Please use this identifier to cite or link to this item: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5158
Title: รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ ชาวม้ง เขตสุขภาพที่ 2
An Oral health behavior change model of Hmong elderly people in the health region 2 
Authors: SONGSAK SUKSAN
ส่งศักดิ์ สุขสันต์
Supaporn Sudnongbua
สุภาภรณ์ สุดหนองบัว
Naresuan University. Faculty of Public Health
Keywords: พฤติกรรม
สุขภาพช่องปาก
ผู้สูงอายุชาวม้ง
Behavior
Oral health
Hmong elderly
Issue Date: 2564
Publisher: Naresuan University
Abstract: This study was Mixed Methods research with four phases. Objective were, phase one was to study the situation, problem, need to take care of yourself and oral health care behavior of the elderly Hmong by In-depth interview, phase two was to study the factors affecting the oral health care behavior of the elderly Hmong by cross-sectional study, phase three was to create a model for changing oral health care behaviors of the elderly Hmong. by focus group discussion and phase four was to Effectiveness evaluation model behavior modification by quasi-experimental. Outcome of this study showed that oral health care behavior of the elderly Hmong. Mostly at the moderate level  65.5 percent And still have faith that Resulting in negative behavior, factor  effect of Oral health behavior change Including Age, perceptions of oral health care benefits, herb use in relation to oral health, congenital disease, knowledge, perception of risk of causing oral disease, and social support All 7 variables were able to predict oral health care behavior of 50.2% of the Hmong elderly at a statistically significant level of 0.05 from Behavior modification model It must be operated under the "FUN DEE" model consisting of 6 components: Teeth family Must start with the leader Stimulate oral health care by yourself Community Dental Health Network Dental health of people in the community. Created by the community to care for the community Education about intraoral diseases found in the elderly Sharing experiences that will be successful caring end. The model was tested and applied to the elderly, Hmong, Phetchabun province to evaluate the effectiveness of the model. The results of the research in phase 4 were found that after the experiment Mean oral health care behavior of experimental group the mean was higher than before (t = -4.018, df = 29, p-value = <0.001 **) and higher than the comparison group (t = 3.126 df = 29, p-value = 0.0015 *). It showed that the program could modify the oral health care behavior of the Hmong elderly. After experimental showed that experimental group have higher behavior modification and caring and higher that control group. Recommendation so, should take implement An Oral health behavior change model of Hmong elderly people for improve quality of life according with lifestyle and follow outcome in the future.
การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงผสมผสาน แบ่งขั้นตอนการดำเนินการวิจัยเป็น 4 ระยะ โดยมีจุดมุ่งหมายดังนี้ ระยะที่ 1 เพื่อศึกษาสถานการณ์ ปัญหา ความต้องการดูแลตัวเอง และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุชาวม้ง ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ระยะที่ 2 เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุชาวม้ง ด้วยวิธีการศึกษาแบบภาคตัดขวาง ระยะที่ 3 เพื่อสร้างรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุชาวม้ง ด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม และระยะที่ 4 เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ โดยใช้วิธีการวิจัยกึ่งทดลอง ผลการศึกษาพบว่าสถานการณ์พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุชาวม้ง ส่วนใหญ่อยู่ระดับปานกลาง ร้อยละ 65.5 และยังมีความเชื่อที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเชิงลบ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากได้แก่ อายุ การรับรู้ประโยชน์ของการดูแลสุขภาพช่องปาก การใช้สมุนไพรที่เกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก โรคประจำตัว ความรู้ การรับรู้โอกาสเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคในช่องปาก และการได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว  โดยตัวแปรทั้ง 7 ตัว ร่วมทำนายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุชาวม้ง ได้ร้อยละ 50.2 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพช่องปากคือ ต้องมีการดำเนินการภายใต้ “FUNDEE” model ซึ่งประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ครอบครัวสุขภาพฟันดี ต้องเริ่มต้นที่ผู้นำ 2) กระตุ้นการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตัวเอง 3) เครือข่ายทันตสุขภาพในชุมชน 4) ทันตสุขภาพของคนในชุมชน สร้างโดยชุมชนเพื่อดูแลชุมชน 5) การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคภายในช่องปากที่พบในผู้สูงอายุ 6) การแบ่งปันประสบการณ์ที่จะประสบความสำเร็จ และได้นำรูปแบบไปทดลองใช้กับกลุ่มผู้สูงอายุชาวม้ง จ.เพชรบูรณ์ เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ พบว่าหลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลอง (t = -4.018, df = 29, p-value = <0.001**) และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ  (t = 3.126  df = 29, p-value = 0.0015*)  ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุชาวม้งได้ ดังนั้น จึงควรนำรูปแบบไปใช้ในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุชาวม้ง ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีสอดคล้องกับวิถีชุมชนและติดตามผลลัพธ์ในระยะยาวต่อไป
Description: Doctor of Public Health (Dr.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ส.ด.)
URI: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/5158
Appears in Collections:คณะสาธารณสุขศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61031218.pdf9.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in NU Digital Repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.