Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5606
Title: การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาการผิดปกติของระบบโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานชำแหละสุกรเทศบาลเมืองอ่างทอง
Development of a Participation Model for preventing work-related musculoskeletal disorders among production workers of pig slaughterhouse in Town Municipality of Ang Thong
Authors: Rittikorn Sompan
ฤทธิ์ติกร สมปาน
Orawan Keeratisiroj
อรวรรณ กีรติสิโรจน์
Naresuan University
Orawan Keeratisiroj
อรวรรณ กีรติสิโรจน์
orawansa@nu.ac.th
orawansa@nu.ac.th
Keywords: รูปแบบการมีส่วนร่วม
อาการผิดปกติของระบบโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทำงาน
โรงงานชำแหละสุกร
พนักงานฝ่ายผลิต
Participation Model
Work-related musculoskeletal disorders
Pig slaughterhouse
Production workers
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This study was mixed-methods research aimed at developing of participation model for preventing work-related musculoskeletal disorders among production workers of pig slaughterhouses in the Town Municipality of Ang Thong. The participants included 108 workers. Data were collected through quantitative research and qualitative research with instruments including in-depth interviews, a self-assessment questionnaire, the Appreciation Influence Control (AIC), and Rapid Entire Body Assessment (REBA). The research process was divided into 3 phases, consisting of  1) investigating the problem condition and factors affecting work-related musculoskeletal disorders among production workers of pig slaughterhouses in the Town Municipality of Ang Thong, 2) preparing a draft and check of a conceptual model of a participation model for preventing work-related musculoskeletal disorders among production workers of pig slaughterhouses in Town Municipality of Ang Thong, and 3) to trial and evaluate the effectiveness of a participation model for preventing work-related musculoskeletal disorders among production workers of pig slaughterhouses in Town Municipality of Ang Thong. Results of this research find that a participation model for preventing work-related musculoskeletal disorders was developed based on the analysis and synthesis of 5 activities within the process of program development as follows: 1) activity to identify work-related musculoskeletal disorders occurring in each part of the body map, 2) activity to identify and demonstrate existing workflows in production of pig slaughterhouses, 3) activity to finding correlated to work-related musculoskeletal disorders, 4) activity to provide training to improve and prevention on work-related musculoskeletal disorders, and 5) activity to the guideline for the prevention to work-related musculoskeletal disorders. And consensus decision-making of everyone in the group. After implementation of 40 participants, the analysis revealed that the work-related musculoskeletal disorders occurring in each part of the body had decreased at the significant upper arm (p<0.001), hand/ wrist (p=0.049), calf (p=0.031), foot (p=0.031) and the severity of work-related musculoskeletal disorders had decreased at the significant level of 0.05.
การวิจัยในครั้งนี้ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาการผิดปกติของระบบโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานชำแหละสุกรเทศบาลเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง  จำนวนผู้เข้าร่วม 108 คน วิธีการรวบรวมข้อมูลด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึก ตอบแบบประเมินด้วยตนเอง การประชุมแบบมีส่วนร่วม และการประเมินท่าทางการทำงานทั้งร่างกายแบบรวดเร็ว แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาปัญหาสภาพปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติของระบบโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทำงาน ระยะที่ 2 ร่างและตรวจสอบรูปแบบการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาการผิดปกติของระบบโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทำงาน ระยะที่ 3 ทดลองและประเมินประสิทธิผลรูปแบบการมีส่วนร่วมในป้องกันอาการผิดปกติของระบบโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานชำแหละสุกรเทศบาลเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาการผิดปกติของระบบโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทำงานพัฒนาโดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ภายใต้โครงการวิเคราะห์ความเสี่ยงในการทำงานแบบมีส่วนร่วม ดังนี้ 1) กิจกรรมระบุอาการผิดปกติของระบบโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทำงานที่เกิดขึ้นในแต่ละส่วนของร่างกายด้วยแผนภาพร่างกายมนุษย์ 2) กิจกรรมระบุขั้นตอนการทำงานและสาธิตขั้นตอนการทำงาน 3) กิจกรรมหาความสัมพันธ์ของอาการความผิดปกติของระบบโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทำงาน 4) กิจกรรมให้ความรู้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาระบบโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทำงาน 5) กิจกรรมหาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาการผิดปกติของระบบโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทำงาน หาข้อตกลงร่วมกัน ภายหลังนำรูปแบบไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง 40 คน พบว่า อาการผิดปกติของระบบโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทำงานแต่ละส่วนของร่างกายในกลุ่มตัวอย่างลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ แขนส่วนบน (p<0.001) มือหรือข้อมือ (p=0.049) น่อง (p=0.031) เท้า (p=0.031) และระดับความรุนแรงของอาการเจ็บปวดของระบบโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อลดลงก่อนการทดลองใช้รูปแบบฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05   
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5606
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RittikornSompan.pdf4.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.