Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5258
Title: อรรถศาสตร์ปริชานของคำเรียกชื่อสัตว์ในภาษาไทยถิ่นเหนือ จังหวัดเชียงราย
Cognitive Semantics of Animal names in the Northern Dialect, Chiangrai province
Authors: TEERARAT JABJAINAI
ธีรารัตน์ จับใจนาย
Orathai Chinakkhrapong
อรทัย ชินอัครพงศ์
Naresuan University
Orathai Chinakkhrapong
อรทัย ชินอัครพงศ์
orathaic@nu.ac.th
orathaic@nu.ac.th
Keywords: อรรถศาสตร์ปริซาน
คำเรียกชื่อสัตว์
ภาษาไทยถิ่นเหนือ
มโนทัศน์
Cognitive somantics
Animal names
Northern Thai dialect
Concept
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: This dissertation consisted of two objectives, namely: 1) to study the semantic categories of animal names in the northern Thai dialect, Chiangrai province 2) to study the concepts reflected in the use of animal names in northern Thai dialect, Chiangrai province cognitive semantics was used for both objectives. The cognitive semantic approach in this qualitative research, 3  informants, animal pictures and animal names were used. Data was collected by interviewing in animal names of 200 words to follow the theories of Lakoff and Johnson (1987) and Unchalee Singnoi Wongwattana (2014) Present the research result by depiction. The research results were found as follows:  The studying the semantic categories of animal names in the northern Thai dialect, Chiangrai province cognitive semantics was used for both objectives are as follows: It was found that the unique name definition category is a unique name. It is a unique name, giving meaning exactly the appearance and distinctive features of the most common animal 49.00% second only to 30.50% of the metonymy meaning were found in 17 categories: characteristics and behaviors of a person or animal, taste, color, place, skin condition, patterns, competition, passion, number, smell, gender, fear, sound, weight, geometric forms, temperature and age. 18.50% of the metaphorical meaning were found in 5 categories: things, disease, characteristics and behaviors of a person or animal, plant and ghost that are tangible or intangible. And the mixed meanings are both metaphorical + metonymy and metonymy + metaphorical for 2.00% least common, respectively. The concepts reflected in the use of animal names in northern Thai dialect, Chiangrai province cognitive semantics were found the metaphorical meaning of the animal names in 8 things : organs, plants, movements, food items, beliefs, nature and disease. In addition, the concept reflected the Thai folk animal names on the situation structure of the animal names in Northern Thai dialect by the commence word were found 4 categories: “Jak”, “Maeng”, “Tua”, and “Ei/E”, these are divided into 2 groups: the commence word + animal species name and the commence word + animal species name + extension, etc.
วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาประเภททางความหมายของคำเรียกชื่อสัตว์ในภาษาไทยถิ่นเหนือจังหวัดเชียงรายตามแนวอรรถศาสตร์ปริชาน และ 2) เพื่อศึกษามโนทัศน์ที่สะท้อนจากการใช้คำเรียกชื่อสัตว์ในภาษาไทยถิ่นเหนือจังหวัดเชียงรายตามแนวอรรถศาสตร์ปริชาน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นเหนือ จำนวน 3 ท่าน โดยใช้รูปภาพสัตว์และชื่อสัตว์ ซึ่งเป็นข้อมูลจากการสัมภาษณ์ จำนวน 200 คำ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้กรอบทฤษฎีของ Lakoff และ Johnson (1987) และแนวคิดของอัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา (2557) ผลการวิจัยมีดังนี้  ประเภททางความหมายของคำเรียกชื่อสัตว์ในภาษาไทยถิ่นเหนือจังหวัดเชียงรายตามแนวอรรถศาสตร์ปริชาน พบว่า ประเภทความหมายชื่อเฉพาะ เป็นชื่อเฉพาะให้ความหมายตรงตามรูปลักษณ์และคุณสมบัติเด่นของสัตว์พบมากที่สุด ร้อยละ 49.00 รองลงมาเป็น ความหมายเชิงนามนัย ร้อยละ 30.50 พบจำนวน 17 ด้าน ได้แก่   กริยาอาการและพฤติกรรม รสชาติ  สี  สถานที่ สภาพผิว ลวดลาย การแข่งขัน ความหลงใหล จำนวน กลิ่น เพศสภาพ ความกลัว เสียง น้ำหนัก รูปทรง อุณหภูมิและวัย ความหมายเชิงอุปลักษณ์ ร้อยละ 18.50 พบจำนวน 5 ด้าน ได้แก่ สิ่งของ โรค พฤติกรรมกิริยาอาการของคนหรือสัตว์  พืชและภูตผี สิ่งที่จับต้องหรือสัมผัสไม่ได้ และความหมายผสม เป็นความหมายทั้งอุปลักษณ์+นามนัยและนามนัย+อุปลักษณ์ พบน้อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ 2.00 ตามลำดับ ส่วนในเรื่องมโนทัศน์ที่สะท้อนจากการใช้คำเรียกชื่อสัตว์ในภาษาไทยถิ่นเหนือจังหวัดเชียงรายตามแนวอรรถศาสตร์ปริชาน พบมโนทัศน์ที่สะท้อนความหมายเชิงอุปลักษณ์ในคำเรียกชื่อสัตว์ในภาษาไทยถิ่นเหนือ โดยเปรียบคำเรียกชื่อสัตว์กับ 8 สรรพสิ่ง ได้แก่ อวัยวะ พืช การเคลื่อนไหว สิ่งของ อาหาร ความเชื่อ ธรรมชาติและ โรค นอกจากนี้มโนทัศน์ยังสะท้อนให้เห็นถึงระบบการจำแนกหมวดหมู่สัตว์แบบพื้นบ้านไทยตามโครงสร้างคำขึ้นต้นคำเรียกชื่อสัตว์ในภาษาไทยถิ่นเหนือ แบ่งตามคำขึ้นต้นของคำเรียกชื่อสัตว์ 4 ประเภท คือ “จั๊ก” “แมง” “ตั๋ว” และ “อี่/อี  แบ่งเป็นส่วนประกอบออกเป็น 2 กลุ่ม คือ คำขึ้นต้น + ชื่อพันธุ์สัตว์ และ คำขึ้นต้น + ชื่อพันธุ์สัตว์ + ส่วนขยาย เป็นต้น
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5258
Appears in Collections:คณะมนุษยศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59030718.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.