Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5164
Title: ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความรู้ ทัศนคติ และทักษะ ในการปฏิบัติงานให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ ในเขตอำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร
Effects of the Perceived Self-efficacy Promoting Program on Knowledge, Attitude and Skills in Emergency Medical Services among Emergency Medical Responders at Sam Ngam District, Phichit Province
Authors: ATHITTANAN SAMINGNIL
อาทิตนันท์ สมิงนิล
Wutthichai Jariya
วุฒิชัย จริยา
Naresuan University. Faculty of Public Health
Keywords: การรับรู้สมรรถนะแห่งตน
บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
อาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์
Perceived Self-efficacy
Emergency Medical Services
Emergency Medical Responders
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: This quasi-experimental research with non-equivalent control group, pretest-posttest time comparison group design purposed to investigate the effects of the perceived self-efficacy promoting program on knowledge, attitude, and skills in emergency medical services among emergency medical responders at Sam Ngam District, Phichit Province. Such program was designed regarding the Bandura’s self-efficacy theory consisted of; 1) enactive mastery experiences, 2) modeling and vicarious experiences 3) verbal persuasion and 4) physiological and affective state. The sample was 60 emergency medical responders divided into two groups, 30 persons in experimental group and 30 persons in control group. The experimental group received the self-efficacy promoting program on knowledge, attitude and skills in emergency medical services among emergency medical responders. There are activities for 4 weeks, 1 day per week and were assessed by employing the questionnaires consisted of knowledge, attitudes, and skills in emergency Medical Services in the time period at before the experiment (week 1), at immediately after the experiment (week 4), and at 2-month follow-up (week 12). The research instruments were qualified by an analysis of content validity from 3 experts and the index of item-objective congruence (IOC) was between 0.67-1.00. Kuder-Richardson Coefficients 20 (KR20) was used to investigate the reliability of knowledge and skills in emergency medical services assessment. The confidence values were 0.82, 0.71 respectively.  Cornbrash’s Alpha Coefficient was used to investigate the reliability of attitude in emergency medical services assessment and the confidence value was 0.85. Data were analyzed by using percentage, mean and standard deviation. The two-way repeated measure ANOVA was utilized to compare the mean score of knowledge, attitude and skills in emergency medical services between the experimental group and the control group while the repeated measure one-way ANOVA was used to compare such mean scores within each group. The results revealed that: 1) at post-test and 2-month follow-up period, the experimental group had higher mean score of knowledge, attitude, and skills in emergency medical services than before the experiment at significant level 0.05 (F= 32.839, p < 0.001, F = 7.406, p = 0.001 and F = 79.530, p < 0.001, respectively); 2) at post-test and 2-month follow-up period, the experimental group had higher mean score of knowledge, attitude, and skills in emergency medical services than the control group at significant level 0.05 (F = 40.390, p < 0.001, F = 4.068, p = 0.023 and F = 36.295, p <0.001, respectively).
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental design) แบบเปรียบเทียบ 2 กลุ่มวัดซ้ำ (Non-equivalent control group, Pretest-Posttest time comparison group design)   มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความรู้ ทัศนคติ และทักษะในการปฏิบัติงานให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ ในเขตอำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร โดยใช้ทฤษฎีสมรรถนะแห่งตนของแบนดูรา (Bandura, 1997) ประกอบด้วย 1) ประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จด้วยตนเอง 2) การได้เห็นตัวแบบหรือประสบการณ์จากผู้อื่น 3)การใช้คำพูดชักจูง 4) สภาวะด้านร่างกายและอารมณ์  กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน กลุ่มควบคุม 30 คน โดยกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความรู้ ทัศนคติ และทักษะในการปฏิบัติงานให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ มีการจัดกิจกรรม 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 วัน และประเมินผลวัดความรู้ในการปฏิบัติงาน ทัศนคติในการปฏิบัติงาน และทักษะในการปฏิบัติงานให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินในช่วงเวลาก่อนการทดลอง สัปดาห์ที่ 1 หลังการทดลองทันที สัปดาห์ที่ 4 และติดตามผล 2 เดือน สัปดาห์ที่ 12 การหาคุณภาพเครื่องมือโดยใช้การวิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา จากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน มีค่า index of item-objective congruence (IOC)  อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และการหาความเชื่อมั่น (Reliability) ประกอบด้วย แบบวัดความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน ใช้สูตร Kuder-Richardson Coefficients 20 (KR20)  ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 และ 0.71 ตามลำดับ ส่วนแบบวัดทัศนคติในการปฏิบัติงานให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ใช้สูตร Cornbrash’s Alpha Coefficient ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนของคะแนนเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติ และทักษะในการปฏิบัติงานให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ (Two-way repeated measure ANOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนของคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการปฏิบัติงาน ทัศนคติในการปฏิบัติงาน และทักษะในการปฏิบัติงานให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way repeated measure ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า 1) ภายหลังการทดลอง และระยะติดตาม 2 เดือน กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการปฏิบัติงาน ทัศนคติในการปฏิบัติงาน และทักษะในการปฏิบัติงาน ให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (F= 32.839, p < 0.001, F = 7.406, p = 0.001 และ F = 79.530, p < 0.001 ตามลำดับ) 2) ภายหลังการทดลอง ระยะติดตาม 2 เดือน กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการปฏิบัติงาน  ทัศนคติในการปฏิบัติงาน และทักษะในการปฏิบัติงาน ให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (F = 40.390, p < 0.001, F = 4.068, p = 0.023 และ F = 36.295, p <0.001 ตามลำดับ)
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5164
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62060712.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.