Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5584
Title: ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนักโดยใช้บุคคลต้นแบบ
Knowledge, Attitude and Behavior of Consumer towards Role Model in Advertising of Food Supplement for Body Weight Reduction
Authors: Ratiya Jantawee
รติยา จันทวี
Chanthonrat Sitthiworanan
จันทรรัตน์ สิทธิวรนันท์
Naresuan University
Chanthonrat Sitthiworanan
จันทรรัตน์ สิทธิวรนันท์
chanthonrats@nu.ac.th
chanthonrats@nu.ac.th
Keywords: ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนัก
อาหารเสริมลดน้ำหนัก
โฆษณา
บุคคลต้นแบบ
Food supplement
Dietary supplement
Body weight reduction
Advertisement
Role model
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objectives of this quantitative study were to: explore level of knowledge, attitude and behavior of weight loss supplements in consumer who had seen advertising by role model, examine the correlation between knowledge, attitude and consumption behavior of weight loss supplements, and compare the differences between attitudes towards weight loss supplements advertised by different role model characteristics. A sample of 400 cases were drawn from consumers aged 20 years or older who used weight loss supplements in the past 3 months and had seen advertisements for weight loss supplements by role model. Data were collected using online questionnaires. The study found that most consumers were female, aged in the range of 20-29 years old, body mass index or BMI within the normal range but they felt overweight and dissatisfied with their bodies. Most of them recognize the celebrities advertisement of food supplement for body weight reduction from the Internet. In terms of knowledge, the results were presented level of overall consumers knowledge was low. 69.8% of consumers were misunderstood that taken every weight loss supplement with FDA number labelling would be safe. Average (SD) of overall attitude about weight loss supplements was in good level at 3.62 (0.78) out of 5. Average (SD) attitude of 5 characteristics of role model as trustworthiness, expertise, attractive, respect and similarity were seen in 3.58 (0.88), 3.72 (0.84), 3.70 (0.91), 3.60 (0.92) and 3.50 (0.91), respectively. The proper level behavior of food supplement consumption was showed average (SD) of 3.46 (0.56). 44.8% and 42.8% of consumers stated behavior of safety product information review before purchasing and leaflet reading in detail every times. The 3 lowest scores (SD) of behaviors were consulting a doctor or pharmacist before taking weight loss supplements, purchasing product via internet, taking supplements without exercise or food control as 3.16 (1.39), 3.17 (1.37) and 3.18 (1.33), respectively. The positive correlation between knowledge and consumption behavior of weight loss supplements was found with statistical significance at 0.01 level while the attitude was no seen the correlation with the behavior. Statistically significant difference of attractive attitude of supplements was showed in consumer who seen advertisements by celebrities and close people at 0.05 level, but the overall attitude was not different between consumer who saw the advertisements by each characteristic of role model. Based on the major findings, the government agency, such as Thai FDA, can apply for consumer protection planning as a result in using food supplements or health products more safely.
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสำรวจความรู้ของผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนัก ทัศนคติของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนักที่มีการโฆษณาโดยใช้บุคคลต้นแบบ และพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนักของผู้บริโภคในประเทศไทย รวมถึงมีวัตถุประสงค์รองเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทัศนคติกับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนัก และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างทัศนคติของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนักที่มีการโฆษณาโดยใช้บุคคลต้นแบบที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริโภคที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 20 ปี บริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนักในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา และเคยพบเห็นโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนักโดยใช้บุคคลต้นแบบ จำนวน 400 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วง 20-29 ปี ดัชนีมวลกายหรือ BMI อยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่คิดว่าตนเองมีรูปร่างท้วมและไม่พอใจในรูปร่างของตนเอง ส่วนใหญ่รับรู้การโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนักโดยใช้บุคคลต้นแบบจากอินเทอร์เน็ต เป็นบุคคลมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของสังคมในวงกว้าง เช่น ดารา/นักแสดง นักร้อง ไฮโซ บล็อกเกอร์ เน็ตไอดอล เป็นบุคคลต้นแบบในโฆษณา ในด้านความรู้เกี่ยวกับเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนัก พบว่าผู้บริโภคมีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนักในภาพรวมระดับต่ำ ร้อยละ 69.8 ของผู้บริโภคมีความรู้ที่ผิดว่าผลิตภัณฑ์ทุกชนิดที่มีเลข อย. สามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย ค่าเฉลี่ย (SD) ทัศนคติเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนักระดับดีในภาพรวมที่ 3.62 (0.78) จากคะแนนเต็ม 5 ทัศนคติตามคุณลักษณะของบุคคลต้นแบบทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ความไว้วางใจ ความชำนาญเชี่ยวชาญ ความดึงดูดใจ ความเคารพ และความเหมือนที่ 3.58 (0.88), 3.72 (0.84), 3.70 (0.91), 3.60 (0.92) และ 3.50 (0.91) ตามลำดับ และค่าเฉลี่ย (SD) พฤติกรรมอันพึงประสงค์ในการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนักในระดับเหมาะสมปานกลางที่ 3.46 (0.56) จากคะแนนเต็ม 5 โดยร้อยละ 44.8 และ 42.8 ของผู้บริโภคศึกษาข้อมูลความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ก่อนซื้อและอ่านข้อมูลบนฉลากอย่างละเอียดทุกครั้ง ส่วนค่าเฉลี่ย (SD) ของพฤติกรรมที่น้อยที่สุด 3 อันดับ ได้แก่ ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ 3.16 (1.39) ซื้อผลิตภัณฑ์จากอินเทอร์เน็ต 3.17 (1.37) และรับประทานผลิตภัณฑ์โดยไม่ออกกำลังกายหรือควบคุมอาหาร 3.18 (1.33) และพบว่าความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนักมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการบริโภคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในขณะที่ทัศนคติไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม ผู้ที่พบเห็นโฆษณาโดยบุคคลมีชื่อเสียงและบุคคลใกล้ชิดมีทัศนคติด้านความดึงดูดใจต่อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนักแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่ทัศนคติในภาพรวมไม่มีความแตกต่างกันระหว่างบุคคลต้นแบบแต่ละกลุ่ม หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการศึกษานี้มาเป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารรวมถึงผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นๆ ได้อย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5584
Appears in Collections:คณะเภสัชศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
RatiyaJantawee.pdf2.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.