Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5890
Title: การประเมินการรายงานข้อมูลตัวชี้วัดการใช้ยาปฏิชีวนะในบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ ของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดพิษณุโลก
Evaluation of reporting data indication for antibiotic use in fresh traumatic wound from accidents in community hospitals, Phitsanulok Province.
Authors: Sangsuda Pengkum
แสงสุดา เพ็งคุ้ม
Assadang Polnok
อัษฎางค์ พลนอก
Naresuan University
Assadang Polnok
อัษฎางค์ พลนอก
assadangp@nu.ac.th
assadangp@nu.ac.th
Keywords: บาดแผลสด
การใช้ยาปฏิชีวนะ
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
ตัวชี้วัด
Fresh traumatic wound
Antibiotic usage
Rational drug use
Indicator
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: Objective: Evaluation the reporting Data of antibiotic use indication for fresh traumatic wound and to study the rational of antibiotic use in fresh traumatic wound in community hospitals Phitsanulok Province. Research method: Descriptive research divided into 2 parts, part 1 is a quantitative research. Evaluate the use of antibiotics in fresh traumatic wound by using a retrospective data evaluation of antibiotic use in outpatients with fresh traumatic wound in community hospitals Phitsanulok province in the fiscal year 2020 (October 1, 2019 to September 30, 2020) and have been coded international classification of disease and related health problem 10th revision (ICD-10) as defined in the indicator for antibiotic use in fresh traumatic wound 21,773 people. The sample consisted of 979 outpatients. The data were assessed to analyze the reasonable of antibiotic prescribing in fresh traumatic wound according to Clinical Practice Guideline  (CPG). Part 2 is a quanlitative research. Interview the opinoins of medical personnel about RDU specifically, Phitsanulok province. Result: Rational of antibiotic prescribing in fresh traumatic wound in community hospitals Phitsanulok province. It was found that 57.20% of patients with fresh traumatic wound received antibiotics. But in the CPG grouping, 696 patients (71.09%) received antibiotics reasonably. While 283 patients (28.91%) received antibiotics unreasonably. In the opinion of medical personnel those involved in RDU operations in Phitsanulok province opinions on the reporting data indication for antibiotic use in fresh traumatic wound of the Ministry of Public Health. It was found that the interviews had the most common opinion that it was appropriate, was convenient, fast, and time-saving to monitoring many indication the national-level trend data of the Ministry of Public Health. However, there were the most opinions that it was inappropriate, That is the resolution of the data was insufficient to consider its reasonableness. The suggestion in reporting data on indication of antibiotic use in fresh traumatic wound of the Ministry of Public Health. Most medical personnel agreed that the program should be developed to be effective. Reporting data should clearly classify wounds into 4 groups according to the CPG guidelines. ICD10 codes are separated according to disease severity and local context such as wound cleanliness, duration of lesion separate, animal bites wounds, wound that should be use antibiotic and should not use antibiotic, etc. The program should have the ability to extract information from ICD10, automatically classifying wound types into 4 groups according to the CPG guidelines. Opinions about the target criterion indication for the rate of antibiotic use in fresh traumatic wound of not more than 50 percent. The most agreeing that the target criterion of not more than 50 percent is more appropriate than before, considered to be in the middle no pressure and flexible. Opinions on operations supporting supervision and reporting on RDU performance of Phitsanulok Province. There are people who agree that do good, be in good criteria, change for the better. There is strict supervision and consistently have coverage. Opinions on the trend of changing RDU operations in Phitsanulok Province. There were people who gave the most consensus that it had changed in a better direction, the overall was better, there was a better trend. Performance has improved a lot and is expected to be even better. There is an analysis to determine the cause of the indicators that do not pass and find ways together. There are tools to help collect and analyze operational data. Therefore, the results show that have a good process. It's getting better every year, the number of hospitals that pass the indication is increasing. Project manager responsible for the work has regular supervision and monitoring, including requiring RDU to evaluate the performance of physicians, resulting in continuous monitoring. Suggestions for solving RDU operational problems in Phitsanulok Province. Regarding the problems,  there were opinions that doctors' prescriptions, understanding, and the importance is awareness of the doctor's antibiotic prescribing information reasonableness of drug use and infection information which assessment reasonableness takes time to analyze. The number of antibiotics retrieved from the ICD10 code doesn't pass that doesn't mean it's unreasonable. The suggestion is that there should be training for newly graduated doctors and medical personnel about RDU guidelines/ policies of the province to serve as a basis and create understanding before actual work. Conclusion: Although the use of antibiotics by community hospitals in this study was higher than the criterion, but when evaluated by grouping according to the CPG guidelines, it was found that patients received antibiotics reasonably. The Ministry of Public Health should consider developing an effective reporting on the use of antibiotics in fresh traumatic wound. By reviewing and adjusting the passing criteria that appropriate the context of each hospital, such as the region, the size of the hospital, etc. Including adjusting the report format for antibiotic use indication in fresh traumatic wound, classifying ICD10 codes into 4 groups according to the CPG guidelines and using the method to retrieve data from the ICD10 code that is separated into groups of antibiotic use in fresh traumatic wounds according to the CPG guideline. Which can quickly and clearly show details of the rationale for prescribing drugs. It does not interfere with the work time of medical personnel to analyzing the data. This will make it possible to quickly monitor indication and so that the indication can truly reflect the results of the rational drug use policy.
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินการรายงานข้อมูลตัวชี้วัดการใช้ยาปฏิชีวนะในบาดแผลสดและศึกษาความสมเหตุผลของการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะในบาดแผลสดของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดพิษณุโลก วิธีการวิจัย: งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative study) ประเมินการใช้ยาปฏิชีวนะในบาดแผลสดของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดพิษณุโลกแบบเก็บข้อมูลย้อนหลังโดยประเมินข้อมูลการใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยนอกที่มีบาดแผลสดที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดพิษณุโลก ในปีงบประมาณ 2563  (1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563) และได้รับการลงรหัส International Classification of Disease and Related Health Problem 10th Revision (ICD-10) ตามที่กำหนดในตัวชี้วัดการใช้ยาปฏิชีวนะในบาดแผลสด จำนวน 21,773 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยนอกจำนวน 979 คน นำข้อมูลที่ได้มาประเมินเพื่อวิเคราะห์ความสมเหตุผลของการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะในบาดแผลสด ตามแนวทางการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อในบาดแผลสด (Clinical Practice Guideline, CPG) ส่วนที่ 2 เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Quanlitative study) สัมภาษณ์ความเห็นของบุคลากรทางการแพทย์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงาน RDU ในจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 25 คน ผลการวิจัย: ความสมเหตุผลของการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะในบาดแผลสด ของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดพิษณุโลก พบว่าผู้ป่วยบาดแผลสดมีการได้รับยาปฏิชีวนะร้อยละ 57.20 แต่จากการประเมินโดยแบ่งกลุ่มตาม CPG พบว่า ผู้ป่วย 696 คน (ร้อยละ 71.09) ได้รับยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล ขณะที่ผู้ป่วย 283 คน (ร้อยละ 28.91) ได้รับยาปฏิชีวนะโดยไม่สมเหตุผล ในส่วนความเห็นของบุคลากรทางการแพทย์ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน RDU ในจังหวัดพิษณุโลก ประเด็นความเห็นการรายงานข้อมูลตัวชี้วัดการใช้ยาปฏิชีวนะในบาดแผลสดของกระทรวงสาธารณสุข พบความเห็นที่ผู้ให้สัมภาษณ์คิดเห็นตรงกันมากที่สุดว่าเหมาะสม คือ สะดวกรวดเร็วประหยัดเวลาในการกำกับติดตามข้อมูลแนวโน้มภาพรวมระดับประเทศเนื่องจากตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุขมีจำนวนมาก อย่างไรก็ตามมีผู้ที่ให้ความคิดเห็นตรงกันว่าไม่เหมาะสม คือ ความละเอียดของข้อมูลไม่มากพอในการพิจารณาความสมเหตุผล ประเด็นข้อเสนอการรายงานข้อมูลตัวชี้วัดการใช้ยาปฏิชีวนะในบาดแผลสดของกระทรวงสาธารณสุขที่เหมาะสม มีผู้ให้ความเห็นตรงกันมากที่สุดว่าควรพัฒนาโปรแกรมให้มีประสิทธิภาพ การรายงานข้อมูลควรแยกประเภทบาดแผลเป็น 4 กลุ่ม ตามแนวทาง CPG ให้ชัดเจน มีการแยกรหัส ICD10 ตามความรุนแรงของโรคและบริบทของพื้นที่ เช่น ความสะอาดของแผล ระยะเวลาการเกิดแผล แยกแผลสัตว์กัด แผลที่ควรให้ยากับไม่ควรให้ยา เป็นต้น โปรแกรมควรมีความสามารถในการดึงข้อมูลจาก ICD10 โดยแยกประเภทของบาดแผลออกเป็น 4 กลุ่ม ตามแนวทาง CPG ได้โดยอัตโนมัติ ความเห็นต่อเกณฑ์เป้าหมายอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะในบาดแผลสด ที่ไม่เกินร้อยละ 50  มีผู้ให้ความเห็นตรงกันมากที่สุดว่าเกณฑ์เป้าหมายที่ไม่เกินร้อยละ 50 มีความเหมาะสม ถือว่าอยู่ระดับกลางผู้กำกับติดตามตัวชี้วัดและบุคลากรไม่เครียด มีความยืดหยุ่น ความเห็นต่อการดำเนินงาน การสนับสนุนการดำเนินงาน การกำกับติดตาม ดูแล และการรายงานผลการดำเนินงาน RDU ของจังหวัดพิษณุโลก มีผู้ให้ความเห็นตรงกันมากที่สุดว่าเห็นด้วยทำดี อยู่ในเกณฑ์ที่ดีเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น มีการกำกับติดตามอย่างเข้มงวด ต่อเนื่องสม่ำเสมอ มีความครอบคลุม ความเห็นต่อแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงาน RDU ของจังหวัดพิษณุโลก มีผู้ให้ความเห็นตรงกันมากที่สุดว่าเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น ภาพรวมดีขึ้น มีแนวโน้มดีขึ้น ผลการดำเนินงานดีขึ้นมากและคาดว่าจะดีมากยิ่งขึ้น มีการวิเคราะห์หาสาเหตุตัวชี้วัดที่ไม่ผ่าน และหาแนวทางร่วมกัน มีเครื่องมือช่วยในการเก็บ/ วิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินงาน ดังนั้นผลออกมาดีแสดงว่ามีกระบวนการที่ดี เป็นไปในทางที่ดีขึ้นทุกปีจำนวนโรงพยาบาลที่ผ่านตัวชี้วัดเพิ่มมากขึ้น ผู้รับผิดชอบงานมีการกำกับติดตามสม่ำเสมอรวมถึงมีการกำหนดให้ RDU เป็นตัวประเมินผลการปฏิบัติราชการของแพทย์ ทำให้มีการติดตามอย่างต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาการดำเนินงาน RDU ของจังหวัดพิษณุโลก ด้านปัญหาอุปสรรคมีผู้ให้ความเห็นว่าการสั่งยาของแพทย์ ความเข้าใจ การให้ความสำคัญ การรับรู้ข้อมูลการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะของแพทย์ ความสมเหตุผลของการใช้ยา ข้อมูลการติดเชื้อ ซึ่งการประเมินความสมเหตุผลนั้นต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์อย่างละเอียด หากจะประเมินความสมเหตุผลของการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างแท้จริง เนื่องจากการที่ตัวเลขการใช้ยาปฏิชีวนะที่ดึงจากรหัส ICD10 ไม่ผ่านนั้นไม่ได้หมายความว่าจะใช้ยาไม่สมเหตุผล ข้อเสนอแนะคือ ควรมีการอบรมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์จะใหม่เกี่ยวกับแนวทาง/ นโยบาย RDU ของจังหวัด เพื่อเป็นพื้นฐานและสร้างความเข้าใจก่อนปฏิบัติงานจริง สรุป: แม้การใช้ยาปฏิชีวนะของโรงพยาบาลชุมชนในการศึกษานี้สูงกว่าเกณฑ์ แต่เมื่อนำมาประเมินโดยแบ่งกลุ่มตามแนวทาง CPG พบว่าผู้ป่วยได้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขควรพิจารณาการพัฒนาการรายงานข้อมูลการใช้ยาปฏิชีวนะในบาดแผลสดให้มีประสิทธิภาพ โดยทบทวนปรับเกณฑ์การผ่านให้เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาลแต่ละแห่ง เช่น ภูมิภาค ขนาดโรงพยาบาล เป็นต้น รวมถึงปรับรูปแบบการรายงานข้อมูลตัวชี้วัดการใช้ยาปฏิชีวนะในบาดแผลสด จำแนกรหัส ICD10 เป็น 4 กลุ่ม ตามแนวทาง CPG และใช้วิธีการดึงข้อมูลจากรหัส ICD10 ที่มีการแยกเป็นกลุ่มการใช้ยาปฏิชีวนะในบาดแผลสดตามแนวทาง CPG  โดยจะสามารถแสดงรายละเอียดถึงความสมเหตุผลในการสั่งใช้ยาให้เห็นได้อย่างรวดเร็วชัดเจน ไม่รบกวนเวลาการทำงานของบุคลากรการแพทย์ในการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ซึ่งจะทำให้สามารถกำกับติดตามตัวชี้วัดได้อย่างรวดเร็ว และเพื่อให้ตัวชี้วัดสามารถสะท้อนผลการดำเนินงานตามนโยบายการใช้ยาอย่างสมเหตุผลได้อย่างแท้จริงต่อไป 
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5890
Appears in Collections:คณะเภสัชศาสตร์

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.