Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5230
Title: การพัฒนาคลินิกเติมยาในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของโรงพยาบาลระนอง 
Development of Refill Clinic for Non-Communicable Diseases in Ranong Hospital 
Authors: Kattaleeya Tunyaprayoon
คัทลียา ธัญญประยูร
Chanthonrat Sitthiworanan
จันทรรัตน์ สิทธิวรนันท์
Naresuan University. Faculty of Pharmaceutical Sciences
Keywords: โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
ความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย
คลินิกเติมยา
ผลลัพธ์ทางคลินิก
ความพึงพอใจ
chronic non-communicable
refill clinic
medication adhrence
clinical outcome
satisfaction
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This action research was aimed to develop refill clinic in patients with chronic non-communicable diseases in Ranong Hospital. This study was conducted in 39 patients with hypertension and/or diabetes who were controlled blood pressure levels and/or sugar levels and without serious complications. Patients were refilled their medication and provided pharmaceutical care by pharmacist in developing refill clinic for 2 times by 3 months/time. Clinical outcomes as blood pressure, blood sugar (FBS and HbA1c) and drug adherences were evaluated for 3 times; before the 1st and 2nd refill medication times, and 3 months after 2nd  refill medication. Descriptive statistic and inferential statistic; repeated-measures ANOVA and dependent t-test were used for data analysis. Three times of clinical outcomes evaluations were seen in average blood pressure (SBP,DBP) (mmHg) of 136.41/ 78.87, 135.56/ 79.18 and 134.38/ 76.21, respectively. Average fasting blood sugar (mg/dl) were presented 130.50, 132.69 and 132.25, respectively.  Two times of HbA1c (%) measurement; before the 1st and 3 months after the 2nd refill medication, were found 7.16 and 6.98, respectively.  All clinical outcomes (SBP,DBP, FBS and HbA1C) were not statistically significant differences (p = 0.60, 0.11, 0.74 and 0.17, respectively). Drug adherence scores were evaluated by pill count as 84.29%, 89.55% and 91.35%, respectively, and by MTB-Thai questionnaire (out of 24) as 23.35, 23.79 and 23.97, respectively (p<0.001). Drug adherence scores, overall, were trended to increase by refill clinic service and presented statistically significant differences. Patient waiting times in the refill clinic were less than internal medication clinic (p < 0.001). Patient’ satisfactions of the refill service were presented higher than the internal medication clinic but not statistically significant difference. Health care staff also stated of satisfaction and preferred to have refill clinic together with medication clinic in continuely. The results were concluded that clinical outcomes from refill medication clinic by pharmacist in patients with non-communicable diseases were not differences from internal medicine clinic but were higher in drug adherences.
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคลินิกเติมยาในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโรงพยาบาลระนอง โดยศึกษาในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและ/หรือโรคเบาหวานที่ควบคุมความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือดได้ และไม่มีโรคแทรกซ้อนรุนแรงร่วม จำนวน 39 คน ผู้ป่วยได้รับการเติมยาและการบริบาลเภสัชกรรมโดยเภสัชกรจากคลินิกเติมยาจำนวน 2 ครั้งแต่ละครั้งห่างกัน 3 เดือน ผลลัพธ์ทางคลินิก ได้แก่ ค่าความดันโลหิต ค่าน้ำตาลในเลือด (FBS และ HbA1c) และความร่วมมือในการใช้ยา ถูกประเมินจำนวน 3 ครั้ง ได้แก่ ก่อนเติมยาครั้งที่ 1, 2 และ 3 เดือนหลังจากเติมยาครั้งที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานด้วย repeated-measures ANOVA และ dependent t-test ผลการศึกษาพบว่า ผลลัพธ์ทางคลินิก จำนวน 3 ครั้ง ของความดันโลหิต (SBP,DBP) (mmHg) พบ 136.41/ 78.87, 135.56/ 79.18 และ 134.38/ 76.21 ตามลำดับ FBS (mg/dl) พบ  130.50, 132.69 และ 132.25 ตามลำดับ และ HbA1c (%)วัดจำนวน 2 ครั้ง คือ ก่อนเติมยาครั้งที่ 1 และ 3 เดือน หลังเติมยาครั้งที่ 2 พบ 7.16 และ 6.98 ตามลำดับ พบว่าผลลัพธ์ทางคลินิก ค่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว,คลายตัว, FBS และ HbA1C แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.60, 0.11, 0.74 และ 0.17 ตามลำดับ) ความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโดยวิธีการนับเม็ดยาที่เหลือ มีค่าร้อยละ 84.29, 89.55 และ 91.35 ตามลำดับ และแบบสอบถาม MTB-Thai (เต็ม 24) คือ  23.35, 23.79 และ 23.97 ตามลำดับ  (p<0.001) โดยรวมความร่วมมือในการใช้ยามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระยะเวลารอคอยของผู้ป่วยที่คลินิกเติมยาน้อยกว่าคลินิกอายุรกรรม (p < 0.001) ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการให้บริการของคลินิกเติมยามากกว่าคลินิกอายุรกรรมแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และบุคลากรทางการแพทย์มีความพึงพอใจและต้องการให้มีคลินิกเติมยาคู่กับคลินิกอายุรกรรมต่อเนื่อง ผลจากการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่าการให้บริการจากคลินิกเติมยาโดยเภสัชกรในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดได้ มีผลลัพธ์ทางคลินิกไม่แตกต่างจากคลินิกอายุรกรรม แต่ความร่วมมือในการใช้ยาเพิ่มมากขึ้น
Description: Master of Pharmacy (M.Pharm.)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5230
Appears in Collections:คณะเภสัชศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
KattaleeyaTunyaprayoon.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.