Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5734
Title: การศึกษาความดึงดูดใจของพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1
A Study of Local Wisdom Museum Attractiveness for Cultural Tourism Destination Development in the Lower Northern One
Authors: Nuttapuch Worrakulwattana
ณัฏฐพัชร์ วรกุลวรรธนะ
Siripen Dabphet
ศิริเพ็ญ ดาบเพชร
Naresuan University
Siripen Dabphet
ศิริเพ็ญ ดาบเพชร
siripend@nu.ac.th
siripend@nu.ac.th
Keywords: พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, องค์ประกอบของพิพิธภัณฑ์, ความดึงดูดใจ
Local Wisdom museum attractiveness importance-performance analysis
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This research aims to study the attractiveness of local wisdom museum components from the tourists’ perspectives and to provide a guideline to create the attractiveness of local wisdom museums in the lower northern 1. A quantitative research design was used. A survey questionnaire of 400 Thai tourists who visited local wisdom museums in area were collected. Statistical analysis was employed as a technique to examination of tourist demographic and importance-performance analysis was used to examine the attractiveness of local wisdom museum components The results showed that the attractiveness of local wisdom museums can be divided into 2 levels: highest level of attractiveness which are objects in the museums and exhibitions and high level of attractiveness which are location of museums, reception/ticket office, souvenir area and general facilities. The IPA grids indicated the main factors that need to be improved are display and exhibition especially need to encourage tourists to get involve with the museums. Additionally, exhibitions in the local wisdom museums need to stimulate discussion with family and friends.
          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความดึงดูดใจขององค์ประกอบพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากมุมมองนักท่องเที่ยว และเพื่อเสนอแนวทางในการสร้างความดึงดูดใจของพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสอบถามความคิดเห็นนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวในพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นจำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายลักษณะประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยว และการวิเคราะห์ความสำคัญและประสิทธิผลเพื่ออธิบายความดึงดูดใจของพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น             ผลการวิจัยพบว่า พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 มีความดึงดูดใจต่อนักท่องเที่ยวแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ องค์ประกอบที่มีความดึงดูดใจมากที่สุด ได้แก่ ด้านสิ่งของที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ และด้านการจัดแสดงนิทรรศการต่างๆ ในพิพิธภัณฑ์ และองค์ประกอบที่มีความดึงดูดใจในระดับมาก ได้แก่ ด้านสถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ ด้านแผนกต้อนรับ/ออกตั๋ว ด้านพื้นที่ขายของที่ระลึก และด้านปัจจัยอื่นๆ ที่สามารถอำนวยความสะดวก ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงความสำคัญและประสิทธิผลความดึงดูดใจของพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น พบว่า พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ควรเร่งพัฒนาและปรับปรุงด้านการจัดแสดงนิทรรศการต่างๆ ในพิพิธภัณฑ์ โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในกิจกรรมกับทางพิพิธภัณฑ์เพิ่มมากขึ้น และการจัดแสดงนิทรรศการต่างๆ ที่เปิดโอกาสให้ครอบครัวและเพื่อนสามารถพูดคุยเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์และสิ่งของที่ใช้จัดแสดงได้
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5734
Appears in Collections:คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
NuttapuchWorrakulwattana.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.