Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5739
Title: การพัฒนาระบบและกลไกในการจัดการและใช้ประโยชน์จากขยะอย่างยั่งยืนของโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย
DEVELOPMENT OF SYSTEM AND MECHANISM FOR SUSTAINABLE SOLD WASTE MANAGEMENT AND UTILIZATION OF SECONDARY SCHOOL IN THAILAND
Authors: Nattapon Putakul
ณัฐพล ภู่ตระกูล
Dondej Tungtakanpoung
ดลเดช ตั้งตระการพงษ์
Naresuan University
Dondej Tungtakanpoung
ดลเดช ตั้งตระการพงษ์
dondejt@nu.ac.th
dondejt@nu.ac.th
Keywords: โรงเรียนปลอดขยะ
zero waste school
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The problem of solid waste management has increased from 26.2% in 2017 to 31.3% in 2021, although the rate of waste recycling has tended to improve during the past year. But there is still a lot of waste that has not yet been put to good use or properly eliminated. The school is a place where many different types of waste are produced every day. Because within the school there are various activities like a social simulation. This requires schools to have effective waste management methods. The current popular principle is the 3R principle, which is an effective principle. But the current problem is the lack of cooperation and practitioners in the school and there is no system and mechanism to utilize such waste. This research has developed a system and mechanism for sustainable waste management and utilization of secondary schools. There are a total of 5 steps, consisting of step 1, selecting personnel called the participatory waste management committee. Consists of 23 members from 4 parts: 1) executive representatives at least 1 person 2) Teacher representatives at least 10 people 3) Student representatives at least 10 people 4) Parent network representatives at least 2 people. Step 2 Record information in the quality management cycle table. According to the practical concept, there are 3 parts: Part 1 Specifies topic framework, Part 2 Methods of data collection, Part 3 Specifies improvement options Step 3 Proposes the project to the school committee for approval and operating the project According to the action plan made in step 2, step 4, the committee examines the project implementation from the implementation of the action plan and assess if the implementation is as planned. Step 5: Improving the project implementation from the results obtained from the audit. In conducting the research, the system and mechanism development model for sustainable waste management and utilization of secondary schools was applied and selected for experiments at schools. Khao Thong Pittayakom Phayuha Khiri District Nakhon Sawan Province in which the school is a small secondary school with 297 students, 27 teachers, and educational personnel, it was found that from the implementation of all 5 steps, resulting in the 2017-2019 academic year, it appears that the waste is reduced in the 2016 academic year from the amount. Garbage was 223.12 ± 8.53 kg/week the average amount of waste left per week (x) was 129.75 ± 8.26 kg/week in the academic year 2017. In the academic year 2018, the average amount of waste per week (x) was 111.82 ± 27.54 kg/week. And in the academic year of the academic year 2019, the average amount of waste per week (x) is 115.91 ± 16.35 kg/week. It can be said that when the Khao Thong Pittayakhom School project is completed, it can actually and sustainably reduce the amount of waste.
ปัญหาการกำจัดขยะมูลฝอยที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นกว่า จาก 26.2 % ในปี 2560 เป็น 31.3 % ในปี 2564 แม้ว่าอัตราการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่มีแนวโน้มดีขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา แต่ยังมีขยะอีกจำนวนมากที่ยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ หรือกำจัดอย่างถูกวิธี โรงเรียนจัดเป็นสถานที่ที่มีการผลิตขยะหลากหลายประเภทต่อวันจำนวนมากสถานที่หนึ่ง เพราะภายในโรงเรียนมีกิจกรรมต่างๆเสมือนการจำลองสังคมขึ้นมา ทำให้โรงเรียนต้องมีวิธีการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ โดยหลักการที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันคือหลักการ 3R ซึ่งเป็นหลักการที่มีประสิทธิภาพ แต่ปัญหาที่พบในปัจจุบันคือยังขาดความร่วมมือและผู้ปฏิบัติในโรงเรียน และยังไม่มีระบบและกลไกที่ใช้ในการใช้ประโยชน์จากขยะดังกล่าว งานวิจัยได้พัฒนาระบบและกลไกในการจัดการและใช้ประโยชน์จากขยะอย่างยั่งยืนของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา โดยมีขั้นตอนทั้งหมด 5 ขั้นตอนประกอบด้วยขั้นตอนที่ 1 คัดเลือกบุคลากรเรียกว่าคณะกรรมการบริหารการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 23 คน มาจาก 4 ส่วน คือ 1) ตัวแทนผู้บริหาร จำนวนอย่างน้อย 1 คน 2) ตัวแทนครู  จำนวนอย่างน้อย 10 คน 3) ตัวแทนนักเรียน จำนวนอย่างน้อย 10 คน  4) ตัวแทนเครือข่ายผู้ปกครอง จำนวนอย่างน้อย 2 คน ขั้นตอนที่ 2 บันทึกข้อมูลในตารางวงจรบริหารงานคุณภาพ ตามแนวคิดการปฏิบัติ 3 ส่วน ส่วนที่1 กำหนดกรอบหัวข้อ ส่วนที่ 2 วิธีการเก็บข้อมูล ส่วนที่ 3 กำหนดทางเลือกการปรับปรุง ขั้นตอนที่ 3 เสนอโครงการให้คณะกรรมการสถานศึกษาอนุมัติ และปฏิบัติการดำเนินโครงการ ตามแผนการดำเนินงานที่ทำไว้ ในขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนที่ 4 คณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินโครงการจากการปฏิบัติตามแผนการดำเนินงานแล้ว และประเมินว่าการดำเนินการตามแผนที่วางไว้ ขั้นตอนที่ 5 การปรับปรุงการดำเนินโครงการจากผลลัพธ์ที่ได้จากการตรวจสอบ   ดำเนินงานวิจัยได้นำรูปแบบการพัฒนาระบบและกลไกในการจัดการและใช้ประโยชน์จากขยะอย่างยั่งยืนของโรงเรียนมัธยมศึกษาไปทดลองใช้และเลือกทำการทดลองที่โรงเรียนเขาทองพิทยาคม อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งโรงเรียนดังกล่าวเป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาขนาดเล็ก มีนักเรียน 297 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 27 คน โดยพบว่าจากการดำเนินงานทั้ง 5 ขั้นตอนส่งผลให้ในปีการศึกษา 2560- 2562 ปรากฏว่าขยะลดลงปีการศึกษา 2559 จากปริมาณขยะ 223.12 ± 8.53 กิโลกรัม/สัปดาห์ เหลือปริมาณขยะต่อสัปดาห์เฉลี่ย(x) 129.75 ± 8.26 กิโลกรัม/สัปดาห์ ปีการศึกษาปี 2560 ในปีการศึกษาปี 2561 ปริมาณขยะต่อสัปดาห์เฉลี่ย(x) 111.82 ± 27.54 กิโลกรัม/สัปดาห์ และในปีการศึกษาปีการศึกษา 2562 เหลือปริมาณขยะต่อสัปดาห์เฉลี่ย(x) 115.91 ± 16.35  กิโลกรัม/สัปดาห์ ซึ่งวสามารถกล่าวได้ว่าเมื่อเสร็จสิ้นโครงการโรงเรียนเขาทองพิทยาคมสามารถลดปริมาณขยะได้จริงและยั่งยืน
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5739
Appears in Collections:คณะวิศวกรรมศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
NattaponPutakul.pdf2.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.