Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5553
Title: ภาวะหมดไฟในการทำงานและความพึงพอใจในการทำงานของเภสัชกรประจำโรงพยาบาล
Job burnout and job satisfaction of hospital pharmacists
Authors: Pacharaorn Wannapeera
พชรอร วรรณภีระ
Paveena Sonthisombat
ปวีณา สนธิสมบัติ
Naresuan University
Paveena Sonthisombat
ปวีณา สนธิสมบัติ
paveenas@nu.ac.th
paveenas@nu.ac.th
Keywords: ภาวะหมดไฟในการทำงาน
ความพึงพอใจในการทำงาน
เภสัชกรโรงพยาบาล
Job burnout
job satisfaction
hospital pharmacists
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: Workplace burnout is a state of emotional, physical, and mental tiredness. The growing number of patients visiting hospitals might drive pharmacists into burnout.  Objectives: To determine burnout levels and related factors among hospital pharmacists; to examine the relationship between burnout and job satisfaction, and to identify coping strategies used by pharmacists to alleviate burnout symptoms. Methods: This study was cross-sectional survey research on 1,400 pharmacists with at least one year of experience working in hospitals affiliated with the Ministry of Public Health. Using health regions as strata, stratified random sampling was used to select the subjects. The researchers mailed a letter containing a QR code to subjects. The QR code allowed participants to access and complete online questionnaires. In this study, the Maslach and Jackson burnout scale was utilized. If one or more dimensions of burnout were at a high level, the subject was considered to be burnt out. The Smith, Kendall, and Hulin scale was used to measure job satisfaction. Correlations between personal factors, work-related, and job satisfaction were determined by logistic regression. Results: Thirty-one percent of pharmacists returned the questionnaire. However, only 406 responses were complete. The majority of respondents were female (76.6%), under 40 years old (72.1%), employed in an outpatient pharmacy (47.3%), had less than ten years of experience as a pharmacist (60.9%), and worked at least 20 hours of overtime per week on average (63.1 percent ). Thirty percent of pharmacists reported suffering from burnout, particularly emotional exhaustion (23.4 percent). Those with 1-10 years of work experience and more than 31 hours of overtime per week were 3.82 and 2.26 times more likely, respectively, to experience burnout. Job satisfaction regarding the commander’s behaviors reduced the incidence of burnout (odds ratio = 0.57). Relaxation from stress by engaging in enjoyable activities was the most common method for reducing burnout symptoms in both groups, with and without burnout. Conclusion: One-third of hospital pharmacists reported experiencing burnout. Length of employment and average weekly overtime hours were risk factors for burnout. Satisfaction in management performance was related to a reduced level of burnout. The most common coping strategy for burnout reported by pharmacists was participating in enjoyable activities.
ภาวะหมดไฟในการทำงานเป็นความรู้สึกอ่อนล้าทั้งร่างกาย จิตใจและอารมณ์ จากการที่โรงพยาบาลมีผู้มารับบริการเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้เภสัชกรโรงพยาบาลอาจเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับของภาวะหมดไฟและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะดังกล่าวในเภสัชกรประจำโรงพยาบาล และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะหมดไฟและความพึงพอใจในการทำงาน ตลอดจนแนวทางที่เภสัชกรรายงานว่าใช้เมื่อเกิดภาวะหมดไฟ วิธีการ: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางของเภสัชกรประจำโรงพยาบาลที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งปฏิบัติงานมาอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 1,400 คน การเลือกตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามเขตสุขภาพ ผู้วิจัยส่งจดหมายที่มีคิวอาร์โค้ดให้แก่กลุ่มตัวอย่างทางไปรษณีย์ เพื่อให้ตัวอย่างสแกนคิวอาร์โค้ดเพื่อตอบแบบสอบถามออนไลน์ การประเมินภาวะหมดไฟใช้แบบประเมินของ Mashlach และ Jackson  หากพบภาวะหมดไฟอยู่ในระดับสูงอย่างน้อย 1 ด้านจะถือว่ามีภาวะหมดไฟ ความพึงพอใจในการทำงานใช้แบบประเมินของ Smith, Kendall และ Hulin การหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการทำงานและความพึงพอใจในการทำงานต่อภาวะหมดไฟในการทำงานใช้สถิติ logistic regression ผลการวิจัย: เภสัชกรร้อยละ 31.2 ตอบกลับแบบสอบถาม ซึ่งมีความสมบูรณ์สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ 406 ราย ผู้ตอบส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 76.6) อายุไม่เกิน 40 ปี (ร้อยละ 72.1) ปฏิบัติงานห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอก (ร้อยละ 47.3) ทำงานเป็นเภสัชกรไม่เกิน 10 ปี (ร้อยละ 60.9) และปฏิบัติงานนอกเวลาเฉลี่ยไม่เกิน 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (ร้อยละ 63.1) เภสัชกรร้อยละ 29.6 มีภาวะหมดไฟโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ (ร้อยละ 23.4) ผู้ที่ปฏิบัติงาน 1-10 ปีและมีจำนวนชั่วโมงปฏิบัติงานนอกเวลามากกว่า 31 ชั่วโมงต่อสัปดาห์มีโอกาสเกิดภาวะหมดไฟเป็น 3.82, และ 2.26 เท่าของผู้ที่ไม่มีลักษณะดังกล่าว ขณะที่ความพึงพอใจในการทำงานด้านลักษณะการบังคับบัญชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมของผู้บังคับบัญชาลดการเกิดภาวะหมดไฟ (odds ratio = 0.57) การผ่อนคลายความเครียดด้วยการทำกิจกรรมที่ชอบเป็นวิธีการลดภาวะหมดไฟที่ทั้งกลุ่มที่มีและไม่มีอาการหมดไฟเลือกมากที่สุด สรุป: หนึ่งในสามของเภสัชกรโรงพยาบาลมีภาวะหมดไฟในการทำงาน ระยะเวลาในการปฏิบัติงานและจำนวนชั่วโมงที่ต้องปฏิบัติงานนอกเวลาเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะหมดไฟ ความพึงพอใจในการทำงานด้านลักษณะการบังคับบัญชาเป็นปัจจัยที่ช่วยป้องกันการเกิดภาวะหมดไฟ แนวทางที่เภสัชกรรายงานว่าเลือกใช้มากที่สุดเมื่อเกิดภาวะหมดไฟ คือ การผ่อนคลายความเครียดด้วยการทำกิจกรรมที่ชอบ
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5553
Appears in Collections:คณะเภสัชศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PacharaornWannapeera.pdf2.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.