Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5865
Title: รูปแบบการลดความเครียดในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดพิษณุโลก
A Stress Reduction model among high school students employed by community participation  in Phitsanulok Province 
Authors: Wanna Wicheansun
วรรณา วิเชียรสรรค์
Archin Songthap
อาจินต์ สงทับ
Naresuan University
Archin Songthap
อาจินต์ สงทับ
archins@nu.ac.th
archins@nu.ac.th
Keywords: ความเครียด
รูปแบบการลดความเครียด
นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
การมีส่วนร่วมของชุมชน
Stress
Reduction mode
High school students
Community participation
Issue Date: 2566
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research was a mixed methodology design which aimed to study the stress reduction model in high school students by community participation in Phitsanilok province. The research was divided into 3 phases: including; 1) studying causes and factors affecting stress in high school students, 2) creating a model of stress reduction for high school students, and 3) evaluating stress reduction models in high school students. The results indicated that 75.10 % of high school students had stress at a moderate level and over. The causes and factors affecting stress among high school students including female, inadequate money for spending, resilience, social support,  a lot of homework, preparation of the exams, concerning about the future, on-line learning, conflicts with the family, lacking of warmth from the family, separated parents, not living with parents, family did not open to listen to the problems, having a quarrel with his or her friend/lover, being bullied by friends, the needs for counseling when having stress. The stress reduction models in high school students consisted of 3 components; 1) creating behaviors for stress prevention, 2) social support, and 3) resilience. After the model was implemented to evaluate the effect of stress reduction, it was found that mean scores of stress prevention behaviors, social support and resilience in the experimental group were higher than before intervention and higher than the control group statistically significant. Further, proportion of stress in the experimental group was lower than before intervention and lower than the control group significantly (p-value < 0.05)
การวิจัยครั้งนี้ เป็นรูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการลดความเครียดในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนจังหวัดพิษณุโลก แบ่งระยะการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ศึกษาสาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดความเครียดในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) สร้างรูปแบบการลดความเครียดในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 3) ประเมินผลรูปแบบการลดความเครียดในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายมีความเครียดระดับปานกลางขึ้นไปร้อยละ 75.10 สาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดความเครียด ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้แก่ เพศหญิง การใช้จ่ายที่ไม่เพียงพอ  ความแข็งแกร่งในชีวิต การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม การบ้านเยอะ การเตรียมตัวสอบ รู้สึกกังวลอนาคต การเรียนออนไลน์ การมีปัญหาขัดแย้งกับครอบครัว  ขาดความอบอุ่นจากครอบครัว  พ่อแม่แยกทางกัน ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ ครอบครัวไม่เปิดใจรับฟังปัญหา การมีปัญหาทะเลาะกับเพื่อน/คนรัก  ถูกเพื่อนกลั่นแกล้ง และความต้องการได้รับคำปรึกษาหากเกิดความเครียด รูปแบบการลดความเครียดในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก คือ 1) การสร้างพฤติกรรมการป้องกันความเครียด 2) แรงสนับสนุนทางสังคม 3) ความแข็งแกร่งในชีวิต หลังจากการนำรูปแบบการลดความเครียดในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายไปใช้เพื่อประเมินผล พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันความเครียด แรงสนับสนุนทางสังคม และความแข็งแกร่งในชีวิต ในกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองมีระดับความเครียดน้อยกว่าก่อนการทดลองและน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p-value < 0.05)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5865
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
WannaWicheasun.pdf3.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.