Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5585
Title: ผลการดำเนินงานของเครือข่าย RDU COMMUNITY ด้วย PAR กรณีศึกษาการใช้ยาปฏิชีวนะและ NSAIDs อย่างสมเหตุผล
PERFORMANCE OF THE RDU COMMUNITY NETWORK WITH PAR, CASE STUDIES  ON THE RATIONAL USE OF ANTIBIOTICS AND NSAIDs.
Authors: Kesinee Nunthamanop
เกศินี นันทมานพ
Daranee Chiewchantanakit
ดารณี เชี่ยวชาญธนกิจ
Naresuan University
Daranee Chiewchantanakit
ดารณี เชี่ยวชาญธนกิจ
daraneec@nu.ac.th
daraneec@nu.ac.th
Keywords: การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
ยาปฏิชีวนะ
ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
RDU
Antibiotics
NSAIDs
Participatory Action Research
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This participatory action research aims to create a network of rational drug use in the community (RDU Community) with participatory action research (PAR), which consists of 5 steps: observation, idea reflection, planning, taking action and exchange to measure performance of the network in enhancing knowledge and attitudes about rational drug use among 133 people of target groups in Sai Noi Subdistrict, Bang Ban District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Data were collected by using questionnaires to measure knowledge and attitudes about rational drug use for the public during March to October 2022. analyze data by using frequency, percentage and statistical analysis "McNemar’s chi-square test", Statistical significance was set at 0.05 with the SPSS® version 17 software package. The results of the study showed that the use of PAR able to promote the creation of RDU Community network of Sai Noi Subdistrict in a concrete way. With elements that are established from the concept of vocal leaders. Consists of the government sector, including staff at Sai Noi Public Health Hospital and a pharmacist from Bang Ban Hospital and public sector, including community leaders and volunteers of Sai Noi Subdistrict, performance of the network assessed from knowledge and changing attitudes of the people in the community together with measuring attitudes towards the network and observing the network performance by collecting data of knowledge and attitude from a sample of 133. Sex female 63.2% aged between 51-60 years old 33.1% self-employed 44.4% completed primary education 44.4% lived in Sai Noi Subdistrict more than 51-60 years 31.6% have family members 1-4 People 72.9%. Assess knowledge and attitude of sample groups before project starts and after project completed, totaling 4 times. sample groups had increased knowledge about antibiotic use from moderate level of 49.7% at an average score of 5.68 ± 2.05 be high level of 84.9% at an average score of 8.95 ± 1.34 had an increase knowledge about NSAIDs from the moderate level of 42.8% at an average score of 5.27± 2.49 be high level of 87.9% at an average score of 9.02 ± 1.24 had an increase in rational drug use attitudes from moderate level of 55% at an average of 3.53 ± 0.50 be high level of 79.7% at an average of 4.39 ± 0.46. The results of comparing knowledge about the use of antibiotics and NSAIDs using "McNemar’s chi-square test statistics" found that there was a statistically significant difference at the 0.05 level and from observing the operation of the network, It was found that the members had an agreeing attitude with networking at an average of 3.94 ± 0.27 and members were enthusiastic, punctual, and participated in expressing their opinions. From the research results, it can be concluded that Creating a network of RDU communities with PAR can enhance knowledge and attitudes about rational drug use among target groups. Therefore, network operations should be developed and promoted for greater efficiency and sustainability in the community.
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายการใช้ยาสมเหตุผลในชุมชน (RDU Community) ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR)  ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ การสังเกต การสะท้อนความคิด การวางแผน การลงมือปฏิบัติ และการแลกเปลี่ยน  และเพื่อวัดผลการดำเนินงานของเครือข่ายในการเสริมสร้างความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผลแก่กลุ่มเป้าหมายในตำบลไทรน้อย อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 133 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามวัดความรู้และทัศนคติเรื่องการใช้ยาสมเหตุผลสำหรับประชาชน ระหว่างเดือน มีนาคม ถึง ตุลาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์ทางสถิติใช้ McNemar’s chi-square test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS® version 17 ผลการศึกษาพบว่าการใช้ PAR สามารถส่งเสริมให้เกิดการสร้างเครือข่าย RDU Community ของตำบลไทรน้อยได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีองค์ประกอบที่กำหนดขึ้นจากแนวคิดของแกนนำ ประกอบด้วยภาครัฐ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ไทรน้อย และเภสัชกรจากโรงพยาบาลบางบาล และภาคประชาชนได้แก่ ผู้นำชุมชน และ อสม. ของตำบลไทรน้อย ผลการดำเนินงานของเครือข่ายประเมินจากความรู้และทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงของประชาชนในชุมชนร่วมกับการวัดทัศนคติต่อเครือข่ายและสังเกตการทำงานของเครือข่าย เก็บข้อมูลความรู้และทัศนคติจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 133 คน เพศหญิง ร้อยละ 63.2 มีอายุระหว่าง 51-60 ปี ร้อยละ 33.1 ประกอบอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 44.4 จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 44.4 อาศัยอยู่ในตำบลไทรน้อยมานาน 51-60 ปี ร้อยละ 31.6 มีสมาชิกในครอบครัว 1-4 คน ร้อยละ 72.9 วัดผลความรู้และทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างก่อนเริ่มโครงการและหลังเสร็จสิ้นโครงการ รวม 4 ครั้ง กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้น จากระดับปานกลาง ร้อยละ 49.7 ที่คะแนนเฉลี่ย 5.68 ± 2.05 เป็นระดับสูง ร้อยละ 84.9 ที่คะแนนเฉลี่ย 8.95 ± 1.34 มีระดับความรู้เกี่ยวกับยา NSAIDs เพิ่มขึ้น จากระดับปานกลาง ร้อยละ 42.8 ที่คะแนนเฉลี่ย 5.27± 2.49 เป็นระดับสูง ร้อยละ 87.9 ที่คะแนนเฉลี่ย 9.02 ± 1.24 มีระดับทัศนคติเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผลเพิ่มขึ้น จากระดับปานกลาง ร้อยละ 55 ที่ค่าเฉลี่ย 3.53 ± 0.50 เป็นระดับสูง ร้อยละ 79.7 ที่ค่าเฉลี่ย 4.39 ± 0.46 ผลการเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะและยา NSAIDs โดยใช้สถิติ McNemar’s chi-square test พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05  และจากการสังเกตการทำงานของเครือข่ายพบว่าสมาชิกมีทัศนคติในระดับเห็นด้วยกับการมีเครือข่าย ที่ค่าเฉลี่ย 3.94 ± 0.27 และสมาชิกมีความกระตือรือร้น ตรงเวลา มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น จากผลการวิจัยสรุปได้ว่าการสร้างเครือข่าย RDU Community ด้วย PAR สามารถเสริมสร้างความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผลให้แก่กลุ่มเป้าหมายให้เพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นจึงควรมีการพัฒนาและส่งเสริมการดำเนินงานของเครือข่ายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นและเกิดความยั่งยืนในชุมชน
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5585
Appears in Collections:คณะเภสัชศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
KesineeNurthamanop.pdf3.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.