Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5212
Title: ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพด้วยคีตะมวยไทยต่อดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว และสมรรถภาพทางกาย ของบุคคลวัยทำงานที่มีภาวะน้ำหนักเกิน
Effects of a Thai Boxing Aerobic Dance Health Promotion Program on Body Mass Index, Waist Circumference and Physical Fitness among Overweight Working-Age Persons
Authors: UDOMSAK KAEWBANGKURT
อุดมศักดิ์ แก้วบังเกิด
Supaporn Naewbood
สุภาพร แนวบุตร
Naresuan University. Faculty of Nursing
Keywords: โปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพด้วยคีตะมวยไทย
ดัชนีมวลกาย
เส้นรอบเอว
สมรรถภาพทางกาย
บุคคลวัยทำงานที่มีภาวะน้ำหนักเกิน
A Thai boxing aerobic dance health promotion program
Body mass index
Waist circumference
Physical fitness
Overweight working-age persons
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: This quasi-experimental research was conducted to assess the effects of a Thai boxing aerobic dance health promotion program on body mass index (BMI), waist circumference, and physical fitness among overweight working-age persons. Sixty overweight samples were divided into 2 groups, an experimental group consistinged of 30 personnel from the health promotion center of region 3 Nakhonsawan province and the control group were 30 persons working at Nakhonsawan provincial public health office. The sample group was made using matched pair design by considering similarity of gender, ages and body Mass Index (BMI) levels. The experimental group participated in the Thai boxing aerobic dance health promotion program for 12 weeks, while the control group had their physical fitness tested before and after the 12 weeks program, but did not participate in the exercise program. Data collection was done through a set of questionnaires, the Thai boxing aerobic dance health promotion program and physical fitness measurements of 5 items (vital capacity, flexibility, grip strength, push-ups and curl-up), before and after 12 weeks of program participation and analyzed using descriptive statistics, paired t-test and independent t-test. Results of the study revealed the following: 1.  There was a statistically significant difference in thean average mean scores of body mass index (p<.001), waist circumference (p<.001), vital capacity (p<.001), flexibility (p<.001), grip strength (p<.05) and curl-ups (p<.001), after the program experiment in the experimental group. However, there was no difference in thean average mean scores of push-ups. 2.  There was a statistically significant difference in thean average mean scores of body mass index (p<.05), waist circumference (p<.001), vital capacity (p<.05), flexibility (p<.05), and curl-ups (p<.05), after, the experiment between the experimental group and control group. However, there was no difference between the experimental and the control groups in thean average mean scores of push-ups and grip strength. The results of this study indicate that the Thai boxing aerobic dance health promotion program. should be provided to reduce lose weight and reduce  waist circumference. It could also improve vital capacity, flexibility and curl-ups among overweight working-age persons.
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพด้วยคีตะมวยไทย ต่อดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว และสมรรถภาพทางกายของบุคคลวัยทำงานที่มีภาวะน้ำหนักเกิน กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรที่มีภาวะน้ำหนักเกิน จำนวน 60 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด แบ่งกลุ่ม โดยศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ เป็นกลุ่มทดลอง 30 คน กลุ่มควบคุมจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ 30 คน และจับคู่กลุ่มตัวอย่างให้มีคุณสมบัติที่คล้ายคลึงกัน ในด้านเพศ อายุต่างกันไม่เกิน 5 ปี และค่าดัชนีมวลกายอยู่ในระดับเดียวกัน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพด้วยคีตะมวยไทย เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลปกติ เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล โปรแกรมกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้วยคีตะมวยไทย และเครื่องมือทดสอบสมรรถภาพทางกาย 5 รายการ (ความจุปอด, ความอ่อนตัว, แรงบีบมือ, วิดพื้น และการงอตัว) ทั้งสองกลุ่มได้รับการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม 12 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย Paired t-test และ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย และค่าเฉลี่ยเส้นรอบเอวของกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังเข้าโปรแกรมฯ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และค่าเฉลี่ยสมรรถภาพทางกายของกลุ่มทดลอง ได้แก่ ค่าเฉลี่ยความจุปอด (p<.001), ค่าเฉลี่ยความอ่อนตัว (p<.001), ค่าเฉลี่ยแรงบีบมือ (p<.05) และค่าเฉลี่ยการงอตัว (p<.001) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนค่าเฉลี่ยวิดพื้นไม่แตกต่างกัน 2. ค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย (p<.05), ค่าเฉลี่ยเส้นรอบเอว (p<.001), ค่าเฉลี่ยสมรรถภาพทางกาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยความจุปอด (p<.05), ค่าเฉลี่ยความอ่อนตัว (p<.05), และค่าเฉลี่ยการงอตัว (p<.05) หลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนค่าเฉลี่ยสมรรถภาพทางกาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยแรงบีบมือและค่าเฉลี่ยวิดพื้น ในกลุ่มทดลองไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม ผลการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพด้วยคีตะมวยไทย สามารถนำไปใช้เพื่อลดดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอว อีกทั้งยังสามารถเพิ่มสมรรถภาพทางกายด้านความจุปอด ความอ่อนตัว และการงอตัว ในบุคคลวัยทำงานที่มีภาวะน้ำหนักเกินได้
Description: Master of Nursing Science (M.N.S.)
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5212
Appears in Collections:คณะพยาบาลศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62062938.pdf5.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.