Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5928
Title: ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยในการขับขี่รถจักรยานยนต์ โดยประยุกต์ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในวัยรุ่นโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง จังหวัดพิษณุโลก
Effects of Unsafe Behavior Modification Program on Motorcycle Driving by Applying Transtheoretical Model among adolescents in a high school in Phitsanulok Province
Authors: Khorokot Onkum
กรกฎ อ่อนคำ
Ruedeerat Mahaboonpeeti
ฤดีรัตน์ มหาบุญปีติ
Naresuan University
Ruedeerat Mahaboonpeeti
ฤดีรัตน์ มหาบุญปีติ
ruedeeratm@nu.ac.th
ruedeeratm@nu.ac.th
Keywords: โมเดลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
พฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์
วัยรุ่น
Transtheoretical model
Motorcycle driving behavior
Adolescents
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: This quasi-experimental research aimed to study the effects of behavior modification program on motorcycle driving by applying transtheoretical model to 104 adolescents aged between 15 and 19 years old in government educational institutions, Phitsanulok. They were randomly assigned in a two groups consisting of 56 experiments and 60 controls. Transtheoretical models of Prochaska and Diclemente were applied in a behavior modification program on motorcycle driving for the experimental group. These models consisted of consciousness raising activity, dramatic relief activity, environmental reevaluation activity, self-reevaluation activity, self-liberation activity and contingency management activity. This research was conducted using questionnaire consisted of general data, motorcycle driving behavior, self-efficacy in modification of driving behavior, decisional balance in modification of driving behavior and stage of change in modification of driving behavior. The data were analyzed by descriptive statistics and inferential statistics (Repeated measure ANOVA).     The results revealed that the experimental group had statistically significant an average score of self-efficacy in modification of driving behavior, decisional balance in modification of driving behavior and driving behavior at 9th week and 12th week higher than before training the program (p<0.001). In addition, the experimental group had statistically significant average score of self-efficacy in modification of driving behavior, decisional balance in modification of driving behavior and driving behavior higher than the control group after training the program at week 9th and 12th week  (p<0.001). This study suggested that the unsafe behavior modification program on motorcycle driving by applying transtheoretical model affected the modification of the driving behavior of adolescents. Moreover, this program could adapt for conduct the activity to decrease the accident rate from motorcycle.
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ โดยประยุกต์ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในวัยรุ่นจำนวน 104 คน มีอายุอยู่ระหว่าง 15 – 19 ปี ในสถาบันการศึกษาของภาครัฐ จังหวัดพิษณุโลก แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 56 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 60 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการขับขี่รถจักรยานยนต์โดยประยุกต์ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของโพรชาสก้า และไดคลีเมนเต้ ที่ประกอบไปด้วยกิจกรรมการกระตุ้นความรู้สึก กิจกรรมการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึก กิจกรรมการประเมินสิ่งแวดล้อม กิจกรรมการประเมินตนเอง กิจกรรมการปลดปล่อยตนเอง และกิจกรรมการจัดการกับผลที่เกิดขึ้น ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ ความสมดุลของการตัดสินใจเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ และขั้นความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ ความสมดุลของการตัดสินใจเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ และพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ในสัปดาห์ที่ 9 และสัปดาห์ที่ 12 สูงขึ้นกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P<0.001) และกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ ความสมดุลของการตัดสินใจเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ และพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ในสัปดาห์ที่ 9 และสัปดาห์ที่ 12 สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P<0.001) จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยในการขับขี่รถจักรยานยนต์โดยประยุกต์ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ของวัยรุ่น และสามารถนำไปเป็นแนวทางจัดกิจกรรมเพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ต่อไป
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5928
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
KhorokotOnkum.pdf3.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.