Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5792
Title: การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์มะขามเปรี้ยวยักษ์ : กรณีศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์
Value chain analysis on giant tamarind products : case study Phetchabun Province
Authors: Sirinthip Phonprasert
ศิรินทิพย์ ผลประเสริฐ
Bhagaporn Wattanadumrong
ภคพร วัฒนดำรงค์
Naresuan University
Bhagaporn Wattanadumrong
ภคพร วัฒนดำรงค์
Bhagaporn@nu.ac.th
Bhagaporn@nu.ac.th
Keywords: ผลิตภัณฑ์มะขามเปรี้ยวยักษ์
ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์
ห่วงโซ่คุณค่า
การผลิตแบบลีน
Giant Tamrind Product
Economic Cost
Value Chain
Lean Manufacturing
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The study of value chain analysis of giant sour tamarind products: This case study of Phetchabun province aims to study costs and returns of giant sour tamarind products.  To study the value chain of giant sour tamarind products and study how to reduce waste in the production process of giant sour tamarind products with lean concepts. The population used in this study was a group of giant sour tamarind farmers. and 138 giant sour tamarind growers in Phetchabun province. The data were collected by in-depth interviews using structured interviews, the qualitative data analysis It is an inductive summary analysis and a quantitative analysis to improve the production process by using the value stream map, to examine the production efficiency of giant sour tamarind products. The study found that the economic cost of processing giant sour tamarind is 1,207,431 baht, selling and administrative expenses were 157,950 baht. The return on investment in processing giant sour tamarind has a present value (NPV) throughout the 5-year project life, equal to 689,234 baht. The effective rate of return (IRR) is 38.77 percent, which was higher than the loan interest rate set by the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives at 6.5 percent per year, and the payback period (PB) is 2 years and 8 months. Summary overall, it was an attractive business to invest in because it offers more real returns than the loan interest rate and the payback period within the project life. From the study of main activities and supporting activities according to the concept of giant sour tamarind product value chain, consisting of 5 main activities, namely 1) raw material import 2) production and operation 3) transportation 4) marketing and sales 5 ) customer service and 4 supporting activities, namely 1) infrastructure 2) human resource management 3) technology development 4) procurement, which adds value in 5 main activities and 4 supporting activities in the value chain to help add value to every activity in the value chain of giant sour tamarind products. The results of this research were useful for the development of operational planning for the group of housewives who produce giant sour tamarind products to reduce costs and production to meet the needs of customers. The analysis of the current status of the production of giant sour tamarind products to indicates the waste in the system, which is determined by the type of waste, i.e. the presence of unnecessary process waste and waiting and from the development of lean processes. It was found that the total process time was reduced from 121,819 minutes to 121,762 minutes and manpower was reduced from 10 people to 8 people as very well.  
การศึกษาการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์มะขามเปรี้ยวยักษ์ : กรณีศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของผลิตภัณฑ์มะขามเปรี้ยวยักษ์ ศึกษาห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์มะขามเปรี้ยวยักษ์และศึกษาการลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์มะขามเปรี้ยวยักษ์ด้วยแนวคิดลีน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมะขามเปรี้ยวยักษ์ และเกษตรกรผู้แปรรูปมะขามเปรี้ยวยักษ์ในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 138 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึกโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการวิเคราะห์สรุปอุปนัยและการวิเคราะห์เชิงปริมาณ เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตด้วยการใช้แผนผังสายธารคุณค่า ในการตรวจสอบประสิทธิภาพการผลิตของผลิตภัณฑ์มะขามเปรี้ยวยักษ์ ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของการแปรรูปมะขามเปรี้ยวยักษ์ เท่ากับ 1,207,431 บาท ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เท่ากับ 157,950 บาท สำหรับผลตอบแทนจากการลงทุนแปรรูปมะขามเปรี้ยวยักษ์มีมูลค่าปัจจุบัน (NPV) ตลอดอายุโครงการ 5 ปี เท่ากับ 689,234 บาท และมีอัตราผลตอบแทนที่แท้จริง (IRR) เท่ากับร้อยละ 38.77 ซึ่งมีค่าสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่กำหนดไว้ร้อยละ 6.5 ต่อปี และใช้ระยะเวลาคืนทุน (PB) 2 ปี 8 เดือน สรุปภาพรวมเป็นการทำธุรกิจที่น่าลงทุนเพราะให้ผลตอบแทนที่แท้จริงมากกว่าอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมและระยะเวลาคืนทุนภายในอายุโครงการ จากการศึกษากิจกรรมหลักและกิจกรรมสนับสนุนตามแนวคิดห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์มะขามเปรี้ยวยักษ์ ประกอบด้วย กิจกรรมหลัก 5 กิจกรรม ได้แก่ 1) การนำเข้าวัตถุดิบ 2) การผลิตและปฏิบัติการ 3) การขนส่ง 4) การตลาดและการขาย 5) การบริการลูกค้า และกิจกรรมสนับสนุน 4 กิจกรรม ได้แก่ 1) โครงสร้างพื้นฐาน 2) การบริหารทรัพยากรบุคคล 3) การพัฒนาเทคโนโลยี 4) การจัดซื้อ ซึ่งการเพิ่มคุณค่าใน 5 กิจกรรมหลักและ 4 กิจรรมสนับสนุนในห่วงโซ่คุณค่า ช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับทุกกิจกรรมในห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์มะขามเปรี้ยวยักษ์ ซึ่งผลที่ได้จากการวิจัยเป็นประโยชน์ต่อแนวทางการพัฒนาการวางแผนดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านผลิตภัณฑ์มะขามเปรี้ยวยักษ์ ในการลดต้นทุนและการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ผลการวิเคราะห์สถานะปัจจุบันของการผลิตผลิตภัณฑ์มะขามเปรี้ยวยักษ์ แสดงให้เห็นความสูญเปล่าที่อยู่ในระบบโดยจะกำหนดตามประเภทของความสูญเปล่า ได้แก่ การมีของเสียกระบวนการที่ไม่จำเป็น และการรอคอย และจากการพัฒนากระบวนการใช้แนวคิดลีน พบว่าสามารถลดเวลารวมของทั้งกระบวนการจาก 121,819 นาที เหลือ 121,762 นาที และลดกำลังคนจาก 10 คน เหลือ 8 คน จะเห็นได้ว่าการประยุกต์ใช้การจัดการผังสายธารคุณค่าในอุตสาหกรรมการเกษตรทำให้เกิดประสิทธิภาพของกระบวนการเพิ่มขึ้นและใช้ได้เป็นอย่างดี  
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5792
Appears in Collections:คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SirinthipPhonprasert.pdf2.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.