Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5256
Title: ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองต่อพฤติกรรมออกกำลังกาย ระดับความดันโลหิต และค่าดัชนีมวลกาย ของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่มีน้ำหนักเกิน จังหวัดสุโขทัย
EFFECTS OF BREATHING EXERCISE PROGRAM BY ENHANCING SELF-EFFICACY ON PULMONARY FUNCTION AND QUALITY OF LIFE AMONG PATIENTS WITH CHRONIC OBSTRUCTIVE PULMONARY DISEASE
Authors: Supawadee Jariyatammakorn
สุภาวดี จริยาธรรมกร
Chuleekorn Danyuthasilpe
ชุลีกร ด่านยุทธศิลป์
Naresuan University
Chuleekorn Danyuthasilpe
ชุลีกร ด่านยุทธศิลป์
chuleekornd@nu.ac.th
chuleekornd@nu.ac.th
Keywords: โปรแกรมบริหารการหายใจ
การรับรู้สมรรถนะแห่งตน
สมรรถภาพปอด
คุณภาพชีวิต
ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
Breathing exercise program
Self-efficacy
Pulmonary function
Quality of life
Patients with chronic obstructive pulmonary disease
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This study was quasi-experimental research designed. The purpose of this research is to investigate the effects of a breathing exercise program that involves self-efficacy training on pulmonary function and quality of life among patients with chronic obstructive pulmonary disease (COPD). The participants were people aged 35-59 years old and they have all been diagnosed with COPD and are receiving treatment at either a COPD clinic in Wang-thong hospital, Phitsanuloke province. There were selected by stratified random sampling. 60 participants were divided into an experimental group and a control group, 30 for each group. The experimental group received breathing exercises that involves self-efficacy training, adapted from Bandura's concept of self-efficacy while the control group received a conventional advisory intervention. The study duration was 12 weeks. Research instrument were conducted as questionnaires divided into two parts: pulmonary function record form and St. George’s Respiratory Questionnaire for COPD Patients [SGRQ-C]. Cronbach's alpha coefficient was used to test reliability of the health-related quality of life questionnaire and a value of .86. Data were analyzed using descriptive statistics, t-test, the Wilcoxon Signed - Rank test and the Mann – Whitney U test. The results of study were as follows: 1. After receiving breathing exercise program by enhancing self-efficacy, the experimental group had higher mean pulmonary function than before with a statistical significance (p<.001) 2. After receiving breathing exercise program by enhancing self-efficacy, the experimental group had higher mean pulmonary function than the control group with a statistical significance (p< .05) 3. After receiving breathing exercise program by enhancing self-efficacy, the experimental group had better mean score on quality of life than before with a statistical significance (p<.001) 4. After receiving breathing exercise program by enhancing self-efficacy, the experimental group had better mean score on quality of life than the control group with a statistical significance (p<.001) The results of this study suggest that community nurse practitioner should continuously promote breathing exercise by enhancing Self-efficacy for COPD patients.
การวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมบริหารการหายใจด้วยการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อสมรรถภาพปอดและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นบุคคลที่มีอายุ 35 - 59 ปีแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คนและกลุ่มควบคุม 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมบริหารการหายใจด้วยการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน ซึ่งประยุกต์ใช้แนวคิดการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของแบนดูราและกลุ่มควบคุมได้รับคำแนะนำตามปกติ ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกผลการตรวจสมรรถภาพปอดและแบบวัดคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ นำแบบวัดคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ มาหาความเชื่อมั่นด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค (Cronbach's alpha coefficient) ได้เท่ากับ .86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบที สถิติทดสอบวิลคอกซันและสถิติแมนวิทเนย์ ผลการวิจัย พบว่า 1. กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยสมรรถภาพปอดหลังได้รับโปรแกรมบริหารการหายใจด้วยการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) 2. กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยสมรรถภาพปอดหลังได้รับโปรแกรมบริหารการหายใจด้วยการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)      3. กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตหลังได้รับโปรแกรมบริหารการหายใจด้วยการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนดีกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) 4. กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตหลังได้รับโปรแกรมบริหารการหายใจด้วยการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) ผลการศึกษาวิจัยนี้เสนอแนะว่า พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนควรส่งเสริมการบริหารการหายใจด้วยการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนให้กับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอย่างต่อเนื่อง
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5256
Appears in Collections:คณะพยาบาลศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SupawadeeJariyatammakorn.pdf4.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.