Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5177
Title: ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคเกลือและโซเดียมของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ 
PREDICTIVE FACTORS OF SALT AND SODIUM CONSUMPTION BEHAVIOR AMONG PEOPLE WITH RISK OF HYPERTENSION IN NONG PHAI DISTRICT, PHETCHABUN
Authors: Pratoom Muangpe
ประทุม เมืองเป้
Wutthichai Jariya
วุฒิชัย จริยา
Naresuan University. Faculty of Public Health
Keywords: พฤติกรรมบริโภค, บริโภคเกลือ, โซเดียม, กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง
Consumption Behavior; Salt Consumption; Sodium;. People with Risk of Hypertension
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This Predictive research aimed to study the level of salt and sodium consumption behavior among people with risk of Hypertension and factors predicting the behavior of salt and sodium consumption among people with risk of Hypertension aged 35 years and over who live in Nong Phai District Phetchabun Province. Data were collected from 221 people by using a self-answer questionnaire. Data were analyzed using numbers, percentages, mean, minimum, maximum, and standard deviations. The ability to predict factors affecting salt and sodium behavior of hypertensive risk groups was analyzed using stepwise multiple regression analysis. The results showed that most of the samples were female (59.73%), age group 46 – 55 years (33.03%), marital status (74.66%), primary school education (70.14%), farmer occupation (61.09%), having average monthly income per household less than 5,000 baht (42.08%), self-cooking (91.86%), and having other health problems (65.14%). scores on the perceived benefits of salt and sodium behavior wear at moderate level (67.42%). Scores on the perceived barriers to salt and sodium behavior were at high level (61.54%). Scores on the perceived self-efficacy of salt and sodium behavior were at high level (61.09%). Scores for access to food and salt and sodium substitute products were at moderate level  (59.01%). Sores for social support for salt and sodium consumption behaviors were at high level (63.35%). Scores for salt and sodium behavior  were at a moderate level (74.66%). The perceived social support for salt and sodium consumption behaviors (β = 0.228, p < 0.001), self-efficacy of salt and sodium behavior (β = 0.426, p < 0.001), employee (β = -2.047, p = 0.002), perceived barriers to salt and sodium behavior (β = -0.216, p = 0.010), and age (β = 0.056, p = 0.022) were able to predict the salt and sodium behavior among people with risk of Hypertension by 27.40 %.
การวิจัยเชิงพยากรณ์ (Predictive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการบริโภคเกลือและโซเดียมของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคเกลือและโซเดียมของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่จริงในเขตอำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน  221 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสามารถในการทำนายปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคเกลือและโซเดียมของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงด้วยสถิติถดถอยพหุคูณแบบหลายขั้นตอน  (Stepwise  Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 59.73) กลุ่มอายุ 46 – 55 ปี (ร้อยละ 33.03)  สถานภาพสมรส (ร้อยละ 74.66) การศึกษาชั้นประถมศึกษา (ร้อยละ 70.14) อาชีพเกษตรกร  (ร้อยละ 61.09) มีรายได้เฉลี่ยรายเดือนต่อครัวเรือน ต่ำกว่า 5,000 บาท (ร้อยละ 42.08) ประกอบอาหารรับประทานเอง (ร้อยละ 91.86) มีปัญหาสุขภาพอื่น  (ร้อยละ 65.14) คะแนนระดับการรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมการบริโภคเกลือและโซเดียมอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 67.42)  คะแนนระดับการรับรู้อุปสรรคของพฤติกรรมการบริโภคเกลือและโซเดียมอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 61.54)  คะแนนระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการบริโภคเกลือและโซเดียมอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 61.09) คะแนนระดับการเข้าถึงอาหารและผลิตภัณฑ์สารทดแทนเกลือและโซเดียมอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 59.01) คะแนนระดับการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการบริโภคเกลือและโซเดียมอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 63.35) คะแนนระดับพฤติกรรมการบริโภคเกลือและโซเดียมอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 74.66) โดยปัจจัยที่ร่วมทำนายพฤติกรรมการบริโภคเกลือและโซเดียมของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่  แรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการบริโภคเกลือและโซเดียม (β =0.228,  p < 0.001) การรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการบริโภคเกลือและโซเดียม (β =0.426,  p < 0.001) อาชีพรับจ้าง (β =-2.047,  p = 0.002)  การรับรู้อุปสรรคของพฤติกรรมการบริโภคเกลือและโซเดียม (β = -0.216,  p = 0.010)  และ อายุ (β =0.056,  p = 0.022)  ซึ่งสามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการบริโภคเกลือและโซเดียมของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ได้ร้อยละ 27.40
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5177
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63062098.pdf3.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.