Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5713
Title: การพัฒนาปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม (HO) ที่มีต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตและคุณภาพพริกชี้ฟ้า Capsicum annuum Linn.
DEVELOPMENT OF CHEMICAL AND GRANULAR ORGANIC FERTILIZER WITH HORMONE MIXED FORMULA (HO) ON GROWTH, YIELD AND QUALITY OF chilli (Capsicum Annuum Linn.)
Authors: Nuttapon Thumnityagul
ณัฏฐ์พล ธรรมนิตยกุล
Pumisak Intanon
ภูมิศักดิ์ อินทนนท์
Naresuan University
Pumisak Intanon
ภูมิศักดิ์ อินทนนท์
pumisaki@nu.ac.th
pumisaki@nu.ac.th
Keywords: ปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม (HO)
ปุ๋ย HO
ปุ๋ยเคมี
พริกชี้ฟ้า
คุณภาพพริก
Chemical and granular organic fertilizer with hormonemixed Formula
HO fertilizer
Chemecal fertilizer
Chilli
Quality of chilli
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This study was aimed to development of the chemical and granular organic fertilizer with hormone mixed fertilizer(HO) on growth, yields and quality of chilli. The main purpose is to development the fertilizer that could improve the yields as same as improvement the soil qualities as the same time. The optimum rate of fertilizer apply for chilli productions also one of a target. There for 4 formulas of the HO fertilizer were production to use in this research. The research was pot plants experiment, The experiment was conducted in Completely Randomized Design (CRD). Conclude  of 11 treatments of  fertilizer  applied with 6 replications,  totally 66  pot plants. The pot size is No.19 with 18 Kilograms of soil media per pot, The treatments as follows : T1 (no fertilizer : control), T2 (chemical fertilizer 15-15-15,50Kg), T3 (chemical fertilizer 15-15-15,100Kg), T4 (HO-1 Fertilizer,50Kg), T5 (HO-1 Fertilizer,100Kg), T6 (HO-2 Fertilizer,50Kg), T7 (HO-2 Fertilizer,100Kg), T8 (HO-3 Fertilizer,50Kg), T9 (HO-3 Fertilizer,100Kg), T10 (HO-4 Fertilizer,50Kg), T11 (HO-4 Fertilizer,100Kg), The chilli seedling of Prik chee Fa variety  was planting in each treatment in outdoor conditions. The experiment site was located at Moo 9 village, Tambon Kaengsopha, Wangtong subdistrict, Phitsanulok Province, during  June – September 2018. The  data recorded was performed in weekly then data analyzed with analysis of variance (ANOVA), comparing the difference of mean by DMRT at 95% confidence level. The results showed that the soil analyzed (before and after the experiment) showed that soil media was infertile soil, Phichai (Pch)soil series but the soil after experiment shown that 4 formulas of the HO group (T4-T11) had effected significantly improved the soil conditions; macronutrient(P and K), secondary and micronutrients content, organic matter (OM) above other treatments. Improved pH, CEC, EC, Porosity of the soil and Increased of water holding capacity. The results of HO fertilizers analyzed showed that 4 formula of HO group contained of macronutrient(N-P-K) 10-12.7%, high level of secondary and micronutrients and organic matter. The plant vegetative growth analyzed showed that all of parameters recorded such as plant height, stem size, branching, leaf number and chlorophyll contents were significantly higher results in T9 (HO-3,100Kg). Plant withdraw for investigation of plant growth and dry matter accumulations 60 days after planting (DAP) also showed that T9 (HO-3,100Kg) was significantly higher results above other treatments. The yields and yield components analyzed showed that all parameters recorded were found significantly higher results in T9 (HO-3,100Kg) above other treatments. The Analysis of active ingredients (capsaicin, dihydrocapsaicin, capsaicinoids and capsaicinoids mg/plant) were also significantly higher results in T9 (HO-3,100Kg) above other treatments. The cost and profit per Rai analyzed in this experiment showed that all of HO fertilizers have higher income than chemical fertilizer even applied with 50 or 100 kg/rai. The highest net profit was found in T9 (HO-3,100Kg), therefore, from the results mention above its could conclusions that all the HO fertilizers could improve the soil fertilities and soil physics (soil pH, and water holding capacity etc.) as the same time supplied available nutrients to the plants. T9 (HO-3,100Kg) was the most influenced to plant vegetative growths, dry matter accumulations, yields and yield components, yields quality and active ingredients significantly different than other treatments. Influenced of T9 (HO-3,100Kg) fertilizer was rising the five-star products chilli ranking. The optimum rate to applied HO fertilizers was 100 Kg/Rai. The cost and profit analyzed showed that T9 (HO-3,100Kg) method was the highest cost of chilli production but could get the highest yields also, Therefore T9 (HO-3,100Kg) method was the best way to get highest net profit of 49, 334 Baht per Rai higher than the chemical fertilizer (T3) about 2.7 times which about 31,376 Baht per Rai different.  
การวิจัยนี้เป็นการพัฒนาปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม (HO) ที่มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตและคุณภาพพริก มุ่งเน้นการพัฒนาปุ๋ยHO ที่สามารถปรับปรุงบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ไปพร้อม ๆ กับการเพิ่มผลผลิตและเพิ่มคุณภาพพริกรวมถึงศึกษาอัตราที่เหมาะสมต่อการผลิตพริก เป็นต้น โดยพัฒนาปุ๋ยHO ขึ้นมา 4 สูตรเพื่อใช้ในการทดลอง เป็นการทดลองในกระถาง วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) ประกอบด้วย 11 กรรมวิธี ๆ  X 6 ซ้ำ = 66 กระถาง โดยใช้กระถางเบอร์ 19 บรรจุดินปลูก 18 กิโลกรัม/กระถาง วางกระถางห่างกันระหว่างแถว 100 เซนติเมตร ระหว่างต้น 70 เซนติเมตร กรรมวิธีประกอบด้วย  T1 ไม่ใส่ปุ๋ย (Control),T2 ปุ๋ยเคมี15-15-15 (50 กก./ไร่), T3 ปุ๋ยเคมี15-15-15 (100 กก./ไร่), T4 ปุ๋ยHO-1 (50 กก./ไร่), T5 ปุ๋ยHO-1 (100 กก./ไร่), T6 ปุ๋ยHO-2 (50 กก./ไร่), T7 ปุ๋ยHO-2 (100 กก./ไร่), T8 ปุ๋ยHO-3 (50 กก./ไร่), T9 ปุ๋ยHO-3 (100 กก./ไร่), T10 ปุ๋ยHO-4 (50 กก./ไร่) และ T11 ปุ๋ยHO-4 (100 กก./ไร่) โดยใช้พันธุ์พริกชี้ฟ้าจากต้นกล้าเป็นพืชทดสอบ ทำการบันทึกการเจริญเติบโตทุก 7 วัน ทำการทดลองที่หมู่ที่ 9 ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก) ในสภาพธรรมชาติรดน้ำด้วยสายยาง ระหว่างเดือนมิถุนายน 2561- ธันวาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยวิธี ANOVA เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยวิธี DMRT ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษาพบว่าผลการวิเคราะห์ดินทั้งก่อนและหลังการทดลองพบว่าสภาพดินก่อนการทดลองมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำเป็นดินชุดพิชัย (Pch) แต่ภายหลังการทดลองพบว่าสมบัติของดินโดยรวมดีขึ้นธาตุอาหารหลักธาตุฟอสฟอรัส(P)และโพแทสเซียม(K)เพิ่มขึ้นและธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม อินทรียวัตถุ(OM) ความเป็นกรดด่าง(pH) ความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (CEC) และค่าการนำไฟฟ้า (EC) ความสามารถในการอุ้มน้ำ (WC%)  เพิ่มขึ้นในทุกกรรมวิธีที่ใส่ปุ๋ยHO (T4-T11) ผลการวิเคราะห์ปุ๋ยHO ทั้ง 4 สูตร พบว่ามีธาตุอาหารหลัก  N-P-K ระหว่าง10-12.73%และมีธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม อินทรียวัตถุ (OM) ในปริมาณมาก ผลการบันทึกการเจริญเติบโตของพริก (Vegetative Growth) ทางด้านความสูงต้น ขนาดของลำต้น จำนวนกิ่งต่อต้น จำนวนใบต่อต้น ปริมาณคลอโรฟิลล์ในใบพบว่า T9 HO-3 (100kg) แสดงผลสูงสุดเหนือกรรมวิธีอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การถอนสำรวจวิเคราะห์การสะสมวัตถุแห้งของพริกเมื่ออายุ 50 วันพบว่าในทุกรายการที่มีการสำรวจด้านการเจริญเติบโตและการสะสมวัตถุแห้งในส่วนต่าง ๆ ของพืชพบว่า T9 HO-3 (100kg) แสดงผลสูงสุดเหนือกรรมวิธีอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การวิเคราะห์ผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิต ในทุกรายการที่มีการบันทึกพบว่า T9 HO-3 (100kg) แสดงผลสูงสุดเหนือกรรมวิธีอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การวิเคราะห์สารสำคัญในผลผลิต ผลการวิเคราะห์สารแคปไซซิน (capsaicin) ไดไฮโดรแคปไซซิน (dihydrocapsaicin), แคปไซซินอยด์ (capsaicinoids) และแคปไซซินอยด์ มิลลิกรัม/ต้น (capsaicinoids)พบว่าทุกรายการที่ทำการวิเคราะห์T9 HO-3 (100kg) แสดงผลสูงสุดเหนือกรรมวิธีอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต้นทุนและผลกำไรต่อไร่(โดยสังเขป)พบว่า T9 (HO-3, 100kg) เป็นกรรมวิธีที่ทำให้ได้ผลกำไรสูงสุด จากผลการทดลองจึงสรุปได้ว่า ปุ๋ย HO ทั้ง 4 สูตรเป็นปุ๋ยที่สามารถปรับปรุงบำรุงดินได้ไปพร้อม ๆ กับการใส่ปุ๋ยช่วยเพิ่มธาตุอาหารและความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน ปรับสภาพความเป็นกรด(pH) และเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำของดินให้เพิ่มขึ้น ปุ๋ย T9 HO-3(100kg)  ทำให้พืชมีการเจริญเติบโต การสะสมวัตถุแห้ง ผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิต คุณภาพผลผลิต และสารสำคัญในผลผลิตเพิ่มสูงขึ้นแสดงผลสูงสุดเหนือปุ๋ยเคมีและกรรมวิธีอื่น ๆ ทำให้ได้ผลผลิตพริกระดับเกรดดีเยี่ยมมากขึ้น  อัตราที่ไหมาะสมของทุกชนิดปุ๋ยคือ 100  กก./ไร่ ในด้านต้นทุน รายได้และผลกำไรพบว่าปุ๋ยHO ทุกชนิดได้กำไรสุทธิเหนือปุ๋ยเคมีไม่ว่าจะใส่ที่อัตรา 50 หรือ 100 กก./ไร่ ก็ตามโดยพบว่า T9 HO-3(100kg) มีต้นทุนสูงสุดแต่ได้ผลผลิตต่อไร่สูงสุดจึงทำให้ได้กำไรสุทธิสูงสุด 49,334 บาท/ไร่ ได้กำไรสูงกว่าปุ๋ยเคมี ประมาณ 2.7 เท่า คิดเป็นรายได้ต่างกันประมาณ 31,375 บาท/ไร่
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5713
Appears in Collections:คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
NuttaponThumnityagul.pdf5.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.