Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5883
Title: ปัจจัยความสำเร็จของการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน: กรณีศึกษาบ้านนาต้นจั่น ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
The Key Success Factors of Community-based Tourism Development: A Case Study of Baan Na Ton Chan, Bantuek Sub-district, Srichatchanalai District, Sukhothai Province
Authors: Weeraya Promprasit
วีรญา พรมประสิทธิ์
Rudklaw Pampasit
รัดเกล้า เปรมประสิทธิ์
Naresuan University
Rudklaw Pampasit
รัดเกล้า เปรมประสิทธิ์
rudklawp@nu.ac.th
rudklawp@nu.ac.th
Keywords: ปัจจัยความสำเร็จ การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน บ้านนาต้นจั่น
Success factor Community-based tourism development Baannatonchan
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This study aims to 1) present the key success factors of community-based tourism (CBT) development and 2) to evaluate the achievements of community-based tourism development in Baan Na Ton Chan, Srichatchanalai District, Sukhothai Province. This study employed Mixed Method Research with Convergent Parallel design. For qualitative method, the purposive sampling technique was utilized to choose 16 key informants from the community tourism committees and 5 people from the community committee members. The interview guideline was also employed to collect the data. The quantitative method data were collected from 215 samples using questionnaires. The stratified random sampling method was employed to obtain the sample from 12 tourism groups in the community. In these groups, the 3 main functions of each group are applied to classify the sample made up of 168 artisans, 42 service function persons, and 5 administrative staffs (community committee). It was found that the key success factors of Baan Na Ton Chan’s CBT development were composed of 1) the uniqueness of livelihood, culture, and local wisdom of community, 2) the vision of the community leaders with good governance administration, 3) The relations of kinship in which important for established adherence of regulation and agreement, 4) the enthusiasm of group members in building development capacity, 5) the group operating in a network. It was found that the tourism management of Ban Na Ton Chan had excellent success in all 5 dimensions which were 1) the management of community-based tourism (3.92 points), 2) the good management of economic, social and quality of life (4 points), 3) the conservation and promotion of cultural heritage (3.33 points), 4) the systematic and sustainable management of natural resources and the environment (3.60 points), and 5) the quality of community-based tourism service (3.56 points). However, to promote and develop sustainable Ban Na Ton Chan tourism in the current situation the government should develop an online travel platform for tourists for better, more convenient access. In addition, there should be project development of local communicators and skills (Upskill) for enterprises continuously, focusing especially on technology skills so they can manage online databases by themselves. To manage community tourism industry groups efficiently, effectively and sustainably, the government should conduct a training program for the CBT groups for the establishment of vision, goals, missions, strategies, and action plans that cover all 3 dimensions of the economy, society, and environment.
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอปัจจัยความสำเร็จการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน และเพื่อประเมินความสำเร็จของการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านนาต้นจั่น อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย การวิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Method Research) ด้วยรูปแบบคู่ขนานเข้าหากัน (Convergent Parallel Design) โดยวิธีเชิงคุณภาพได้เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากคณะกรรมการกลุ่มการท่องเที่ยวโดยชุมชน จำนวน 16 คน และคณะกรรมการชุมชน จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แนวทางสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ในส่วนวิธีเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 215 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (stratified random sampling) จากสมาชิกกลุ่มการท่องเที่ยวในชุมชน จำนวน 12 กลุ่ม แยกตามประเภทงาน คือ 1) งานฝีมือ จำนวน 168 คน 2) งานบริการ จำนวน 42 คน และ 3) งานบริหาร (คณะกรรมการหมู่บ้าน) จำนวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่นำมาสู่ความสำเร็จของการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านนาต้นจั่นนั้นประกอบด้วย 1) วิถีชีวิต วัฒนธรรม และภูมิปัญญาที่มีเอกลักษณ์ 2) ผู้นำกลุ่มมีวิสัยทัศน์และการบริหารโดยยึดหลักธรรมมาภิบาล 3) ความสัมพันธ์ในรูปแบบเครือญาติที่ตั้งอยู่บนกฎระเบียบข้อตกลง 4) ความตื่นตัวในการพัฒนาศักยภาพของสมาชิก 5) มีการดำเนินงานในลักษณะของเครือข่าย สำหรับการประเมินความสำเร็จการจัดการท่องเที่ยว พบว่า  การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านนาต้นจั่นมีความสำเร็จอยู่ในระดับดีเยี่ยมทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 การบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน (3.92 คะแนน)  ด้านที่ 2 การจัดการเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตที่ดี (4 คะแนน) ด้านที่ 3 การอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรม (3.33 คะแนน) ด้านที่ 4 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบและยั่งยืน (3.60 คะแนน) และ ด้านที่ 5 คุณภาพการบริการการท่องเที่ยวโดยชุมชน (3.56 คะแนน)  อย่างไรก็ตาม เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวบ้านนาต้นจั่นให้ยั่งยืน และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ภาครัฐควรพัฒนาแพลตฟอร์มท่องเที่ยวออนไลน์เพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้าถึงได้ง่ายและสะดวก นอกจากนี้ ควรมีโครงการพัฒนานักสื่อความหมายท้องถิ่น และทักษะ (Upskill) ให้กับกลุ่มวิสาหกิจอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะทักษะไอทีเพื่อให้กลุ่มสามารถจัดการฐานข้อมูลออนไลน์ให้มีความทันสมัยด้วยตัวเอง และรัฐควรมีโครงการอบรมการจัดทำวิสัยทัศน์ เป้าหมาย พันธกิจ ยุทธศาสตร์ และแผนการดำเนินงานที่ครอบคลุมทั้ง 3 มิติ คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และยั่งยืน
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5883
Appears in Collections:คณะสังคมศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
WeerayaPromprasit.pdf2.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.