Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5214
Title: การประเมินค่าระดับกั้นของการกำหนดขอบเขตด้วยเพท/ซีที สำหรับการวางแผนการรักษามะเร็งปอดด้วยรังสี
Assessment of Thresholding PET/CT Delineation for Radiation Treatment Planning in Lung Cancer
Authors: JIRAPORN KHAMHANG
จิราภรณ์ คำห้าง
Patsuree Cheebsumon
ภัสสุรีย์ ชีพสุมนต์
Naresuan University. Faculty of Allied Health Sciences
Keywords: เพท/ซีที
การกำหนดขอบเขตของก้อนมะเร็ง
มะเร็งปอด
ค่าระดับกั้น
การวางแผนการรักษา
PET/CT
Tumor delineation
Lung cancer
Thresholding
Treatment planning
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: Lung cancer is the second most common cancer and  the leading cause of cancer death. PET/CT imaging has become a valuable tool for tumor delineation in radiation treatment planning process. The objective of this study was to assess tumor volume and equivalent sphere diameter of various tumor delineations obtained by thresholding methods for radiation treatment planning in lung PET/CT images. Retrospective study of 18 treatment plans of lung cancer patients was performed from December 2011 to December 2016. Tumor delineations using thresholding methods of SUVmax, SUVmean, SUV75, SUVTh and SUV2.5  were evaluated tumor volume, equivalent sphere diameter and dice similarity coefficient, and compared with manually delineation of radiation oncologist. Wilcoxon signed rank test was analyzed and P-value ≤ 0.05 was considered statistically significant.  The results showed that tumor volumes and equivalent sphere diameters obtained by  31%SUVmean, 37%SUVmean, 40%SUVmean, 42%SUVmean, 31%SUVTh,  37%SUVTh,  40%SUVTh  and 42%SUVTh were no statistically significantly difference (p > 0.05). Average value of dice similarity coefficient was 0.51 for all methods. In conclusion, PET/CT tumor delineations obtained by 31%SUVmean, 37%SUVmean, 40%SUVmean, 42%SUVmean, 31%SUVTh, 37%SUVTh, 40%SUVTh and 42%SUVTh were similar to that obtained by manually delineation of radiation oncologist.
มะเร็งปอดพบได้มากเป็นอันดับสอง และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตสูงสุดของโรคมะเร็งทั้งหมด ภาพ PET/CT มีบทบาทสำคัญในงานรังสีรักษา โดยเฉพาะการกำหนดขอบเขตของก้อนมะเร็งในขั้นตอนการวางแผนการรักษาด้วยรังสี งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปริมาตร และค่าเส้นผ่านศูนย์กลางสมมูลของการกำหนดขอบเขตก้อนมะเร็งด้วย PET/CT ด้วยวิธีการปรับค่าระดับกั้นต่าง ๆ สำหรับการวางแผนการรักษามะเร็งปอดด้วยรังสี โดยศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากแผนการรักษาผู้ป่วยมะเร็งปอดด้วยรังสีที่เข้ารับการรักษาระหว่างเดือนธันวาคม 2554 ถึงเดือนธันวาคม 2559 จำนวนทั้งหมด 18 ราย กำหนดขอบเขตของก้อนมะเร็งด้วยวิธีการปรับค่าระดับกั้นของ SUVmax, SUVmean, SUV75, SUVTh  และวิธี SUV2.5  ตลอดจนการเปรียบเทียบค่าปริมาตร ค่าเส้นผ่านศูนย์กลางสมมูล และค่าดัชนีความเหมือนของก้อนมะเร็งกับการกำหนดขอบเขตของก้อนมะเร็งด้วยวิธีการวาดด้วยมือจากรังสีแพทย์ โดยใช้สถิติ Wilcoxon signed rank กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่าปริมาตรและค่าเส้นผ่านศูนย์กลางสมมูลของก้อนมะเร็งในการกำหนดขอบเขตของก้อนมะเร็งด้วย PET/CT ด้วยวิธี 31%SUVmean, 37%SUVmean, 40%SUVmean, 42%SUVmean, 31%SUVTh, 37%SUVTh, 40%SUVTh และ 42%SUVTh มีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) โดยมีค่าเฉลี่ยของค่าดัชนีความเหมือนเท่ากันทุกวิธี เท่ากับ 0.51 โดยสรุปการกำหนดขอบเขตของก้อนมะเร็งด้วย PET/CT ด้วยวิธี 31%SUVmean, 37%SUVmean, 40%SUVmean, 42%SUVmean, 31%SUVTh , 37%SUVTh, 40%SUVTh และ 42%SUVTh มีค่าใกล้เคียงกับขอบเขตของก้อนมะเร็งที่วาดด้วยมือจากรังสีแพทย์
Description: Master of Science (M.S.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5214
Appears in Collections:คณะสหเวชศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60060561.pdf3.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.