Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5696
Title: รูปแบบการจัดการทางศิลปหัตถกรรมชุมชนบ้านห้วยต้า จังหวัดอุตรดิตถ์
The model of hand crafts community management at Huai-Ta Uttaradit
Authors: Maturose Chavraiparn
มธุรส ชาวไร่ปราณ
Jirawat Phirasant
จิรวัฒน์ พิระสันต์
Naresuan University
Jirawat Phirasant
จิรวัฒน์ พิระสันต์
jirawatp@nu.ac.th
jirawatp@nu.ac.th
Keywords: 1.รูปแบบการจัดการศิลปหัตถกรรม 2.ศิลปหัตถกรรมชุมชน
1.The model of hand crafts community management. 2.Hand crafts community.
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: A research on the management model of hand crafts in Ban Huay Ta community Uttaradit The purpose of the research was to analyze the management model of Ban Huay Ta community hand crafts. Uttaradit Developing the management model of Ban Huay Ta community hand crafts Uttaradit and assessing the management style of Ban Huay Ta community hand crafts Uttaradit There are operational steps consisting of networking. pursuit of knowledge The development of community hand crafts management model development of community hand crafts and the assessment of community hand crafts patterns by conducting qualitative research consisting of observations, in-depth interviews, Group discussion and participatory operations. Analyzing the community hand crafts management model, it was found that the area potential of Ban Huai Ta, which is a community capable of hand crafts such as weaving, basketry, and woodcarving. In addition, Her Majesty Queen Sirikit Has encouraged people in the community to attend career development training in hand crafts to create additional careers and increase income, which brought products to be distributed to the Bureau of the Royal Household. and the Foundation for the Promotion of the hand crafts development of community hand crafts management model It is a design with the application of local wisdom to community products by combining knowledge science with the application of local materials to develop Enhance the added value. self reliance and collectivization of community products development consists of 12 fabric handicraft products, 2 carving products, 8 handicraft products, a total of 22 pieces. For the evaluation of community hand crafts, it consists of adding value. Assessment results are at the best level. design concept Assessment results are at the best level. selection of raw materials Assessment results are at the best level. production process Assessment results are at the best level. quality and beauty Assessment results are at the best level. adding added value The evaluation results are at a very good level. identity creation The appraisal results are at a very good level and creating added value. The evaluation results are at a very good level. for the management model of Ban Huai Ta community hand crafts Uttaradit consists of 4 components community context analysis Community management analysis/network development of hand crafts and the evaluation of hand crafts management style.
การวิจัยเรื่องการรูปแบบการจัดการทางศิลปหัตถกรรมชุมชนบ้านห้วยต้า จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ วิเคราะห์รูปแบบการจัดการศิลปหัตถกรรมชุมชนบ้านห้วยต้า จังหวัดอุตรดิตถ์   พัฒนารูปแบบการจัดการศิลปหัตถกรรมชุมชนบ้านห้วยต้า จังหวัดอุตรดิตถ์  และประเมินรูปแบบการจัดการศิลปหัตถกรรมชุมชนบ้านห้วยต้า จังหวัดอุตรดิตถ์ มีขั้นตอนการดำเนินงาน ประกอบด้วยการสร้างเครือข่าย การแสวงหาความรู้ การพัฒนารูปแบบการจัดการทางศิลปหัตถกรรมชุมชน การพัฒนาศิลปหัตถกรรมชุมชน และการประเมินรูปแบบทางศิลปหัตถกรรมชุมชน  โดยดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การสังเกต การสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม และการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์รูปแบบการจัดการศิลปหัตถกรรมชุมชน พบว่า ศักยภาพด้านพื้นที่ของบ้านห้วยต้าซึ่งเป็นชุมชนที่มีความสามารถทางด้านงานศิลปหัตถกรรม ทั้งการทอผ้า จักสาน และการแกะสลักไม้ นอกจากนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ได้สนับสนุนให้คนในชุมชนเข้ารับการอบรมพัฒนาอาชีพทางด้านการศิลปหัตถกรรมเพื่อสร้างอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ ซึ่งนำผลิตภัณฑ์ส่งจำหน่ายยังสำนักพระราชวังฯ และมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ การพัฒนารูปแบบการจัดการศิลปหัตถกรรมชุมชน เป็นการออกแบบมีการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยเชื่อมโยงศาสตร์ความรู้ผนวกกับการประยุกต์วัสดุพื้นถิ่นเพื่อพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีมูลค่าเพิ่ม การพึ่งพาตนเอง และรวมกันเป็นกลุ่ม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมผ้าจำนวน 12 ผลงาน ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมแกะสลัก จำนวน 2 ผลงาน ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมจักสานจำนวน 8 ผลงาน รวมทั้งสิ้น 22 ผลงาน สำหรับการประเมินผลงานศิลปหัตถกรรมชุมชน ประกอบด้วย การเพิ่มคุณค่า ผลการประเมินอยู่ในระดับดีที่สุด แนวคิดการออกแบบ ผลการประเมินอยู่ในระดับดีที่สุด การเลือกวัตถุดิบ ผลการประเมินอยู่ในระดับดีที่สุด กระบวนการผลิต ผลการประเมินอยู่ในระดับดีที่สุด คุณภาพและความสวยงาม ผลการประเมินอยู่ในระดับดีที่สุดการเพิ่มมูลค่าเพิ่ม ผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก การสร้างเอกลักษณ์ ผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก และการสร้างมูลค่าเพิ่ม ผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก  สำหรับรูปแบบการจัดการศิลปหัตถกรรมชุมชนบ้านห้วยต้า จังหวัดอุตรดิตถ์ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ การวิเคราะห์บริบทชุมชน การวิเคราะห์การจัดการชุมชน/การสร้างเครือข่าย การพัฒนาศิลปหัตถกรรม และการประเมินรูปแบบการจัดการทางศิลปหัตถกรรม
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5696
Appears in Collections:คณะสถาปัตยกรรมศาสต์ ศิลปะและการออกแบบ

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
MaturoseChavraiparn.pdf8.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.