Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5174
Title: ผลของโปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางจิตในการลดภาวะเหนื่อยหน่ายในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลผู้สูงอายุ อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี
The effect of  psychological resilience enhancement Program on reducing burnout the Elderly Care for Elderly caregivers in Sawang Arom District, Uthai Thani Province.
Authors: Sompong Nakprom
สมพงษ์ นาคพรม
Narongsak Noosorn
ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน
Naresuan University. Faculty of Public Health
Keywords: ผู้ดูแลผู้สูงอายุ
ความเข้มแข็งทางจิต
ภาวะเหนื่อยหน่าย
คุณค่าในตนเอง
Elderly caregivers
Psychological resilience
Burnout
Self-esteem
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This quasi-experimental research aimed to study the effect of psychological resilience enhancement program on reducing burnout in the elderly care for elderly caregivers. The participants consisted of 60 elderly caregivers who lived in Sawang Arom District, Uthai Thani Province and were divided into the experimental group (n = 30) and the control group (n = 30). The research instruments comprised the psychological resilience enhancement program, the personal information questionnaire, the Job Burnout Measurement Form with reliability in the range of .83–.90, the Resilience Quotient Questionnaire (RQ 20 items) with reliability as .75, and the self-esteem questionnaire with reliability as .88. The implementation and data collection were conducted from June to September, 2021. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, paired t-test, and independent t-test. The research results revealed that 1) after the experiment, the experimental group had statistically significantly lower mean scores of burnout in the elderly care regarding emotional exhaustion and depersonalization than those of before the experiment and lower than those of the control group; 2) after the experiment, the experimental group had statistically significantly higher mean score of burnout in the elderly care regarding personal accomplishment than that of before the experiment and higher than that of the control group; 3) after the experiment, the experimental group had statistically significantly higher mean scores of total and each dimension of resilience than those of before the experiment and higher than those of the control group; and 4) after the experiment, the experimental group had statistically significantly higher mean score of self-esteem than that of before the experiment and higher than that of the control group. This research suggests that healthcare providers should apply this psychological resilience enhancement program for caregivers of older adults or other dependent people in order to reduce burnout in caring as well as enhance resilience and self-esteem. This will help increase an effective care.
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางจิตในการลดภาวะเหนื่อยหน่ายในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุในอำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี จำนวน 60 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางจิต แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความเหนื่อยหน่ายในการปฏิบัติงาน มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ในช่วง .83–.90 แบบประเมินพลังสุขภาพจิต (RQ ฉบับ 20 ข้อ) มีค่าความเชื่อมั่น .75 และแบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเอง มีค่าความเชื่อมั่น .88 ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test และ independent t-test ผลการวิจัย พบว่า 1) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยภาวะเหนื่อยหน่ายในการดูแลผู้สูงอายุด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์และด้านการลดความเป็นบุคคล ต่ำกว่าก่อนการทดลองและต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยภาวะเหนื่อยหน่ายในการดูแลผู้สูงอายุด้านความสำเร็จส่วนบุคคลสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพลังสุขภาพจิตโดยรวมและรายด้านสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 4) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการเห็นคุณค่าในตนเองสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า บุคลากร สุขภาพควรนำโปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางจิตไปใช้กับผู้ดูแลผู้สูงอายุหรือบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิงอื่น ๆ เพื่อลดภาวะเหนื่อยหน่ายในการดูแล เพิ่มพลังสุขภาพจิตและการเห็นคุณค่าในตนเอง ซึ่งจะช่วยให้ประสิทธิภาพการดูแลเพิ่มมากขึ้น
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5174
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62063393.pdf2 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.