Beta=0.220, p-value< 0.001) and results expectations regarding exercise and obesity (Beta= -0.184,p-value=0.003) at the statistical significance level of 0.05. The researcher used the above variables as a framework for  develop a model to modify the exercise behavior of social-bounded elderly people with obesity. When using the model to study the effectiveness, it was found that after the experiment, the obese socially addicted elderly between the experimental group and the post-experimental comparison group. It was found that behavior modification, waist circumference, and body mass index were different. The experimental group had higher scores than the comparison group. Statistically significantly at the 0.05 level. Therefore the suggestions here include there should be a network to change exercise behavior in the elderly to encourage the elderly to participate in physical activity continuously and to encourage the elderly to participate in physical activity continuously.
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุติดสังคมที่มีภาวะอ้วนในจังหวัดฉะเชิงเทรา 2)เพื่อพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุติดสังคมที่มีภาวะอ้วนที่สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทในพื้นที่ที่ศึกษาในจังหวัดฉะเชิงเทรา 3)เพื่อประเมินการใช้รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุติดสังคมที่มีภาวะอ้วนในจังหวัดฉะเชิงเทรา ผลการวิจัยพบ 4 ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุติดสังคมที่มีภาวะอ้วนในจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้แก่ แรงสนับสนุนจากองค์กรชุมชน ครอบครัว กลุ่มเพื่อน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จากการออกกำลังกาย ความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเองเกี่ยวกับการออกกำลังกายและภาวะอ้วน ความคาดหวังในผลลัพธ์เกี่ยวกับการออกกำลังกายและภาวะอ้วน โดยพบว่า แรงสนับสนุนจากองค์กรชุมชน ครอบครัว กลุ่มเพื่อน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จากการออกกำลังกาย มีอำนาจการพยากรณ์สูงที่สุด (Beta=0.388, p-value <0.001) รองลงมา ได้แก่ ความรู้มาก (Beta=-0.104, p-value=0.031) การรับรู้ความสามารถของตนเองเกี่ยวกับการออกกำลังกายและภาวะอ้วน  (Beta=0.220, p-value< 0.001) และความคาดหวังในผลลัพธ์เกี่ยวกับการออกกำลังกายและภาวะอ้วน (Beta= -0.184,p-value=0.003) ตามลำดับ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผู้วิจัยนำตัวแปรดังกล่าวมาเป็นกรอบในการพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุติดสังคมที่มีภาวะอ้วน เมื่อนำรูปแบบไปศึกษาประสิทธิผล พบว่า หลังการทดลองผู้สูงอายุติดสังคมที่มีภาวะอ้วนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบหลังการทดลอง พบว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รอบเอว ดัชนีมวลกาย แตกต่างกัน กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ดังนั้นจากผลการศึกษาเสนอแนะว่า ควรมีการสร้างเครือข่ายการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ เพื่อการสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้เข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายได้อย่างต่อเนื่อง และเพื่อเพิ่มศักยภาพในระบบการดูแลผู้สูงอายุเกี่ยวกับการปรับเปรียบพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุต่อไป
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5929
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
NunnaphatTanathakorn.pdf3.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.