Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5864
Title: โปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร
MOTIVATIONAL ENHANCEMENT PROGRAM FOR DENGUE FEVER PREVENTION AND CONTROL BEHAVIOR OF PEOPLE IN THUNGYAI SUB-DISTRICT, PHOPRATHAPCHANG DISTRICT, PHICHIT PROVINCE.
Authors: Ketsiri Chantanusorn
เกตุศิริ จันทนูศร
Chakkraphan Phetphum
จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ
Naresuan University
Chakkraphan Phetphum
จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ
chakgarphanp@nu.ac.th
chakgarphanp@nu.ac.th
Keywords: ไข้เลือดออก
โปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจ
พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
แรงจูงใจ
Dengue hemorrhagic fever
Motivation program
Dengue hemorrhagic fever prevention and control behaviors
Motivation
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This study was quasi-experimental research. The two groups, pretest - posttest measurement. Which it’s objective of the effect of an incentive program on Dengue hemorrhagic fever prevention and control behaviors of people in Thung Yai Subdistrict, Pho Prathap Chang District, Phichit Province. There were 98 samples, divided into the experimental group 49 persons and the comparison group 49 persons. The experimental group was given a motivation-enhancing program consisting of 6 activities that told stories about Dengue hemorrhagic fever, model activity, reflection activity, dream image activity, skill training activity, and mosquito larvae exploration activities. The duration of intervention programed was 3 weeks and the research period was 16 weeks. Data was collected by questionnaires, before the experimental and after the experimental at 4, 8, 12, and 16 weeks. Data was analyzed by statistics, percentages, means and standard deviations. The means differences were compared by an independent t-test and repeated variance measures were analyzed by Repeated Measure ANOVA.   The results showed that after the 4, 8, 12, and 16 weeks of the experiment. The experimental group had the mean scores of knowledge of Dengue hemorrhagic fever, perceived severity of Dengue hemorrhagic fever, perceived risk of Dengue hemorrhagic fever, expectations of effectiveness in dengue prevention and control, expectations of their own ability to prevent and control Dengue hemorrhagic fever and behaviors for prevention and control of Dengue hemorrhagic fever more than the comparison group and increased before the experiment (p < 0.05). The percentage of surveyed containers that found mosquito larvae (Container Index: CI) in the experimental group was lower than the comparison group and decreased before the experiment (p < 0.05).  From the results of this research, it is suggested that the public health department should implement an intensive incentive plan to implement dengue fever prevention and control.
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร มีกลุ่มตัวอย่าง 98 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 49 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 49 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจ ประกอบด้วย 6 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมเล่าเรื่องไข้เลือดออก กิจกรรมบุคคลต้นแบบ กิจกรรมภาพสะท้อน กิจกรรมภาพฝัน กิจกรรมฝึกทักษะ และกิจกรรมฝึกสำรวจลูกน้ำยุงลาย ซึ่งใช้ระยะเวลาในการทำกิจกรรมเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ระยะดำเนินการวิจัย 16 สัปดาห์  เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 สัปดาห์ที่ 8 สัปดาห์ที่ 12 และสัปดาห์ที่16 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ Independent t-test และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำด้วยสถิติ Repeated Measure ANOVA           ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 สัปดาห์ที่ 8 สัปดาห์ที่ 12 และสัปดาห์ที่ 16  กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้โรคไข้เลือดออก การรับรู้ความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก ความคาดหวังในประสิทธิผลในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ความคาดหวังในความสามารถของตนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ และสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนค่าร้อยละของภาชนะที่สำรวจพบลูกน้ำยุงลาย กลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ และต่ำกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัยครั้งนี้จึงเสนอให้หน่วยงานด้านสาธารณสุขนำโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5864
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
KetsiriChantanusorn.pdf2.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.