Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5182
Title: ประสิทธิผลของโปรแกรมดนตรีบำบัดร่วมกับสุคนธบำบัดต่อความวิตกกังวลและความกลัวของเด็กวัยเรียนในการรับบริการทางทันตกรรม
Effectiveness of  Music Therapy combined  with Aromatherapy intervention on anxiety and fear of school-age children at dental visit.
Authors: NATTHATIDA JANTHASILA
ณัฎฐธิดา จันทศิลา
Orawan Keeratisiroj
อรวรรณ กีรติสิโรจน์
Naresuan University. Faculty of Public Health
Keywords: การดูแลทางทันตกรรม
ความกลัวทางทันตกรรม
ความวิตกกังวลทางทันตกรรม
ดนตรีบำบัด
สุคนธบำบัด
Aromatherapy
Dental Care
Dental Fear
Dental Anxiety
Music Therapy
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This 2 x 2 factorial design randomized controlled trial aimed to determine the effectiveness of a music therapy program combined with aromatherapy on anxiety and fear of dental services. A total of 128 volunteers were school-age children aged 10-12 years studying in grades 4-6 in the academic year 2021 at schools in Wang Thong Sub-district, Wang Thong District, Phitsanulok Province, divided into 4 groups: 32 control groups, and experimental groups that received music therapy 33 subjects, 31 aromatherapy experimental group, and 32 music therapy combined with aromatherapy experimental group. They were assigned by block randomization. Dental anxiety and dental fear, blood pressure, heart rate, and oxygen saturation were collected before and after receiving the sealant service. Tools consist of record form, standard measure, and scientific instrumentation using The Children's Fear Survey Schedule (CFSS-DS) in combination with the Facial Image Scale (FIS) for measuring dental anxiety and dental fear with an alpha-Cronbach coefficient of 0.795. Describe the data by number, percentage, mean, and standard deviation. The hypothesis was tested by comparing differences between groups with analysis of variance and analysis of covariance. The differences within groups were compared with dependent t-test. In case the data is abnormally distributed, non-parametric statistics are used. And finally, the interaction effect between music therapy and aromatherapy was analyzed by 2 x 2 factorial analysis of variance.   The results of the comparison between the groups found that after the experiment, the results of the studies between the three experimental groups and the control group had different statistically at the 0.05 level, except for diastolic blood pressure     (p = 0.192). Within-group comparisons before and after the experiment revealed that the main outcomes with a statistically significant change at the 0.05 level of each group were as follows: the control group had increased heart rate, the music therapy group and the aromatherapy experimental group had dental anxiety and dental fear ,systolic blood pressure decreased and had increased oxygen saturation, and the experimental group receiving music therapy combined with aromatherapy had dental anxiety and dental fear of heart rate, systolic and diastolic blood pressure decreases and oxygen saturation values increase.  In addition, it was found that music therapy combined with aromatherapy had a co-influence on dental anxiety and dental fear (F = 22.22, p<0.001) and oxygen saturation (F = 17.40, p<0.001) and the two main programs also significantly influenced these outcomes at the 0.05 level. The results showed that the use of a music therapy program in combination with aromatherapy reduced school-age children's anxiety and fear of dental services better than a single program. Indicates the clinical importance of an integrated approach to reducing dental anxiety and dental fear in school-aged children.
การทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม แบบ 2 x 2 แฟกทอเรียล นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมดนตรีบำบัดร่วมกับสุคนธบำบัดต่อความวิตกกังวลและความกลัวในการรับบริการทางทันตกรรม อาสาสมัคร จำนวน 128 คน เป็นเด็กวัยเรียนอายุ 10-12 ปี ที่กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาที่ 4- 6 ในปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียนในตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม 32 คน กลุ่มทดลองที่ได้รับดนตรีบำบัด 33 คน กลุ่มทดลองที่ได้รับสุคนธบำบัด 31 คน และกลุ่มทดลองที่ได้รับดนตรีบำบัดร่วมกับสุคนธบำบัด 32 คน สุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มแบบบล็อก ความวิตกกังวลและความกลัวทางทันตกรรม ความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ และค่าความอิ่มตัวของออกซิเจน ถูกรวบรวมก่อนและหลังการรับบริการเคลือบหลุมร่องฟัน เครื่องมือประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูล แบบวัดมาตรฐาน และเครื่องมือวัดทางวิทยาศาสตร์ ประยุกต์ใช้ The Children’s Fear Survey Schedule (CFSS-DS) ร่วมกับ Facial Image Scale (FIS) สำหรับวัดความวิตกกังวลและความกลัวทางทันตกรรม ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์ของแอลฟา ครอนบาคเท่ากับ 0.795 พรรณนาข้อมูลด้วย จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนและการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม เปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่มด้วยการทดสอบทีแบบไม่อิสระ ในกรณีข้อมูลมีการกระจายไม่ปกติใช้สถิติไม่อิงพารามิเตอร์ และสุดท้ายวิเคราะห์อิทธิพลร่วมระหว่างดนตรีบำบัดกับสุคนธบำบัดด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ 2 x 2 แฟกทอเรียล ผลการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่า ภายหลังการทดลอง ผลลัพธ์ของการศึกษาระหว่างกลุ่มทดลองทั้ง 3 กลุ่มกับกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิค (p = 0.192) การเปรียบเทียบภายในกลุ่มระหว่างก่อนและหลังการทดลองพบว่า ผลลัพธ์หลักที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ของแต่ละกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุมมีค่าอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น กลุ่มทดลองที่ได้รับดนตรีบำบัดและกลุ่มทดลองที่ได้รับสุคนธบำบัดมีความวิตกกังวลและความกลัวทางทันตกรรมความดันโลหิตซิสโตลิคลดลง และมีค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนเพิ่มขึ้น และกลุ่มทดลองที่ได้รับดนตรีบำบัดร่วมกับสุคนธบำบัดมีความวิตกกังวลและความกลัวทางทันตกรรม อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิตซิสโตลิคและไดแอส โตลิคลดลง และค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้พบว่า การใช้โปรแกรมดนตรีบำบัดร่วมกับสุคนธบำบัดมีอิทธิพลร่วมต่อคะแนนความวิตกกังวลและความกลัวทางทันตกรรม (F = 22.22, p<0.001) และความอิ่มตัวของออกซิเจน (F = 17.40, p<0.001) และโปรแกรมหลักทั้งสองชนิดมีอิทธิพลต่อผลลัพธ์ดังกล่าวอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้วยเช่นกัน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการใช้โปรแกรมดนตรีบำบัดร่วมกับสุคนธบำบัดช่วยลดความวิตกกังวลและความกลัวในการรับบริการทางทันตกรรมของเด็กวัยเรียนได้ดีกว่าการใช้เพียงโปรแกรมเดียว บ่งชี้ถึงความสำคัญทางคลินิกของวิธีการแบบผสมผสานเพื่อลดความวิตกกังวลและความกลัวทางทันตกรรมในเด็กวัยเรียน  
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5182
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63063323.pdf4.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.