Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5218
Title: ผลของการออกกำลังกายในน้ำต่อระดับการคิดรู้และความคล่องแคล่วว่องไวในผู้สูงอายุ
Effects of Aquatic exercise on Cognitive Level and Agility in Older Adults
Authors: Doonsopa Chairat
ดุลย์โสภา ชัยรัตน์
Waroonnapa Srisoparb
วรุณนภา ศรีโสภาพ
Naresuan University. Faculty of Allied Health Sciences
Keywords: การคิดรู้
ความคล่องแคล่วว่องไว
คุณภาพชีวิต
การออกกำลังกายในน้ำ
ผู้สูงอายุ
cognitive
agility
quality of life
aquatic exercise
elderly
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: The objective of this study was to investigate the effect of aquatic exercise on the cognitive level, agility, and quality of the elderly. By convenient sampling, thirty-two participants aged between 55-80 years old were divided into the experimental group (n = 17) and the control group (n = 15). The participants were assessed their cognitive level, agility, and quality of life using the Thai Mini-Mental State Examination 2002 (MMSE-Thai 2002), ten-step test (TST), and EQ5D-5L, respectively before and after training. The experimental group received 50 minutes of aquatic exercise, 2 times/week for 8 weeks while the control group continued their normal daily activities. The differences between MMSE-Thai 2002, TST and EQ5D-5L within and between groups were compared by the Wilcoxon Signed Rank test and the Mann-Whitney U test, respectively. A level of significance was set at a p-value < 0.05. This study showed that the experimental group had a statistically significant improvement in agility than the control group (p-value < 0.01). Furthermore, the 50- minute aquatic program did not induce any serious adverse events and the participants could entirely follow the training program. In conclusion, aquatic exercise improves agility in the elderly, however, not for their cognitive level and quality of life.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายในน้ำต่อระดับการคิดรู้ ความคล่องแคล่วว่องไว และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในอาสาสมัคร 32 คนที่มีอายุระหว่าง 55-80 ปี แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง (n=17) และกลุ่มควบคุม (n=15) โดยการสุ่มแบบสะดวก อาสาสมัครทุกคนได้รับการประเมินระดับการคิดรู้ ความคล่องแคล่วว่องไว และคุณภาพชีวิต โดยใช้ Thai Mini-Mental State Examination 2002 (MMSE-Thai 2002) Ten Step Test (TST) และ EQ5D-5L ตามลำดับทั้งก่อนและหลังการเข้าร่วมการศึกษา อาสาสมัครกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายในน้ำ ครั้งละ 50 นาที จำนวน 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ในขณะที่กลุ่มควบคุมดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์เช่นกัน เปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่ม และภายนอกกลุ่มของคะแนน MMSE-Thai 2002, TST และ EQ5D-5L โดย Wilcoxon Signed Rank Test และMann-Whitney U test ตามลำดับ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ p-value<0.05 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีความคล่องแคล่วว่องไวที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมากกว่ากลุ่มควบคุม (p-value<0.01) นอกจากนี้ยังพบว่าโปรแกรมการออกกำลังกายในน้ำ 50 นาที ไม่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ร้ายแรงใดๆ และอาสาสมัครสามารถปฏิบัติตามโปรแกรมการฝึกได้ครบ สรุปได้ว่าการออกกำลังกายในน้ำสามารถเพิ่มความคล่องแ คล่วว่องไวในผู้สูงอายุได้ อย่างไรก็ตามไม่ได้ส่งผลต่อระดับการคิดรู้และคุณภาพชีวิต
Description: Master of Science (M.S.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5218
Appears in Collections:คณะสหเวชศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62061238.pdf7.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.