Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5767
Title: ประสิทธิผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการปฏิบัติตามบทบาทเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร
The effectiveness of an application of self-efficacy theory and social support on the role in dengue prevention and control among village health volunteers in Mueang Phichit District, Phichit Province
Authors: Kassarin Rukongprasert
เกศรินทร์ รู้คงประเสริฐ
Worawit Intrchom
วรวิทย์ อินทร์ชม
Naresuan University
Worawit Intrchom
วรวิทย์ อินทร์ชม
worawiti@nu.ac.th
worawiti@nu.ac.th
Keywords: บทบาทในการป้องกันและควบคุมไข้เลือดออก
การรับรู้ความสามารถของตนเอง
แรงสนับสนุนทางสังคม
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
Role in dengue fever prevention and control
Self-efficacy
Social support
Village health volunteers
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This quasi-experimental research aimed to study the effectiveness of the application of self-efficacy theory and social support on the role in dengue prevention and control of village health volunteers in Mueang Phichit district, Phichit province. The purposive sampling of 54 village health volunteers was divided into an experimental group and a comparison group, with 27 volunteers on each group. The program contained the activities applying the theory of self-efficacy with social support and had been run for the experimental group for 8 weeks. Data analysis proceeded with descriptive statistics (percentage, mean, and standard deviation) and inferential statistics (Paired sample t-test and Independent sample t-test) The results indicated that after the experiment in the experimental group, the average scores of self-efficacy on the role in the prevention and control of dengue fever, social support, and the role of health volunteers for dengue prevention and control of the experimental group were higher than the untreated with statistically significantly at the p-value of 0.05 (t = -10.45, t = -10.15, t = -2.87, t = -8.13, respectively) and higher than the comparison group with statistically significantly at the p-value of 0.05 (t = 10.59, t = 6.18, t = 2.46, t = 7.80, respectively). After the experiment, the Mosquito larvae index was decreased, and became lower than the comparison group. Moreover, patient with the dengue virus was not found in the community. From the study, it was shown that the program applying the theory of self-efficacy with social support resulted in a better change in the role of village health volunteers and proved the effectiveness in preventing and controlling dengue fever. However, the public health officers in area can apply this program in promoting the prevention and control of dengue fever activities based on the context of each area.
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการปฏิบัติตามบทบาทเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร จำนวน 54 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 27 คน โปรแกรมประกอบด้วยการจัดกิจกรรมที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมให้แก่กลุ่มทดลอง ระยะเวลาดำเนินการรวม 8 สัปดาห์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน เพื่อใช้เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนในด้านต่างๆ โดยใช้สถิติ Paired sample t-test และสถิติ Independent sample t-test ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยคะแนน การรับรู้ความสามารถของตนเองต่อบทบาทในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติต่อบทบาทในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก แรงสนับสนุนทางสังคม และการปฏิบัติตนตามบทบาท อสม.เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t = -10.45, t = -10.15, t = -2.87, t = -8.13 ตามลำดับ) และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t = 10.59, t = 6.18, t = 2.46, t = 7.80 ตามลำดับ) และค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายลดลงกว่าก่อนการทดลองและลดลงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ และไม่พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน จากผลการศึกษา แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติตามบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ดีขึ้นและก่อให้เกิดประสิทธิผลต่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่สามารถนำโปรแกรมนี้ไปใช้ในการดำเนินงานส่งเสริมด้านป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ โดยประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ตามความเหมาะสม
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5767
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
KassarinRukongprasert.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.