Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5170
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของผู้สูงอายุที่พึ่งพาตนเองได้ในอำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์
Factors Affecting Oral Health Care Behaviors Among The Self-independent Older Adults, Banphotphisai District, Nakhonsawan Province
Authors: Pirawun Nuetong
พิราวรรณ เนื้อทอง
Archin Songthap
อาจินต์ สงทับ
Naresuan University. Faculty of Public Health
Keywords: พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพ
ผู้สูงอายุที่พึ่งพาตนเองได้
ปัจจัย
จังหวัดนครสวรรค์
oral health care behaviors
factors
the self-independent older adults
Nakhonsawan Province
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This was a cross-sectional analytical study aimed to determine factors affecting oral health care behaviors among the self-independent older adults, Banphotphisai District, Nakhonsawan Province.The samples were 309 self-independent older adults selected by stratified random sampling technique. The data were collected using a questionnaire consisted 7 parts; 1) personal characteristics, 2) knowledge about oral health care, 3) perception about oral health care, 4) dental service access, 5) social support in oral health care, 6) receiving information about oral health care, and 7) oral health care behaviors. The descriptive statistics including percentage, frequency, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis were used for data analysis. The results revealed that most of the samples were female (62.1%). Sixty percent aged between 60 – 69 years and 83.8% finished a primary school. Their average income was less than 3,000 baht per month at 58.3% and 73.8% had health conditions. More than half of them (56.6%) had more than 20 teeth and 86.1 used to receive dental services. Oral health care behaviors among the self-independent older adults were observed at moderate level (50.5%). Factors significantly affected to dental care behaviors included perceived self-efficacy of oral health care (β = 0.335), receiving information about oral health care (β = 0.306), perceived benefits of oral health care (β = 0.183), used to receive dental service (β = 0.098), female (β = 0.122), perceived barriers of oral health care (β = 0.116), number of tooth (β = 0.104). All of these factors explained oral health care behaviors among the self-independent older adults at 49.8%. Therefore, dental personnel should encourage the older adults to receive oral health care information about using dental floss, brushing teeth after eating, using fluoride, visiting dental personnel, self-examination of teeth.
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของผู้สูงอายุที่พึ่งพาตนเองได้ในอำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่พึ่งพาตนเองได้ในอำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 309 คน โดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม ประกอบด้วย 7 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ความรู้เกี่ยวกับการดูแลทันตสุขภาพ 3) การรับรู้ด้านทันตสุขภาพ 4) การเข้ารับบริการทันตกรรม 5) แรงสนับสนุนทางสังคมในการดูแลทันตสุขภาพ 6) การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทันตสุขภาพ และ 7) พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 62.1 อายุ 60-69 ปี ร้อยละ 60 มีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 83.8 มีรายได้น้อยกว่า 3,000 บาท ร้อยละ 58.3 มีโรคประจำตัว ร้อยละ 73.8 มีจำนวนฟันมากกว่า 20 ซี่ ร้อยละ 56.6 เคยไปรับบริการทางทันตกรรม ร้อยละ 86.1 พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุพึ่งพาตนเองได้อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 50.5 ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ได้แก่ การรับรู้ความสามารถตนเองในการดูแลทันตสุขภาพ (β = 0.335) การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทันตสุขภาพ (β = 0.306) การรับรู้ประโยชน์ของการดูแลทันตสุขภาพ (β = 0.183)  การไปรับบริการทางทันตกรรม (β = 0.098) เพศหญิง (β = 0.122) การรับรู้อุปสรรคของการดูแลทันตสุขภาพ (β = 0.116) จำนวนฟัน (β = 0.104) สามารถทำนายพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของผู้สูงอายุที่พึ่งพาตนเองได้ ร้อยละ 48.6 (Adjusted R Square = 0.486, F = 42.675, P<0.001) ดังนั้น ทันตบุคลากรควรส่งเสริมการให้ข้อมูลข่าวสารด้านทันตสุขภาพเกี่ยวกับการใช้ไหมขัดฟัน การแปรงฟันหลังรับประทานอาหาร การใช้ยาสีฟันที่ผสมฟลูออไรด์ การไปพบทันตบุคลากร การตรวจฟันด้วยตนเอง รวมทั้งควรจัดบริการทันตกรรมเชิงรุกให้กับผู้สูงอายุเพื่อป้องกันปัญหาทันตสุขภาพในอนาคต
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5170
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62062457.pdf1.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.