Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5613
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคจากการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดพิจิตร
Factors influencing occupational tuberculosis preventive behaviors among registered nurses in hospitals under the Ministry of Public Health, Phichit province
Authors: Manlika Nakdang
มัลลิกา นาคแดง
Jutarat Rakprasit
จุฑารัตน์ รักประสิทธิ์
Naresuan University
Jutarat Rakprasit
จุฑารัตน์ รักประสิทธิ์
jutaratr@nu.ac.th
jutaratr@nu.ac.th
Keywords: พยาบาลวิชาชีพ
วัณโรค
พฤติกรรมการป้องกัน
Registered nurses
Tuberculosis
Preventive behaviors
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The study aimed to examine occupational tuberculosis preventive behaviors and to determine factors influencing occupational tuberculosis preventive behaviors. The samples in this study were 136 male and female registered nurses, who have worked in public hospitals for the Ministry of Public Health, in Phichit province. The data were collected using a structured questionnaire, and then analyzed using descriptive statistics which included frequency, percentage, mean, standard deviation, maximum, and minimum, and multiple linear regression analysis. The results found that the occupational tuberculosis preventive behaviors of most of the sample were of a high level (x̅ = 60.01, S.D. = 6.25). Factors significantly correlated with occupational tuberculosis preventive behaviors were perceived self-efficacy (ß = 0.304, p-value < 0.001), perceived benefits of action (ß = 0.220, p-value = 0.006), and cues to action (ß = 0.214, p-value = 0.009). All these factors described 31.60% of the variance in occupational tuberculosis preventive behaviors (R2 = 0.316, p-value < 0.001). Therefore, hospital directors or the relevant agencies in hospitals should use this information to develop appropriate activities for registered nurses.
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคจากการทำงาน และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคจากการทำงาน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 136 คน ทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลรัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในจังหวัดพิจิตร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง และวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด และวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคจากการทำงานของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง (x̅ = 60.01, S.D. = 6.25) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคจากการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การรับรู้ความสามารถของตนเอง (ß = 0.304, p-value < 0.001) การรับรู้ประโยชน์ในการปฏิบัติ (ß = 0.220, p-value = 0.006) และสิ่งชักนำสู่การปฏิบัติ (ß = 0.214, p-value = 0.009) โดยปัจจัยเหล่านี้สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคจากการทำงานได้ร้อยละ 31.60 (R2 = 0.316, p-value < 0.001) ดังนั้น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในโรงพยาบาล ควรนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนากิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับพยาบาลวิชาชีพ
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5613
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ManlikaNakdang.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.