Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5894
Title: กลวิธีความไม่สุภาพและการกู้ภาพลักษณ์ในปริจเฉทรายการสัมภาษณ์บุคคลจากข่าวในกระแส
Impoliteness and Image Restoration Strategies in the Discourse of Interviewing People in Trendy news
Authors: Nantaporn Sornjitti
นันทพร ศรจิตติ
Narongkan Rodsub
ณรงค์กรรณ รอดทรัพย์
Naresuan University
Narongkan Rodsub
ณรงค์กรรณ รอดทรัพย์
narongkanr@nu.ac.th
narongkanr@nu.ac.th
Keywords: กลวิธีความไม่สุภาพ
กลวิธีการกู้ภาพลักษณ์
รายการสัมภาษณ์
บุคคลจากข่าวในกระแส
Impoliteness Strategies
Image Restoration Strategies
The Interviewing
People in Trendy News
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aimed to study and analyze the strategies of impoliteness and the strategies of image restoration in the language used in the discourse of interview sessions of individuals from mainstream news. Data was gathered from personal interviews on "Hone-Krasae" and "Tang Khon Tang Khit" between June 2018 and June 2019. The study revealed that there were four prevalent methods of impoliteness: 1) The questioning method, which comprises five forms: asking in a belittling manner to provoke emotions, challenging questioning, questions that lead the answer, aggressively pressing with consecutive questions, and asking in a presumptive or decisive manner. 2) The warning method. 3) The method of expressing opinions in a critical manner. 4) The method of using impolite language within societal standards, categorized into two forms: language that indicates gender and emotions, and the use of profanity, slanderous words, and slang that alludes to forbidden terms or topics. The research highlighted that these four methods of impoliteness were evident in interviews from trending news, in both the language of the interviewer/host and the participants, who held divergent views. Moreover, the study found that the dialogue between participants exhibited a broader variety of impoliteness strategies compared to the language used by the interviewer or host when interacting with the participants. The study analyzed the strategies of image restoration and found that there are five main strategies: 1) Denial, 2) Evasion of Responsibility, 3) Corrective Action, 4) Reducing Offensiveness, and 5) Mortification. When considering the frequency of the appearance of all strategies, denial was found to be the most used by interviewees in the analyzed interview sessions from news in the mainstream media. This suggests that this method helps the interviewees to dissociate themselves from the wrongdoing or to be minimally associated with it. This could be because the evidence regarding the wrongful event is not clear or presented in a way that does not obligate the speaker to accept the wrongdoing. Moreover, the speaker may not consider their actions as wrong. This aligns with the method of showing willingness to correct, which appeared minimally in the analyzed interview sessions in this research. This might be because the interviewees didn't think they committed a wrong that requires rectification, hence this method wasn't showcased much.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์กลวิธีความไม่สุภาพและกลวิธีการกู้ภาพลักษณ์ของการใช้ภาษาในปริจเฉทรายการสัมภาษณ์บุคคลจากข่าวในกระแส   เก็บข้อมูลการสัมภาษณ์บุคคลจากรายการโหนกระแสและรายการต่างคนต่างคิด  ระหว่างเดือนมิถุนายน 2561 – เดือนมิถุนายน 2562   ผลการศึกษาพบว่า กลวิธีความไม่สุภาพที่ปรากฏใช้มี  4  กลวิธี  ได้แก่  1)  กลวิธีการถาม มี 5  รูปแบบ ดังนี้คือ  การถามในเชิงดูถูกเพื่อยั่วยุอารมณ์  การถามแย้ง  การถามชี้นำคำตอบ  การถามรุกไล่ด้วยคำถามต่อเนื่อง  การถามในลักษณะใส่ความหรือตัดสินชี้ขาด  2) กลวิธีการกล่าวเตือน  3) กลวิธีการแสดงความเห็นในเชิงวิพากษ์วิจารณ์  4) กลวิธีการใช้ถ้อยคำที่แสดงความไม่สุภาพตามกรอบบรรทัดฐานสังคม มี 2 รูปแบบ ดังนี้คือ การใช้ถ้อยคำบ่งชี้เรื่องเพศและกามารมณ์ และการใช้ถ้อยคำผรุสวาท  การสบถโดยใช้คำต้องห้าม  การใช้คำสแลงที่บ่งชี้ถึงคำหรือเรื่องต้องห้าม ทั้งนี้ผู้วิจัยพบว่ากลวิธีความไม่สุภาพทั้ง 4 กลวิธีดังกล่าวปรากฏในรายการสัมภาษณ์บุคคลจากข่าวในกระแสทั้งในการใช้ภาษาของผู้สัมภาษณ์ และในการใช้ภาษาของผู้ร่วมรายการซึ่งเป็นคู่สนทนาที่มีทรรศนะแตกต่างกัน  นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังพบว่าการใช้ภาษาระหว่างผู้ร่วมรายการซึ่งเป็นคู่สนทนา 2 ฝ่าย นั้นจะปรากฏกลวิธีความไม่สุภาพหลากหลายรูปแบบมากกว่าการใช้ภาษาที่ผู้สัมภาษณ์ใช้สนทนากับผู้ร่วมรายการอีกด้วย  ผลการศึกษาวิเคราะห์กลวิธีการกู้ภาพลักษณ์  พบว่ามี 5 กลวิธี ได้แก่  1) การปฏิเสธ 2) การลดความรับผิดชอบ  3) การลดข้อขุ่นข้องหมองใจ  4) การแสดงความยินยอมแก้ไข  และ 5) กลวิธีการยอมรับผิดและการขอโทษ  เมื่อพิจารณาการปรากฏของกลวิธีทั้งหมดจะพบว่า การปฏิเสธ เป็นกลวิธีที่ผู้ให้สัมภาษณ์ในปริจเฉทรายการสัมภาษณ์บุคคลจากข่าวในกระแสใช้มากที่สุด ซึ่งกล่าวได้ว่ากลวิธีนี้เอื้อให้ผู้ให้สัมภาษณ์ไม่เกี่ยวข้องกับความผิดที่เกิดขึ้นหรือมีความเกี่ยวข้องน้อยที่สุด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะหลักฐานที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ความผิดนั้นปรากฏไม่ชัดเจนหรือปรากฏในลักษณะที่ไม่สามารถผูกมัดให้ผู้พูดต้องยอมรับความผิด รวมไปถึงตัวผู้พูดไม่คิดว่าสิ่งที่ตนกระทำเป็นความผิด  สอดคล้องกับกลวิธีการแสดงความยินยอมแก้ไขซึ่งปรากฏข้อมูลในปริจเฉทรายการสัมภาษณ์ในงานวิจัยนี้น้อยมาก  ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผู้ให้สัมภาษณ์ไม่ได้คิดว่าตนกระทำความผิดจนต้องปรับปรุงแก้ไข จึงทำให้ไม่ปรากฏกลวิธีนี้มากนักนั่นเอง
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5894
Appears in Collections:คณะมนุษยศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
NantapornSomjitti.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.