Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5159
Title: ผลของโปรแกรมสร้างเสริมแรงจูงใจร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคปริทันต์ของผู้ป่วยเบาหวานในเขตอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
The effect of motivation and social support program for Periodontal disease preventive behaviors among Diabetes patients in Wang-thong district, Phitsanulok province
Authors: NATDANAI WORASRIHIRAN
ณัฐดนัย วรศรีหิรัญ
Wutthichai Jariya
วุฒิชัย จริยา
Naresuan University. Faculty of Public Health
Keywords: พฤติกรรมการป้องกันโรคปริทันต์
ผู้ป่วยเบาหวาน
ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรค
ทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม
Periodontal disease preventive behavior
Diabetic patients
Protection motivation theory
Social support theory
Issue Date: 2565
Publisher: Naresuan University
Abstract: This quasi-experimental research aimed to examine the effect of motivation and social support program for periodontal disease preventive behaviors among diabetes patients in Wang-thong district, Phitsanulok province. The Protection Motivation Theory and Social Support Theory were applied in such program. The purposive sample group of 80 diabetic patients were equally divided into an experimental group and comparison group, 40 diabetic patients in each group. They were recruited into this study by using the purposive sampling technique. The experimental group received the motivation and social support program. The program were consisted of various activities such as lecturing with video media, demonstrating and practicing, experiences exchanging, group discussing, modeling, verbal prompting, and home visiting. The study period was 12 weeks. Data were collected by employing the questionnaire in 3 phases including before the experiment, after the experiment, and follow-up after the experiment. The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, Chi-square, Independent t-test, One-way repeated measure ANOVA and Two-way repeated measure ANOVA. The significance was set at 0.05   The results showed that, after the experiment and follow-up after the experiment phases, the experimental group had the average scores of perceived severity of periodontal disease, perceived susceptibility of periodontal disease, perceived self-efficacy for periodontal disease prevention, outcome expectation on the practice for periodontal disease prevention and periodontal disease preventive behaviors more than before the experiment and more than the comparison group with statistical significance at the level of 0.05. The study’ results  represent that the motivation and social support program can be applied in diabetic patients to prevent periodontal disease and tooth loss.
การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสร้างเสริมแรงจูงใจ ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคปริทันต์ของผู้ป่วยเบาหวาน ในเขตอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค ร่วมกับทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 80 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 40 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสร้างเสริมแรงจูงใจร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม ประกอบด้วยกิจกรรม ได้แก่ การบรรยายประกอบสื่อวีดีทัศน์ การสาธิตและฝึกปฏิบัติ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การอภิปรายกลุ่ม การนำเสนอ ตัวแบบ การกระตุ้นเตือนทางวาจา และการติดตามเยี่ยมบ้าน ระยะเวลาในการศึกษาทั้งสิ้น 12 สัปดาห์ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล 3 ระยะ คือ ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ การทดสอบค่าที เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวแบบ วัดซ้ำ และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองสองทางแบบวัดซ้ำ กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลอง และระยะติดตามผล กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความรุนแรงของโรคปริทันต์ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์ การรับรู้ความสามารถของตนเองเพื่อป้องกันโรคปริทันต์ ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติตน เพื่อป้องกันโรคปริทันต์ และพฤติกรรมการป้องกันโรคปริทันต์ สูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่า กลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรม สร้างเสริมแรงจูงใจ ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในผู้ป่วยเบาหวานเพื่อ ป้องกันการเกิดโรคปริทันต์และการสูญเสียฟันได้
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5159
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61060911.pdf8.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.