Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5556
Title: การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสังคมอย่างมีส่วนร่วมเพื่อป้องกันนักสูบหน้าใหม่
A participatory action research on social innovation development to prevent new young smokers
Authors: Nopphadol Pimsarn
นภดล พิมสาร
Panida Jongsuksomsakul
พนิดา จงสุขสมสกุล
Naresuan University
Panida Jongsuksomsakul
พนิดา จงสุขสมสกุล
panidaj@nu.ac.th
panidaj@nu.ac.th
Keywords: นวัตกรรมทางสังคม
การสื่อสาร
นักสูบหน้าใหม่
Social innovation
Communication
New young smokers
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: A participatory action research on social innovation development to prevent new smokers is a mixed-methods study combining qualitative and participatory action research. This study aims to identify the causal factors associated with smoking initiation among new smokers by analyzing documents and conducting in-depth interviews with 26 key informants using a structured interview guide. The synthesized information is then returned to a sample group of administrators, teachers, and students from higher education institutions willing to benefit from the research findings. The innovation was created in collaboration with a total of 97 individuals, and it was implemented in the classroom with 13 students. The research findings confirm the causal factors related to smoking initiation among new smokers, including gender, attitudes, and peer influence, both domestically and internationally. Four S components comprise the communication model for preventing new smokers: STOP, STABLE, STRONG, and START. The evaluation results of social innovations range from high to the highest levels of appropriateness and feasibility. These innovations are utilized in media design to increase awareness and comprehension of the process of becoming a new smoker.
การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสังคมอย่างมีส่วนร่วมเพื่อป้องกันนักสูบหน้าใหม่เป็นการวิจัยผสมผสานด้วยระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมเพื่อยืนยันปัจจัยเชิงสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการเริ่มสูบบุหรี่ของนักสูบหน้าใหม่ผ่านการวิเคราะห์เอกสาร รวมทั้งอาศัยการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยบทสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้างกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 26 คน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการสังเคราะห์ทั้งหมดคืนกลับไปยังกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหาร คณาจารย์ และนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่ยินดีนำงานวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยการออกแบบนวัตกรรมอย่างมีส่วนร่วมกับกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 97 คน และนำนวัตกรรมไปใช้ในการเรียนการสอนกับนักศึกษาจำนวน 13 คน ผลการวิจัยยืนยันปัจจัยเชิงสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการเริ่มสูบบุหรี่ของนักสูบหน้าใหม่ ทั้งในประเทศและต่างประเทศสอดคล้องกัน คือ เพศ ทัศนคติ อิทธิพลของเพื่อน ทั้งนี้แบบจำลองการสื่อสารเพื่อป้องกันนักสูบหน้าใหม่ มีองค์ประกอบ 4 S ได้แก่ STOP, STABLE, STRONG และ START ผลการประเมินนวัตกรรมทางสังคมอยู่ในระดับที่มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้มากถึงมากที่สุด โดยนำไปใช้ในการออกแบบสื่อเพื่อสร้างจิตสำนึกและความเข้าใจที่ดีของการเริ่มเข้าสู่การเป็นนักสูบบุหรี่นักใหม่
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5556
Appears in Collections:คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
NopphadolPimsarn.pdf5.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.