Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5866
Title: การพัฒนารูปแบบการประเมินมาตรการควบคุมการบริโภคยาสูบในเยาวชนไทยของคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัด: การประยุกต์ใช้กรอบยุทธศาสตร์ MPOWER 
DEVELOPMENT OF AN EVALUATION MODEL FOR MEASURES OF TOBACCO CONSUMPTION CONTROL IN THAI ADOLESCENCE OF THE PROVINCIAL TOBACCO PRODUCTS CONTROL BOARD:  AN APPLICATION OF THE MPOWER STRATEGIC FRAMEWORK
Authors: Thitipat Jankasem
ฐิติภัทร จันเกษม
Thanach Kanokthet
ธนัช กนกเทศ
Naresuan University
Thanach Kanokthet
ธนัช กนกเทศ
thanachk@nu.ac.th
thanachk@nu.ac.th
Keywords: การประเมินมาตรการควบคุมยาสูบ
คณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัด
เอ็มเพาเวอร์
evaluation of tobacco control measures
the Provincial Tobacco Products Control Board
MPOWER
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objective of this research was to development of an evaluation model for measures of tobacco consumption control in Thai adolescence of the Provincial Tobacco Products Control Board: an application of the MPOWER strategic framework. The research design was a mixed method research with three phases. The first phase was the context of evaluation and factors affecting to score of evaluation for measures of tobacco consumption control in Thai adolescence. The convergent parallel data were collected from 10 the Provincial Tobacco Products Control Board’ in-depth interviews by using thematic analysis and 162 the provincial tobacco products board by the questionnaires. Data were analyzed by using descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis. The second phase was to development of an evaluation model for measures of tobacco consumption control in Thai adolescence by an application of the MPOWER strategic framework. A focus group 9 the Provincial Tobacco Products Control Board, 9 executives and relevant officials from the Division of the Tobacco Products Control Board. The third phase was an evaluation of a model developed by 17 experts from the Delphi technique.     The results revealed that the context of evaluation at present, there is no model or tool to evaluation for measures of tobacco consumption control in Thai adolescence and the Provincial Tobacco Products Control Board concretely. Moreover, Priority of tobacco consumption control, resource sufficiency, communication skills, reflexive monitoring in normalization process theory, and knowledge of tobacco consumption control were statistically significant positive factors affecting to score of evaluation for measures of tobacco consumption control in Thai adolescence while the attitude of tobacco consumption control was a negative factor (p<0.05). The developed evaluation model consisted of 7 parts including: 1) the goal of the evaluation 2) components of evaluation and indicators, there are 7 components, 47 indicators 3) criteria 4) methods 5) evaluator 6) time and 7) feedback. The results of the Delphi technique were 7 parts with 55 questions showed that the appropriateness of model was at high and highest level for all items (Mdn = 3.50-5.00), there were the consistent for all items (IQR = 0-1.00), and the feasibility of the implementation was at high and highest level for all items (x̄ = 3.50-5.00).
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการประเมินมาตรการควบคุมการบริโภคยาสูบในเยาวชนไทยของคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัด โดยการประยุกต์ใช้กรอบยุทธศาสตร์ MPOWER ซึ่งใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 1) ศึกษาบริบทของการประเมิน และปัจจัยที่ส่งผลต่อคะแนนการประเมินมาตรการควบคุมการบริโภคยาสูบในเยาวชนไทย ผู้ให้ข้อมูล คือ คณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัด จากการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 10 คน ใช้การวิเคราะห์เชิงประเด็น และตอบแบบสอบถาม จำนวน 162 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นบันได 2) พัฒนารูปแบบการประเมินมาตรการควบคุมการบริโภคยาสูบในเยาวชนไทย โดยการประยุกต์ใช้กรอบยุทธศาสตร์ MPOWER จากการสนทนากลุ่มคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัด จำนวน 9 คน ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจากกองคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ จำนวน 9 คน และ 3) ประเมินรูปแบบการประเมินมาตรการควบคุมการบริโภคยาสูบในเยาวชนไทยที่พัฒนาขึ้น จากการทำเทคนิคเดลฟาย โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน ผลการวิจัยพบว่า บริบทของการประเมินในปัจจุบันยังไม่มีรูปแบบหรือเครื่องมือในการประเมินมาตรการควบคุมการบริโภคยาสูบในเยาวชนไทยและการดำเนินมาตรการของคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัดอย่างเป็นรูปธรรม โดยปัจจัยที่ส่งผลทางบวกต่อคะแนนการประเมินมาตรการควบคุมการบริโภคยาสูบในเยาวชนไทยของคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ระดับความสำคัญของการดำเนินงานควบคุมการบริโภคยาสูบ ความเพียงพอของทรัพยากร ทักษะการปฏิบัติงานด้านการสื่อสาร การบูรณาการมาตรการเข้าสู่ระบบงานตามปกติด้านการติดตามแบบสะท้อนกลับ และความรู้ด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบ ส่วนทัศนคติในการทำงานด้านยาสูบ จะส่งผลทางลบ ซึ่งรูปแบบการประเมินมาตรการควบคุมการบริโภคยาสูบในเยาวชนไทยที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 7 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 เป้าหมายของการประเมิน ส่วนที่ 2 องค์ประกอบของการประเมินและตัวบ่งชี้ มี 7 องค์ประกอบ 47 ตัวบ่งชี้ ส่วนที่ 3 เกณฑ์ในการประเมิน ส่วนที่ 4 วิธีการประเมิน ส่วนที่ 5 ผู้ทำการประเมิน ส่วนที่ 6 ระยะเวลาในการประเมิน และส่วนที่ 7 การให้ข้อมูลป้อนกลับ จากผลการทำเทคนิคเดลฟาย องค์ประกอบของรูปแบบทั้ง 7 ส่วน 55 ข้อคำถาม พบว่า ทุกข้อมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและมากที่สุด (Mdn = 3.50-5.00) มีความสอดคล้องกันทุกข้อ (IQR = 0-1.00) และทุกข้อมีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติในระดับมากและมากที่สุด (x̄ = 3.50-5.00)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5866
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ThitipatJankasem.pdf3.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.