Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5717
Title: การสำรวจประสบการณ์การเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และวิธีการแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำด้วยตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา
SURVEY OF HYPOGLYCEMIC EXPERIENCE AND SELF-MANAGEMENT OF HYPOGLYCEMIA IN PATIENTS WITH DIABETES MELLITUS AT THE DIABETES CLINIC, BUDDHA SOTHORN HOSPITAL, CHACHOENGSAO PROVINCE
Authors: Boonyaporn Kleaubsamran
บุณยาพร เคลือบสำราญ
Anjana Fuangchan
อัลจนา เฟื่องจันทร์
Naresuan University
Anjana Fuangchan
อัลจนา เฟื่องจันทร์
anjanaf@nu.ac.th
anjanaf@nu.ac.th
Keywords: ความชุก, ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ, การแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำด้วยตนเอง,โรคเบาหวาน
Prevalence Hypoglycemia Self-management Diabetes mellitus
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: Background and objectives: Hypoglycemia is a complication. It is common in people with diabetes and has an impact on patients. The objectives of this study were 1) to explore the prevalence of hypoglycemic experiences among diabetes patients 2) to characterize self-management of hypoglycemia 3) to determine factors associated with experiences of hypoglycemia 4) to assess the proportion of diabetes patients who adhered to the recommendation of self-management of hypoglycemia in clinical practice guideline for diabetes 2017 and 5) to define factors associated the quantities of carbohydrate used for self-management of hypoglycemia Method : The research design was a cross-sectional descriptive study. Three hundred and seventeen patients were enrolled during a routinely scheduled follow up at diabetes clinic of Buddha Sothorn Hospital. Data was collected using an electronic medical records and a structure interviews. Patients were interviewed about their hypoglycemic experiences and self-management of hypoglycemia in last 6 months. Descriptive statistics was used to analyze patient demographics. The association was determined by the Chi-square test. Statistical significance was set at P<0.05. Results: Average age of patients was 60.6±13.4 years. The majority of patients had type 2 diabetes 97.2% (n=308), and the median diabetes duration was 14.3±9.5 years. Over half of the diabetic patients (51.1%) received in combination therapy with insulin and oral antidiabetic agents. The prevalence of hypoglycemia experiences in patients within the previous six months was 52.1% (n=165). 77.6% (n=128) of the patients had probable symptomatic hypoglycemia, while 6.0% (n=9) of patients had severe hypoglycemia within the past one year. The most common symptom in hypoglycemic episode were palpitation 77.6% (n=128). Factors associated with the experience of hypoglycemia within 6 months were the hypoglycemic regimens (P = 0.005), and self-monitoring of blood glucose (P = 0.011). Among patients who had hypoglycemia experiences in past six months (n=165), 91.5% (n=151) used food or beverages for initial treatment of hypoglycemia. Simple carbohydrate tied as the most common initial treatment 80.8% (n=122). Quantities of carbohydrate falling within 15–30 g were reported by 58.3% (n=88). Only 25.2% (n=38) needed following-up treatment. There was only 5.5% (n=9) who adhered to the recommendation of self-management of hypoglycemia in clinical practice guideline for diabetes 2017 due to lack of blood glucose monitoring before and after treat with carbohydrate. Factors associated with the amount of carbohydrates used for self-management of hypoglycemia in diabetic patients was age (P = 0.035). Conclusion: Prevalence of hypoglycemia experiences in diabetes patients at the diabetes clinic of Buddha Sothorn Hospital was high. Most patients choose to use food or beverages to correct hypoglycemia. However, the proportion of patients who adhered to self-management hypoglycemia recommendation was low. Factors associated to hypoglycemia experiences were the hypoglycemic regimens and self-monitoring of blood glucose. Factor associated to amount of carbohydrates used for self-management of hypoglycemia in diabetic patients was age.
หลักการและวัตถุประสงค์: ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นภาวะแทรกซ้อน พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน และส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ 1) สำรวจความชุกของประสบการณ์การเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของผู้ป่วยเบาหวาน 2) สำรวจวิธีการแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำด้วยตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน 3) หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ป่วยเบาหวานกับประสบการณ์การเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของผู้ป่วยเบาหวาน 4) หาสัดส่วนผู้ป่วยเบาหวานที่สามารถแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ตามแนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560 และ 5) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ป่วยเบาหวานกับปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ใช้แก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของผู้ป่วยเบาหวาน วิธีการศึกษา: รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง การศึกษาเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนและแบบสัมภาษณ์ประสบการณ์การเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาของผู้ป่วยเบาหวาน คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลพุทธโสธร จำนวน 317 ราย ข้อมูลส่วนบุคคลวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การหาความสัมพันธ์ใช้ Chi-square test โดยการศึกษากำหนดระดับนัยสำคัญไว้ที่ 0.05 ผลการศึกษา: ผู้ป่วยอายุเฉลี่ย 60.6 ± 13.4 ปี ส่วนใหญ่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 (ร้อยละ 97.2, n=308) ระยะเวลาเป็นเบาหวานเฉลี่ย 14.3 ± 9.5 ปี และส่วนใหญ่ได้รับการรักษาด้วยยาฉีดอินซูลินร่วมยาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดชนิดรับประทาน (ร้อยละ 51.1) ความชุกของประสบการณ์การเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำภายในระยะเวลา 6 เดือน คิดเป็นร้อยละ 52.1 (n=165) ผู้ป่วยร้อยละ 77.6 (n=128) เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำแบบมีอาการแต่ไม่ทราบระดับน้ำตาลในเลือดขณะเกิดอาการ และ ร้อยละ 6.0 (n=19)  เคยเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระดับรุนแรงภายใน 1 ปีที่ผ่านมา อาการน้ำตาลในเลือดต่ำที่พบมากที่สุด คือ ใจสั่น (ร้อยละ 77.6, n=128)  ปัจจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับประสบการณ์การเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำภายในระยะ 6 เดือน ได้แก่ รูปแบบการใช้ยาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (P = 0.005) และการเจาะน้ำตาลปลายนิ้วด้วยตนเอง  (P = 0.011)                                                                                     ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีประสบการณ์การเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจำนวน 165 ราย พบว่า ผู้ป่วยร้อยละ 91.5 (n=151) แก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระยะเริ่มแรกด้วยอาหารหรือเครื่องดื่ม โดยคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวถูกนำมาใช้มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 80.8 (n=122) และร้อยละ 58.3 (n=88) ใช้ปริมาณคาร์โบไฮเดรต 15-30 กรัม ทั้งนี้มีผู้ป่วยเพียงร้อยละ 25.2 (n=38) ที่ต้องแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำซ้ำในระยะติดตาม อย่างไรก็ตามผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีการเจาะระดับน้ำตาลปลายนิ้ว เพื่อติดตามระดับน้ำตาลในเลือดทั้งก่อนและหลังการแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ทำให้สัดส่วนผู้ป่วยเบาหวานที่สามารถแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำด้วยตนเองได้ตามแนวทางแนะนำพบเพียงร้อยละ 5.5 (n=9) ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ใช้ในการแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ได้แก่ อายุ (P=0.035) สรุป: ความชุกของประสบการณ์การเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของผู้ป่วยเบาหวานในคลินิกเบาหวานของโรงพยาบาลพุทธโสธร ยังอยู่ในระดับที่สูง ผู้ป่วยส่วนใหญ่เลือกใช้เครื่องดื่มหรืออาหารในการแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ แต่สัดส่วนของผู้ป่วยที่สามารถแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ตามแนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560 แนะนำยังอยู่ในระดับที่ต่ำ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับประสบการณ์การเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ได้แก่ รูปแบบการใช้ยาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและการเจาะน้ำตาลปลายนิ้วด้วยตนเอง ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ใช้ในการแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ได้แก่ อายุ
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5717
Appears in Collections:คณะเภสัชศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
BoonyapornKleaubsamran.pdf10.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.